ใน 1 ปี เกษตรกรได้อะไรจาก พ.ร.บ. ยาง?...อุทัย สอนหลักทรัพย์ มีคำตอบ
คุณอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยาง (คนนั่งที่ 3 จากซ้าย) และคณะกรรมการ...ถ่ายภาพร่วมกันในวันเปิดป้าย

นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ และเปิดป้ายสภาเครือข่ายยางฯ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 59  ณ สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) องค์การสวนยางเดิมโดยมี พล.อ.ฉัตรเฉลิม  เฉลิมสุข ประธานคณะกรรมการยางแห่งประเทศไทยมาเป็นประธานในการเปิดป้าย ที่ทำการสภาเครือข่ายยางฯ  ซึ่งมีผู้นำเกษตรกร พร้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องในวงยางพาราทั้งภาครัฐ  เอกชน มาร่วมพิธีว่า 200 คน โดยในวันนี้ถือเป็นวันครบรอบ 1 ปี ของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น พ.ร.บ.แห่งการรอคอยมานานกว่า 10 ปี จึงถือเป็นวันสิริมงคลตลอดจนได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องและพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ

พิธีเปิดป้ายสภาเครือข่ายยางฯ
พิธีเปิดป้ายสภาเครือข่ายยางฯ

สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งนโยบายของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ  จันทรโอชา ได้ให้นโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่  20 พฤษภาคม 2558 เพื่อให้สถาบันเกษตรกรรวมตัวทุกองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียว  “สมัชชาเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย” เพื่อจัดหาผู้แทนเกษตรกรเข้าไปเป็นคณะกรรมการยาง ตาม พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย มาตรา 17 (3) จำนวน 5  คน หลังจากนั้นได้มีการเลือกสถาบันเกษตรกรในจำนวน 64 จังหวัดโดยให้มีผู้แทนชาวสวนยางอย่างน้อย 1 องค์กร  แต่ไม่เกิน 6 องค์กร เป็นเครือข่ายครบทุกจังหวัด  และจัดเลือกตั้งผู้แทน  7 เขต ๆ ละ 3 คนเพื่อเป็นผู้แทน  ต่อมาได้มีการเลือกตั้งระดับประเทศไม่เกิน  36  คน (ตามข้อบังคับ) เรียกว่า “สภาเครือข่ายและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย” (สยยท.) เพื่อจะเชื่อมสถาบันเกษตรกรให้เป็นหนึ่ง และเพื่อความถูกต้องตามพ.ร.บ.การยางพาราแห่งประเทศไทย (ก.ย.ท.) จึงได้ใช้สมาคมเครือข่ายสถาบันเกษตรกรสถาบันเกษตรกรยางพาราไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลและขึ้นทะเบียนไว้กับการยางแห่งประเทศไทย สามารถเข้าถึงพ.ร.บ.การยางได้โดยไม่ผิดระเบียบเช่นเดียวกับ สภาสถาบันสิ่งทอ, สภาสถาบันอาหาร และสภา SME ฯลฯ และในอนาคตเมื่อสภาเครือข่ายยางฯ สามารถรวบรวม  สมาคม, สหกรณ์, กลุ่มเกษตรกร  ตามมาตรา 4 และสภาฯ มีความเข้มแข็ง มั่นคง มากขึ้น จะได้ยกระดับเป็น “สภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย” นำเสนอรัฐบาลให้เป็นพระราชบัญญัติ และถูกต้องตามกฏหมาย

ปัจจุบันได้จัดโครงสร้างการบริหารสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนายางพารา พ.ศ. 2560-2564 เรียบร้อยแล้ว

การประชุมสภาเครือข่ายยางฯ ไ
1 ปีที่ผ่านมาสภาเครือข่ายยางฯ ได้มีกิจกรรมที่ได้ร่วมกันผลักดันหลายอย่าง

สำหรับผลงานที่ผ่านมาทางสภาเครือข่ายยางฯ ได้มีกิจกรรมที่ได้ร่วมกันผลักดันในรอบ 1 ปี โดยสรุปได้ดังนี้

  1. โครงการชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยไม่เกิน 15 ไร่ ได้รายละ 15,000 บาท/ราย
  2. โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง
  3. เสนอ กนย.ให้วิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้องกับยางพาราได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในโครงการแก้ไขปัญหายางพาราภายใต้แนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ  15 โครงการจนสำเร็จ
  1. เป็นผู้ประสานงานให้จังหวัดระยองนำร่องเพื่อสร้างเสถียรภาพราคายางโดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อค้าคนกลางตามนโยบายประชารัฐของรัฐบาล ระหว่างบริษัทไทยรับเบอร์ลาเทคคอร์ปอเรชั่นประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กับชุมนุมสหกรณ์จังหวัดระยองและเครือข่าย
  2. ตัวแทนสภาเครือข่ายฯ ได้เรียกร้องให้การยางพาราแห่งประเทศไทยหรือ กนย. เร่งรัดการจัดทำระเบียบ ข้อบังคับในมาตรา 49 ให้แล้วเสร็จ เนื่องจากมีความล่าช้าแบบผิดปกติและล่วงเลยเวลา 120 วัน ตามบทเฉพาะกาลมาเกือบปีแล้วเกษตรกรยังไม่สามารถเข้าถึงมาตรา 49 โดยเฉพาะ (6)
  1. คณะกรรมการสภาเครือข่ายยางฯ จำนวนประมาณ 50 คนเข้าพบพล.อ.ฉัตรเฉลิม เพื่อเรียกร้องให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ได้ขึ้นทะเบียน เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2559 จนสำเร็จ
  2. สภาเครือข่ายฯ จะดำเนินการตามโครงสร้างการบริหารของสยยท. และยุทธศาสตร์การพัฒนายาง พ.ศ. 2560-2564 ที่ได้ผ่านมติของที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มจากยุทธศาสตร์จังหวัดให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้พร้อมกับจะได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายของแต่ละเขตรวมตัวกันเพื่อก้าวไปสู่ในระดับประเทศให้มั่นคงโดยใช้พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยบริหารโดยไม่ต้องพึ่งพิงงบประมาณจากรัฐบาล

นายอุทัย  กล่าวเพิ่มเติมว่า ณ วันนี้ทางสภาเครือข่ายยางฯ พร้อมแล้วที่จะให้การดูแลพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางโดยร่วมมือกับทุกๆ ภาคส่วนทั้งภาครัฐ  เอกชน ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยางทั้งต้นน้ำ  กลางน้ำ  และปลายน้ำ เพื่อรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวจากประเทศไทยให้ก้าวสู่เวทีการค้าทั้งในระดับอาเซียน และในระดับโลก และยินดีที่จะน้อมรับคำแนะนำจากทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์และสุขของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางและประเทศไทยให้เกิดยั่งยืนต่อไป

ภายใต้สโลแกนที่ว่า “นำเกษตรกรพัฒนา เพิ่มมูลค่า สู่อุตสาหกรรม”นี่คือความมุ่งมั่นของนายอุทัย และเหล่าคณะกรรมการ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกคน

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated