เพื่อนสวนกุหลาบของผม ชินวัฒน์ พรหมมาณพ อุทิศชีวิตตัวเองลงไปทำงานที่ปัตตานีทั้งงานชลประทานและช่วยชาวนา ผมมีโอกาสได้ชิมข้าวอินทรีย์หอมกระดังงา ชาวเขื่อนปัตตานี ต้องบอกว่าเลิศ จึงอาสาเพื่อนจะช่วยทำให้ข้าวนี้ดังและขายได้ราคาดีเพื่อช่วยชาวนาด้วย…วันนี้ผมจึงเขียนบทความในเดลินิวส์(ตามบทความล่างนี้) ท่านใดสนใจจะจองข้าวนี้เชิญโทรจองได้เลยนะครับ
ข้าวไทยกิโลกรัมละ 500 บาท
จำกันได้มั้ยครับว่าเมื่อปีที่แล้วผมได้เขียนถึงครั้งที่ผมเดินทางลงไปบรรยายเรื่อง “รู้เขารู้เรา อยู่ได้ในยุทธจักรการค้าเสรี” ให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และศอบต. ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นราธิวาส ปัตตานีและยะลานั้น ผมมีโอกาส ได้เจอกับ “ข้าวอินทรีย์หอมกระดังงา ชาวเขื่อนปัตตานี” วันนี้ผมขอเขียนถึงข้าวพิเศษพันธุ์นี้อีกครั้งหนึ่งนะครับ
ข้าวหอมกระดังงานั้นเป็นข้าวสายพันธุ์ท้องถิ่นของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี นราธิวาส เป็นข้าวไวแสง มีลักษณะ เด่นที่มีความนุ่มและหอมเป็นพิเศษ เพื่อนเก่าสมัยเรียนอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย “ชิน” คุณชินวัฒน์ พรหมมาณพ ซึ่งลงไปทำงานเขื่อนที่ภาคใต้ยาวนานเกือบจะ 20 ปีแล้วได้ไปจับมือกับชาวนาที่ทำนาอยู่แถวนั้นให้เอาข้าวหอมกระดังงา มาปลูกแบบอินทรีย์บนพื้นที่ท้ายเขื่อนในอำเภอหนองจิก ในโครงการแปลงเกษตรของกลุ่มบริหารการใช้น้ำ จ.ปัตตานี
นอกจากจะปลูกแบบอินทรีย์แล้ว ชินเพื่อนผมยังไปศึกษาเพิ่มเติมมาจนรู้ว่าเพลงคลาสสิกของโมสาร์ทนั้น หากเอามาเปิด ให้ต้นข้าวฟัง เสียงเพลงของโมสาร์ทนั้นจะเข้าไปเปลี่ยนโครงสร้างของข้าวทำให้ผลผลิตที่ได้มีความนิ่มนวลและกลิ่นที่ หอมยิ่งขึ้น ชินก็เลยเปิดเพลงโมสาร์ทให้ต้นข้าวหอมกระดังงาฟัง หลังจากปลุกปล้ำประคบประหงมอยู่นานหลายปีเพื่อให้ มั่นใจว่าข้าวที่ได้นั้นเป็นข้าวออร์แกนิก 100 เปอร์เซ็นต์ และข้าวมีความนิ่มนวลชวนทานแถมมีกลิ่นหอมของดอกกระดังงา ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ก็เป็นช่วงที่ผมลงไปบรรยายที่ปัตตานีพอดี
หลังจากฟังบรรยายเสร็จเพื่อนชินก็กลับไปบ้านเพื่อกลับไปหุงข้าวหอมกระดังงามาให้ผมได้ทดลองชิม ซึ่งก่อนจะได้ชิม นั้นผมยังไม่เคยได้ยินเรื่องราวของข้าวพันธุ์นี้มาก่อนเลย พอตักข้าวใส่จานก็ต้องบอกเลยว่ากลิ่นหอมโชยขึ้นแตะจมูกทันที หอมเหมือนดอกกระดังงาจริงๆสมชื่อเลย พอได้ตักเข้าปากและลองเคี้ยวดูผมพบว่าข้าวหอมกระดังงานี้นิ่มนวลและที่พิเศษคือหวานมากยิ่งเคี้ยวยิ่งหวาน ทานแล้วอร่อยมาก ส่วนกลิ่นนั้นยิ่งเคี้ยวนานเท่าไหร่ก็ยิ่งได้กลิ่นหอมของดอกกระดังงามากขึ้นเท่านั้น แม้จะกลืนลงคอไปแล้วก็ยังรู้สึกได้ว่ากลิ่นหอมของดอกกระดังงายังอวลอยู่ในปากอีกนาน ชิมไปชิมมาผมชิมเพลินจนกลายเป็นทานข้าวหอมกระดังงาเปล่าๆจนหมดจานเลยทีเดียว เล่นเอาเพื่อนชินนั่งยิ้มน้อยยิ้ม ใหญ่ดีใจที่เพื่อนชอบทานข้าวที่เป็นเสมือนลูกรักของเขา ที่น่าแปลกก็คือแม้ข้าวนี้จะหอมหวานมากกว่าข้าวทั่วไปแต่ มหาวิทยาลัยโยโกฮาม่าประเทศญี่ปุ่นซึ่งสนใจทำวิจัยคุณค่าของข้าวพันธุ์นี้กลับบอกว่าคนที่เป็นเบาหวาน ความดันและ โรคหัวใจควรจะทานข้าวพันธุ์นี้
ความจริงเพื่อนชินแค่อยากจะเอาข้าวหอมกระดังงามาให้ผมได้ลองทานเท่านั้น แต่พอผมสอบถามรายละเอียดการปลูกจึง ได้รู้ว่าข้าวหอมกระดังงานั้นไม่ได้ปลูกกันง่ายๆ ต้องการการดูแลมากและใช้เวลาในการเพาะปลูกนานกว่า 120 วันซึ่งนาน กว่าข้าวโดยทั่วๆไป ยิ่งเพื่อนชินพยายามจะทำให้เป็นข้าวออร์แกนิก 100 เปอร์เซ็นต์และพยายามที่จะทำให้ข้าวมีความ นิ่มนวลและมีกลิ่นหอมดอกกระดังงามากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งทำให้การปลูก “ข้าวอินทรีย์หอมกระดังงา ชาวเขื่อนปัตตานี” ทำได้ ยากมาก ถ้าปีนี้ไหนฝนฟ้าไม่เป็นใจชาวนาก็แทบจะไม่ได้ผลผลิตเลยทีเดียว ปีที่แล้วนั้นมีผลิตเพียง 2,000 กิโลกรัม ก็ว่า น้อยมากแล้ว ปีนี้ซึ่งอีกไม่เกินสองอาทิตย์จะเริ่มสีข้าวนี้ เพื่อนชินบอกกับผมว่าน่าจะมีข้าวอินทรีย์หอมกระดังงาชาวเขื่อนปัตตานีไม่เกิน 900 กิโลกรัม
ปีหนึ่งๆนั้นคนไทยและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทยทานข้าวกันราวๆ 10 ล้านตันหรือคิดเป็น 10,000 ล้านกิโลกรัม เพราะฉะนั้นโอกาสของคนที่จะมีโอกาสทานข้าวอินทรีย์หอมกระดังงา ชาวเขื่อนปัตตานีปีนี้จึงเท่ากับ 900 ใน 10,000,000,000 เท่านั้นเอง ยากยิ่งกว่าถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 เสียอีก ผมจึงอาสาเพื่อนชินที่จะแนะนำข้าวนี้ให้คนไทยรู้จัก โดยจะขอประยุกต์เอาแนวทางที่ประเทศอื่นเขาสร้างราคาให้สินค้าเกษตรของเขาจนขายได้ราคาดีมาใช้ เพื่อจะได้ขายข้าว พิเศษล็อตนี้ที่ราคากิโลกรัมละ 500 บาท โดยกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นมานี้จะกลับไปถึงมือชาวนาที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ปลูกข้าว อินทรีย์หอมกระดังงาชาวเขื่อนปัตตานีให้เราได้ทานกัน สนใจไปจองที่แฟนเพจ KasemsantAEC หรือโทรจองได้ที่คุณตุ๊ก 0870888508 หรือคุณกุ้ง 0813732854 เท่านั้นนะครับถึงจะเป็นของแท้ ทุกกิโลกรัมจะใส่กล่องสวยงามและมีหมายเลขระบุ ทุกกล่อง ป้องกันข้าวอื่นเลียนแบบ จะทานเองหรือจะนำไปให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือก็ดีเยี่ยมครับ
หมายเหตุ-เกษตรก้าวไกล : อาจารย์เกษมสันต์ วีระกุล เป็นนักวิชาการอิสระ และผู้เชี่ยวชาญด้าน AEC? [Need citation] และเป็นผู้ดำเนินรายการช่วงข่าวต่างๆ ทางช่อง TNN 24 สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ 3SD เช่น เหตุบ้านการเมือง, AEC Insight กับเกษมสันต์, AEC Plus กับเกษมสันต์, AEC World, ข่าวเช้าวันหยุด, เที่ยงวันทันโลก และคลื่นวิทยุ FM 100.5 รายการ Good Morning ASEAN ช่วง เจาะลึกอาเซียน ฯลฯ
ข้อเขียนและภาพที่นำมาเสนอนี้ ได้นำมาจากเฟสบุ๊ค Kasemsant Weerakun …โดย “เกษตรก้าวไกล” มองว่าการที่นักวิชาการหรือบุคคลผู้มีชื่อเสียงให้ความสนใจภาคเกษตรจะเป็นผลดี และสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้น จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้