วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จับมือ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ จัดงาน “จิบน้ำชายามบ่ายกับท่านทูตฯเนเธอร์แลนด์ พร้อมเสวนาทิศทางตลาดภาคเกษตรในเอเชีย” ณ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภายในงานได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พอล เม้งเฟล, อุปทูตเนเธอร์แลนด์ เปิดบ้านต้อนรับสื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติ พร้อมร่วมเสวนาอย่างเจาะลึกในหัวข้อ ทำไมประเทศเล็กๆ อย่างเนเธอร์แลนด์ จึงก้าวสู่การเป็นผู้นำด้านการส่งออกในตลาดพืชสวนที่ใหญ่ที่สุดของโลก พร้อมเผยสุดยอดเทคโนโลยีจากเนเธอร์แลนด์กว่า 30 บริษัท ที่ขนมานำเสนอให้ผู้ประกอบการชาวเอเชียได้เยี่ยมชมภายในงานฮอร์ติ เอเชีย 2017 นอกจากนั้นภาครัฐและเอกชนไทยทั้ง กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร, ชมรมอนุรักษ์น้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย, สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย และผู้สนับสนุนการจัดงานนิทรรศการคุณภาพอย่าง สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ก็ร่วมเสวนาในส่วนของบทบาทภาครัฐ-เอกชนต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเกษตรของประเทศไทยผ่านทางงานฮอร์ติ เอเชีย 2017 งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้แห่งเอเชีย ซึ่งจะจัดขึ้น 15-17 มีนาคม 2560 นี้ ณ ไบเทค กรุงเทพฯ สามารถลงทะเบียนเข้าชมงานฟรีได้ทางเว็บไซต์
ก่อนมาประจำที่ประเทศไทย ฯพณฯ พอล เม้งเฟล, อุปทูตเนเธอร์แลนด์ ได้รับผิดชอบดูแลประเทศในโซนเอเชียมาทั้ง ประเทศเกาหลีใต้และประเทศจีน ซึ่งนับเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกที่สำคัญของตลาดเกษตรกรรมในภูมิภาคเอเชีย ให้ข้อมูลว่า ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดและมีประชากรที่หนาแน่นที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นผู้ผลิตสินค้าการเกษตรที่โดนเด่นและมีผลผลิตมากที่สุดเมื่อพูดถึงสมรรถภาพและพลังการผลิต อุตสาหกรรมการเกษตรและพืชผักของเนเธอร์แลนด์มีความแตกต่างจากค่าเฉลี่ยทั่วโลกเนื่องจากเป็นผู้นำระดับโลก โดยเน้นการเพิ่มมูลค่าอย่างมีแบบแผนที่แข็งแรงสำหรับการส่งออกที่ได้รับความสนใจล้นหลามในสหภาพยุโรป ตัวแปรความสำเร็จของอุตสาหกรรมเกษตรและไม้ดอกของเนเธอร์แลนด์คือ การร่วมมือกันที่แข็งแรงระหว่างอุตสาหกรรม รัฐบาล ภาคการศึกษา และสถาบันการวิจัย สถาบันเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการร่วมมือและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆด้วยกัน มีกลยุทธ์ในการใช้ที่ดินสู่แนวคิด Greenport ให้เป็นพื้นที่สำคัญทางภูมิศาสตร์พืชสวน เพื่อผลิต ซื้อขาย ไม้ดอกและเป็นจุดศูนย์กลางขนส่งที่สำคัญถึง 6 แห่ง พร้อมทั้งนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับระบบการผลิตอัตโนมัติ การลดการใช้พลังงานและการใช้สอยพื้นที่อย่างจำกัด คือ ลักษณะของอุตสาหกรรมเรือนกระจกของเนเธอร์แลนด์ซึ่งมีความท้าทายในตลาดที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้นตลอดเวลา
รัฐบาลของเนเธอร์แลนด์สนับสนุนด้านการพัฒนานวัตกรรมสินค้าผ่านประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทชาวดัตช์ ธุรกิจนวัตกรรมต่างๆสามารถช่วยพัฒนาหาแนวทางแก้ไขปัญหาใหญ่ๆเช่น ความปลอดภัยทางด้านอาหาร ปัญหาประชากรสูงอายุ และปัญหาโรคภัยที่มีผลถึงชีวิต โดยการพัฒนาสินค้าใหม่ๆนี้ พวกเขาสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ๆ นวัตกรรมจะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและเพิ่มจำนวนงาน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมรัฐบาได้สนับสนุนด้านการเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านนวัตกรรม เพื่อให้ธุรกิจได้สร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการสู่ตลาดได้รวดเร็ว และงานฮอร์ติ เอเชีย 2017 เป็นหนึ่งงานเทรดโชว์ที่ดีที่สุดสำหรับนวัตกรรมด้านพืชผลและเกษตรกรรมที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมทั่วทวีปเอเชีย โดยเฉพาะทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์กับชาวเนเธอร์แลนด์และผู้นำนวัตกรรมพืชสวนทั่วโลก ซึ่งบริษัทดัตช์เกือบ 30 บริษัทในภาคพืชสวนจะทำการจัดแสดงในงานฮอร์ติ เอเชีย 2017 ที่กรุงเทพฯ ในเดือนมีนาคมนี้
กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนเต็มที่
คุณสำราญ สาราบรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึง นโยบายส่งเสริมเกษตรกร ประจำปี 2560 คือ กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นเจ้าภาพหลักคือการส่งเสริมเกษตรตามระบบแปลงใหญ่ และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และการดำเนินการ Agri-Map เกษตรอินทรีย์และธนาคารสินค้าเกษตร เป็นต้น ซึ่งจะดำเนินการส่งเสริมการเกษตร ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “การเกษตรไทย มีศักยภาพ ภายใต้จุดแข็ง” แบ่งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน พัฒนาศักยภาพให้เป็นผู้ประกอบการด้านการเกษตร ( Entrepreneur) มีการจัดกลุ่มการทำฟาร์มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเกษตร ทิศทางการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตรประจำปีงบประมาณ 2560 มุ่งเน้นให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นการเพิ่มคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีในพื้นที่มีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรที่สมบูรณ์ ใช้กลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์โดยเน้นการพัฒนาคำชำนาญของเกษตรกรและภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานเข้ากับนวัตกรรมสมัยใหม่ ฯลฯ ซึ่งเกษตรกรจะสามารถมองหานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ผ่านทางงานฮอร์ติ เอเชีย เช่นเดียวกัน
กรมวิชาการเกษตร นำพันธุ์พืชใหม่มาโชว์
ในมุมมองของภาครัฐ ทางคุณสุรภี กีรติยะอังกูร ที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า กรมวิชาการเกษตรวางแผนที่จะนำกิจกรรมมาแสดงในงานฮอร์ติ เอเชีย หลายด้าน อาทิ พระราชกรณียกิจของ รัชกาลที่ 9 ที่ทรงงานสถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาด้านพืชสวน โดยเฉพาะกาแฟอาราบิกา และแมคคาเดเมีย ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างครบวงจรเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นพร้อมโชว์นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพืชสวนของไทย ประกอบด้วย นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งครบวงจร เริ่มตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคใบไหม้ การผลิตหัวพันธุ์ปลอดโรคเพื่อลดการนำเข้า การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตครบวงจรเช่นการจัดการดิน ปุ๋ย น้ำ และวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว มีการดำเนินการรวมพลังประชารัฐระหว่างภาคราชการ เอกชน และเกษตรกร ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศและเป็นการพัฒนามันฝรั่งอย่างยั่งยืน และ นวัตกรรมการพัฒนาพันธุ์ด้านพืชสวนทั้งไม้ผลและผัก โดยมีพันธุ์พืชที่ผ่านการรับรองเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรในปี 2559 จำนวน 10 พันธุ์ ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์จันทบุรี 7 8 และ 9, ส้มสายน้ำผึ้งพันธุ์แพร่, กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์พิจิตร, 1 สะตอพันธุ์ตรัง, 1 มันฝรั่งพันธุ์เชียงใหม่, 70-1 และ 70-2 พริกขี้หนูผลเล็กพันธุ์กาญจนบุรี, 1 และพริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์ศรีสะเกษ 1 เตรียมผู้เชี่ยวชาญมาให้ปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์ทางเภสัชกรรมจากกล้วยไม้สกุล Dendrobium นำเสนอต้นแบบการพัฒนาสินค้าเกษตร (ทุเรียน) form farm to table โดยมีการใช้เทคโนโลยี e-commerce มาช่วยในการกระจายผลผลิตจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคบริโภคโดยตรง และนำเสนอการวิจัยและพัฒนาเพิ่มศักยภาพสมุนไพรไทยด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชสกุลขิง (ขิง ข่าและไพล) ซึ่งสมุนไพรกำลังได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค จึงมั่นใจว่าองค์ความรู้เหล่านี้จะส่งเสริมให้เกษตรกรไทยได้พัฒนาและต่อยอดธุรกิจของตนได้ต่อไป
เปิดประชุมวิชาการนานาชาติน้ำมันมะพร้าว ครั้งที่ 2
หนึ่งในไฮไลท์สำคัญของงานคือ การประชุมวิชาการนานาชาติน้ำมันมะพร้าว ครั้งที่ 2 (ICCO) ซึ่งดร.ณรงค์ โฉมเฉลา, ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าว เผยธีมหลักสำหรับงานประชุมในปีนี้คือ “การพัฒนาน้ำมันมะพร้าวสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ” อัพเดทความรู้เรื่องการใช้น้ำมันมะพร้าวกับแพทย์ทางเลือกในยุคปัจจุบัน ภายในงานประชุมจะมีการอัพเดพสถานะปัจจุบันของการผลิตน้ำมันมะพร้าวทั่วโลก ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม การนำประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวมาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้มาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัยระดับสากล นอกจากนั้นยังมีการวิเคราะห์ตลาดภาพรวมของการผลิตน้ำมันมะพร้าวและ แนวโน้มการผลิต และการตลาดในระดับภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก และอเมริกาใต้ ได้แก่ อินเดีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ จาไมก้า ซามัว ฟิจิและไทย นอกจากนี้จัดให้มีการสัมมนาในประเทศ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ อาจารย์ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, อาจารย์ไกร มาศพิมล และการอบรม/สาธิต ภายในศาลามะพร้าว ได้แก่ การผลิตน้ำมันมะพร้าว และการไปใช้ประโยชน์ เช่นทำสบู่ เครื่องสำอาง เป็นต้น และมีการแสดงสินค้าจากมะพร้าวโดยผู้ประกอบการมะพร้าวของไทย งานประชุมจะจัดภายในงานฮอร์ติ เอเชีย ผู้ที่สนใจเชิญสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปิยนุช นาคะ โทร. 02-579 8553 ต่อ 116 มือถือ 081 9076821
สมาคมพืชสวนฯ เชิญชวนเกษตรกรมาร่วมงาน
ในส่วนของ คุณวิรัช จันทรัศมี, อุปนายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดีกับบริษัทวีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค ที่จัดงานฮอร์ติ เอเชีย 2017 ซึ่งเป็นองค์กรที่กล้าลงทุนจัดงานในอุตสาหกรรมนี้ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 และเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะได้ชมกันในเร็ววันนี้ ยิ่งไปกว่านั้นเป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยมีหน่วยงาน สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) ที่ให้การสนับสนุนการจัดนิทรรศการและการประชุม ซึ่งในต่างประเทศ เช่น สิงค์โปร์ และ ไต้หวัน ทางรัฐบาลได้ดำเนินการแล้วและประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ซึ่งทางสมาคมพืชสวนเกี่ยวข้องกับงานฮอร์ติ เอเชีย ในแง่ของพืชสวนที่ครอบคลุมถึง 4 กลุ่ม ได้แก่ ไม้ผล ไม้ดอก ผักและสมุนไพร โดยจะร่วมจัดแสดงในงานนี้ โดยมีบูทเป็นของสมาคมเอง จึงขอเชิญชวนเกษตรกรที่สนใจร่วมชมงานและแวะมาพบปะกันที่ภายในงาน
เผยงานแสดงสินค้านานาชาติช่วยเศรษฐกิจไทย
ทางด้าน คุณจารุวรรณ สุวรรณศาสน์, ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีพันธกิจให้การสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติได้ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย พบว่า มูลค่าการใช้จ่ายทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจจากการดำเนินกิจกรรมของอุตสาหกรรมไมซ์เมื่อปี 2558 คิดเป็นจำนวน 2.2 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมไมซ์ยังส่งผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจประมาณ 164,427 อัตรา โดยกิจกรรม Trade Exhibition คิดเป็นจำนวน 5.3 หมื่นล้านบาท ส่งผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจประมาณ 43,865 อัตรา และยังส่งผลประโยชน์เชิงปริมาณที่เกิดจากการสร้างเครือข่าย การสร้างตราสินค้าและการแบ่งปันทักษะระหว่างอุตสาหกรรมอีกด้วย และยังส่งผลประโยชน์เชิงปริมาณที่เกิดจากการสร้างเครือข่าย การสร้างตราสินค้าและการแบ่งปันทักษะระหว่างอุตสาหกรรม ในปี 2560 ทีเส็บมีแผนดำเนินการธุรกิจไมซ์ เผื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของทางรัฐบาล โดยมุ่งพัฒนาประเทศอย่าง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการผลักดันและพัฒนายุทธศาสตร์ชาติไมซ์ 20 ปี ชู 3 แนวทางหลัก คือ การสร้างรายได้ การพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรมและการสร้างความเจริญเพื่อมุ่งประโยชน์ส่วนรวมในทุกภาคส่วนของ
ฮอร์ติ เอเชีย 2017 นับว่าเป็นเวทีของการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่แห่งภูมิภาคอันเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมสำหรับธุรกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเพาะปลูกพืชสวนและดอกไม้ ซึ่งจะส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งในการแข่งขันบนโลกธุรกิจที่กำลังเติบโตและมีการแข่งขันสูง ตอกย้ำศักยภาพของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการงานแสดงสินค้าระดับอาเซียนได้เป็นอย่างดี ทีเส็บได้เล็งเห็นความสำคัญของงาน ฮอร์ติ เอเชีย 2017 ซึ่งเป็นงานที่สามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาธุรกิจด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ นอกจากการสนับสนุนการทำกิจกรรมการตลาดต่างประเทศแล้ว ทีเส็บยังให้การสนับสนุนงานผ่านทางเคมเปญต่างอาทิเช่น Be my Guest ซึ่งเป็นการสนับสนุนด้านที่พัก สำหรับกลุ่มผู้ซื้อต่างชาติ ที่สนใจมาชมงาน ฮอร์ติ เอเชีย 2017 อีกทั้งยังกระตุ้นการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรมผ่านเคมเปญ Connect Businesses เผื่อผลักดันให้เกิดการเจรจาทางการค้าภายในงานเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านเกษตรกรรมพืชสวนในอาเซียนต่อไป
เผย 100 บริษัทชั้นนำจาก 20 ประเทศทั่วโลก ตอบรับร่วมงานแล้ว
ในมุมของผู้จัดงาน คุณนิโน กรุตต์เก, กรรมการผู้จัดการ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค เผยธีมหลักของการจัดงานในครั้งนี้คือ การหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์และพัฒนาอุตสาหกรรมพืชสวนของเอเชีย พบกว่า 100 บริษัทชั้นนำจาก 20 ประเทศทั่วโลก อาทิ สเปน, เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, อิตาลี, เบลเยี่ยม ตุรกี จากฝั่งทวีปยุโรป และ ประเทศในแถบเอเชียที่เราคุ้นเคยกันดี ทั้ง อินโดนีเซีย, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, ไทย, พม่า ฯลฯ โดยครอบคลุมทุกห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ก่อนการปลูก, การเตรียมการ, การเก็บเกี่ยวผลผลิต, การเพาะพันธุ์, เทคโนโลยีปุ๋ย, การปรับปรุงสภาพดิน, เทคโนโลยีการเพาะปลูกเก็บเกี่ยว การควบคุมอุณหภูมิ การระบายอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีโรงเรือน ที่ทางยุโรป เตรียมนำเทคโนโลยีล่าสุดมาจัดแสดงภายในงาน พิเศษกว่าทุกปีเพราะจะเป็นครั้งสำคัญที่มีการจัดงานพร้อมกับงาน อะกริเทคนิก้า เอเชีย ซึ่งเป็นงานแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องจักรกลและเครื่องมือการเกษตร และ งานวิฟ เอเชีย ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์ครบวงจร นับได้ว่าในครั้งนี้จะเป็นการรวมตัวกันของทั้ง 3 งาน โดยครอบคลุมทั้งพืชสวน พืชไร่ เทคโนโลยีเกษตร และปศุสัตว์ ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานทั้งจากในประเทศและนานาชาติกว่า 15,000 คนตลอด 3 วันของการจัดงาน
ผู้ที่สนใจเข้าชมงานกรุณาลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงานฟรี ที่ www.horti-asia.com โดยใช้รหัส HP2211 (ลงทะเบียนหน้างาน โดยไม่มีรหัสลงทะเบียน เสียค่าเข้าชมงาน 1,000 บาท)