“ ในฐานะที่มีประสบการณ์ทำฟาร์มเลี้ยงแพะแกะมากว่า 15 ปี เห็นผู้เข้ามาในวงจรอาชีพการเลี้ยงแพะแกะเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่ประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จก็มาก ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่อง จึงอยากให้ข้อแนะนำเบื้องต้นำหรับผู้สนใจว่าต้องมีการศึกษาเรียนรู้ให้ถ่องแท้ เพราะจะให้เกิดความสำเร็จสามารถเดินบนเส้นทางอาชีพนี้ได้อย่างยั่งยืนนั้น ต้องเข้าใจทั้งการบริการจัดการฟาร์ม การให้อาหาร การป้องกันกันโรค และการตลาด สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญอยากให้ศึกษาก่อน อย่าเลี้ยงเพราะเขาเล่าว่า” ลุงเป้ง หรือ คุณเชาวรัตน์ อ่าโพธิ์ เกษตรกรเจ้าของแหล่งเรียนรู้ปศุสัตว์แพะแกะคุณสุขฟาร์ม อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพเลี้ยงสัตว์ ประจำปี พ.ศ.2552 ผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนึ่งในเซียนเลี้ยงแพะแกะระดับแถวหน้าของเมืองไทย
ความสำเร็จในอาชีพของลุงเป้งที่สามารถผลตอบแทนเรียกว่า เลขเจ็ดหลักในแต่ละปี มาด้วยการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี มีการวางแผนการตลาด มารถผลิตแพะแกะออกสู่ตลาดได้ตรงกับความต้องการ และที่สำคัญเน้นการผลิตมที่มุ่งคุณภาพ จึงทำให้แพะแกะคุณภาพที่ผลิตได้ทั้งของตัวเองและเครือข่ายเพื่อนเกษตรกรในวันนี้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่ยังต้องออีกมหาศาล ซึ่งไม่เฉพาะตลาดในประเทศเท่านั้นแต่ยังรวมถึงในตลาดของประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางมาเยี่ยมชมการเลี้ยงแพะแกะที่คุณสุขฟาร์มอย่างต่อเนื่องและยื่นความจำนงต้องการแพะแกะคุณภาพให้ส่งไปยังฟาร์มในประเทศของตน
“ที่ผ่านมา มีทั้งเวียดนาม ลาว เขมร ติดต่อเข้ามอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นตลาดใหม่ที่กำลังตื่นตัวกับการเลี้ยงแพะแกะ จึงทำให้มีความต้องการแพะแกะคุณภาพ ทั้งเพื่อนำไปทำพันธุ์และเพื่อบริโภค ขอให้มีของเท่านั้น เขารับซื้อหมด”
ลุงเป้งสะท้อนความต้องการของตลาดในประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมากและต่อเนื่องมาในช่วงระยะ 2–3 ปีมานี้ ดังนั้นหากรวมปริมาณความต้องการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศแล้ว คาดว่าปริมาณแพะแกะที่ผลิตได้ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่บนหลักสำคัญที่ว่า ต้องเป็นแพะแกะคุณภาพและปลอดโรค
เรื่องของการตลาด ลุงเป้งแนะนำว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องวิเคราะห์ก่อนว่าจะเลี้ยงแพะเพื่อขายในช่วงไหนที่ตลาดมีความต้องการสูงที่สุด โดยวงจรการเลี้ยงนั้น ต้องคำนวณว่า ช่วงเลี้ยงเพื่อผสมพันธุ์ ใช้เวลา 2 เดือน และตั้งท้องอีก 5 เดือน จากนั้นคลอดลูกออกมาให้กินนมอีก 3 เดือน จึงหย่านม แยกตัวผู้ไปเป็นแพะขุน ซึ่งต้องเลี้ยงอีกประมาณ 3-4 เดือน จึงเข้าตลาดได้ ส่วนแม่พันธุ์เลี้ยงต่ออีก 8 เดือน จะผสมพันธุ์ได้
“ช่วงที่ตลาดมีความต้องการแพะมาก จะอยู่ในช่วงเทศกาลต่างๆ ของศาสนาอิสลาม เช่น เดือนเมษายน พฤศจิกายน และธันวาคม โดยจากราคาขายปกติที่อยู่ประมาณ กิโลกรัมละ 55-60 บาท จะขึ้นมาเป็นกิโลกรัมละ 80-120 บาท ทีเดียว และที่สำคัญผลผลิตออกมาเท่าไรก็ไม่เพียงพอ” คุณลุงเป้ง กล่าว และว่า “แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำตลาดคือ ต้องมีความร่วมมือทางการตลาดร่วมกันในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยง เพื่อให้สามารถตัดปัญหาพ่อค้าคนกลางออกไป และผู้เลี้ยงสามารถติดต่อกับผู้ซื้อได้โดยตรง ซึ่งจุดนี้จะทำให้มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น”
“แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกษตรกรสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้นคือ การพัฒนารูปแบบการเลี้ยง ที่จะต้องก้าวไปสู่การเลี้ยงแบบฟาร์มปลอดโรค การที่เกษตรกรสามารถได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ว่า เป็นฟาร์มปลอดโรคจะทำให้สามารถส่งแพะ-แกะ ไปจำหน่ายในตลาดได้ง่ายมากขึ้น”
ดังนั้นหากมองถึงการพัฒนาในอาชีพการเลี้ยงแพะแกะแล้ว การเลี้ยงปล่อยทุ่งดังเช่นในอดีตคงต้องเป็นสิ่งที่มองข้าม เพราะรูปแบบการเลี้ยงต้องอยู่ในลักษณะฟาร์มมาตรฐานและปลอดโรค ที่เน้นการผลิตแพะแกะคุณภาพเพื่อจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออกและปลอดโรค
“แต่ดีที่สุด ศึกษาและเรียนรู้ให้ถ่องแท้ก่อนดีกว่า” ลุงเป้งตอกย้ำเป็นประโยคสุดท้าย
ดังนั้น เพื่อตอบคำถามดังกล่าว ลุงเป้ง คุณเชาวรัตน์ จึงร่วมกับ สวนจรัญ 41 ศูนย์กลางด้านเกษตรกลางเมืองกรุงเทพมหานคร กำหนดการจัดอบรมใน หัวข้อ “ แพะแกะ ลงทุนทำฟาร์มอย่างไร? จึงสร้างเงินและยั่งยืน” เพื่อให้คำตอบของการก้าวไปสู่ความสำเร็จในอาชีพการเลี้ยงแพะแกะที่สามารถสร้างรายได้ระดับเงินล้านให้ได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจและรู้ลึกถึงแนวทางการจัดการฟาร์ม สายพันธุ์ และการตลาด โดยกำหนดจัดในวันเสาร์ ที่ 6 พฤษภาคม 2560 ณ สวนจรัญ 41 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 41 แยก 11 ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครค่าอบรมท่านละ 2,000 บาท โดยโอนเงินธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ( มหาชน ) สาขาตะนาม ในนาม ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ เลขที่บัญชี 1110608872 ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : คุณอั๋น ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ โทร (063) 623 – 9799 ไลน์ไอดี : thanasit19