ฟรีสแลนด์ฯ พัฒนาฟาร์มนมโฟร์โมสต์สู่มาตรฐานสากลที่ จ.สระบุรี

บมจ.ฟรีสแลนด์คัมพิน่า(ประเทศไทย) โชว์โมเดลการพัฒนาฟาร์มโคนมไทยก้าวไกลสู่มาตรฐานโลกผ่านกิจกรรม “ฟาร์มเมอร์ทูฟาร์มเมอร์” เชิญ 2 ตัวแทนเกษตรกรเนเธอร์แลนด์ลงพื้นที่พร้อมสื่อมวลชน เข้าเยี่ยมชมฟาร์มวรพงษ์ จังหวัดสระบุรี พร้อมเผย 7 เคล็ดลับจากเนเธอร์แลนด์บริหารจัดการฟาร์มโคนมมาตรฐานโลกพัฒนานมคุณภาพดีตลอดห่วงโซ่ให้ทุกครอบครัวทั่วไทยวางใจได้ว่า นมโฟร์โมสต์ที่ทุกคนดื่มคือนมคุณภาพตามมาตรฐานการผลิตเนเธอร์แลนด์ แหล่งผลิตนมคุณภาพสูงแห่งหนึ่งของโลก

คุณเลิศเกียรติ พูลผล ผู้จัดการแผนงานบริหารจัดการฟาร์มโคนม (DDP) บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) และ 2 เกษตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ การิน ฟาน เดอ ธอร์น (Karin van der Toorn) และเฮอร์มาน  บาคฮัสซ์  (HermanBakhuis) นำคณะสื่อมวลชนเดินทางไปเยี่ยมชมฟาร์มวรพงษ์ที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นฟาร์มต้นแบบที่ปรับปรุงพัฒนาได้ตามมาตรฐานเนเธอร์แลนด์และเป็นหนึ่งในฟาร์มโคนมที่ผลิตน้ำนมดิบคุณภาพสูงส่งให้โรงงานผลิตนมโฟร์โมสต์

ฟรีสแลนด์ฯ02

ฟาร์มแห่งนี้ ทำกิจการมากว่า 3 ปี ปัจจุบันมีพื้นที่ฟาร์ม  27 ไร่ ดูแลแม่โค 40 ตัว และลูกโค 18 ตัว  ผลิตน้ำนมดิบได้วันละ 560 กิโลกรัม  การพัฒนาปริมาณและคุณภาพของผลผลิตที่ได้นี้เป็นผลจากการนำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเข้าอบรมกับโครงการ DDP ของโฟร์โมสต์เมื่อปี พ.ศ.2557 ทำให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากการขายน้ำนมดิบได้ในราคาที่สูงขึ้นด้วยการพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบให้ดีขึ้นปัจจุบันฟาร์มแห่งนี้สามารถยกระดับการบริหารจัดการฟาร์มโคนม และคุณภาพน้ำนมดิบได้ตามเป้าหมายโฟร์โมสต์จึงจัดให้เป็นหนึ่งในฟาร์มต้นแบบและเป็นศูนย์กลางการอบรมเกษตรกรฟาร์มโคนมที่เข้าร่วมโครงการ DDP ทำหน้าที่ขยายความรู้ส่งต่อไปยังเกษตรกรอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป โดยสามารถสร้างเครือข่ายเกษตรกรฟาร์มโคนมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก มีเกษตรกรเข้าร่วมการอบรมมากกว่า 4,000 คน และมีฟาร์มสาธิตมากกว่า 100 ฟาร์ม

การเยี่ยมชมฟาร์มนมโฟร์โมสต์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่แผนงาน DDP (Dairy Development Program) หรือ โครงการพัฒนาการเลี้ยงโคนมจากประสบการณ์ 144 ปีของรอยัล ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (เนเธอร์แลนด์) ในด้านการผลิตนมคุณภาพสูงเพื่อครอบครัวทั่วโลก ได้ส่งผ่านความชำนาญในกระบวนการผลิตนมมาตรฐานเนเธอร์แลนด์สู่ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ประเทศไทย จึงทำให้ ‘โฟร์โมสต์’ สามารถยกระดับการพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบและการบริหารจัดการฟาร์มโคนมของเกษตรกรไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าหมายสำคัญของ DDP คือการพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากลเมื่อนำเข้าสู่กระบวนการและกรรมวิธีผลิตตามมาตรฐานการผลิตนมจากเนเธอร์แลนด์ของโฟร์โมสต์จะทำให้ได้นมพร้อมดื่มคุณภาพดีมีคุณค่าโภชนาการจากธรรมชาติส่งตรงถึงทุกคนในครอบครัว โดยกิจกรรมสำคัญในแผนงาน DDP ก็คือ ฟาร์มเมอร์ทูฟาร์มเมอร์ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้โดยตรงจากเกษตรกรฟาร์มโคนมชาวเนเธอร์แลนด์ผู้มีประสบการณ์และความชำนาญสู่การปฏิบัติจริงของกลุ่มเกษตรกรไทย

คุณเลิศเกียรติ กล่าวอีกว่า ผลงานปฏิบัติการในกิจกรรมฟาร์มเมอร์ทูฟาร์มเมอร์ที่เริ่มต้นเมื่อสองปีก่อนและยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน  ทำให้ได้ข้อสรุป 7 แนวทางสำคัญในการช่วยเกษตรกรไทยยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการฟาร์มและคุณภาพน้ำนมดิบ ประกอบด้วย 1)การจัดการอาหารและน้ำ  2)การเลี้ยงลูกโค 3)ความสมบูรณ์พันธุ์ 4)การจัดการระบบการรีดนม5)การดูแลกีบ 6)การออกแบบโรงเรือน และ 7)การบันทึกข้อมูล

สำหรับกิจกรรมฟาร์มเมอร์ทูฟาร์มเมอร์ในปีนี้ โฟร์โมสต์ได้เชิญ 2 ตัวแทนเกษตรกรชาวเนเธอร์แลนด์มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และพัฒนาคุณภาพฟาร์มและน้ำนมดิบของเกษตรกรไทย โดยทั้งสองได้เคยเดินทางมาร่วมกิจกรรมดังกล่าวเมื่อสองปีก่อนและได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันซึ่งพวกเขาต่างบอกว่าเป็นประโยชน์ในการทำกิจการฟาร์มโคนมของทั้งสองประเทศ

ฟรีสแลนด์ฯ01

คุณการิน ฟาน เดอ ธอร์น เจ้าของฟาร์มขนาดย่อมมีแม่พันธุ์โค 110 ตัว ลูกโค 65 ตัว ผลิตนมได้ในปีก่อนหน้ารวมประมาณ 850,000 กิโลกรัม คุณภาพน้ำนมดิบที่ฟาร์มผลิตได้นอกจากการตรวจสอบปริมาณจุลินทรีย์แล้วยังมีการตรวจสอบ ปริมาณโปรตีน ไขมันนม และแลคโตสในน้ำนมด้วย  เธอบอกว่า ที่เนเธอร์แลนด์ การขายน้ำนมดิบของเกษตรกร ผู้รับซื้อจะดูที่ปริมาณสารอาหารโดยรวมในน้ำนม  ไม่ได้ขายที่ปริมาณน้ำนม  โดยหากมีสารอาหารในน้ำนมดิบในอัตราสูงจะขายได้ราคาดี การจัดการอาหารและน้ำ และความสะอาดในกระบวนการรีดนมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ในส่วนของการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำนมดิบของแม่พันธุ์โค คุณเฮอร์มาน  บาคฮัสซ์ เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ถ่ายทอดประสบการณ์การดูแลแม่พันธุ์โคมากกว่า 320 ตัว ลูกโค 165 ตัว โดยฟาร์มบาคฮัสซ์ผลิตน้ำนมดิบได้มากถึง 3,200,000 กิโลกรัมต่อปี  เขาบอกว่ากุญแจความสำเร็จในการจัดการฟาร์มคือ การดูแลสุขภาพของแม่พันธุ์โค  พื้นฐานความมีสุขภาพของแม่พันธุ์อยู่ที่การจัดหาอาหารหยาบคุณภาพดีให้แม่โคกิน เรื่องของอาหารและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นให้แม่โคผลิตน้ำนมในปริมาณมากได้

ยังมีความเห็นจาก คุณสิริ นิคมทัศน์ เกษตรกรโคนม จังหวัดจันทบุรี ซึ่งได้เข้าอบรมในแผนงาน DDP โดยมีการปรับปรุงและพัฒนาฟาร์มโคนมตามคำแนะนำของเกษตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เกษตรกรมีการปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อเสริมอาหารให้แก่โคนม ทำให้สามารถลดต้นทุนค่าอาหารได้ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการรีดนม และตรวจเช็คประสิทธิภาพเครื่องรีดนม ทำให้ลดเวลาในการรีดนม ได้ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น และคุณภาพน้ำนมดิบดีขึ้น รวมทั้งมีการสร้างคอกลูกโคใหม่เพื่อไว้เป็นโคทดแทนในอนาคต มีการขยายคอกพักโคให้เพียงพอกับจำนวนโค และสามารถเก็บมูลโคไว้ขายสำหรับทำปุ๋ยได้อีกด้วย  คุณสิริ กล่าวว่ารู้สึกดีใจที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว และเชื่อมั่นในคำแนะนำสามารถทำการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบจนได้มาตรฐานดังตารางด้านล่างนี้

ตารางสรุปการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพน้ำนมดิบ

ก่อนพัฒนาปรับปรุง หลังพัฒนาปรับปรุง
เวลาที่ใช้ในการรีดนม(ชั่วโมง) 1 ชั่วโมง 45 นาที    1 ชั่วโมง 15 นาที
ปริมาณน้ำนมดิบ (กิโลกรัม/วัน) 320 360
ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด (cfu/ml) 675,000 40,000
ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวในน้ำนมดิบ (cell/ml) 732,000 367,000

ที่มา : คุณสิริ นิคมทัศน์

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated