พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ มร.เบิร์ท แวน เดอร์ เฟลท์ซ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชและการเกษตร
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ มร.เบิร์ท แวน เดอร์ เฟลท์ซ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชและการเกษตร

รัฐบาลไทย นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี, นายฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้นำในภาคส่วนรัฐบาลอื่นๆ ได้ร่วมหารือระดับสูงกับกลุ่มพันธมิตรนักธุรกิจยุโรป-อาเซียน Europe – ASEAN Business Alliance (EABA) ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากบริษัทต่าง ๆ ของยุโรป ซึ่ง มร. เบิร์ท แวน เดอร์ เฟลท์ซ ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด ตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชและการเกษตร ได้แสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนรัฐบาลไทยให้พัฒนาอันดับอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทยในระดับโลก ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่อยู่ในลำดับที่ 32 จากทั้งหมด 62 ประเทศเศรษฐกิจทั่วโลก

รัฐบาลไทย ร่วมหารือ พัฒนาอันดับเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทยในระดับโลกกับกลุ่มพันธมิตรนักธุรกิจยุโรป-อาเซียน Europe – ASEAN Business Alliance (EABA)
รัฐบาลไทย ร่วมหารือ พัฒนาอันดับเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทยในระดับโลกกับกลุ่มพันธมิตรนักธุรกิจยุโรป-อาเซียน Europe – ASEAN Business Alliance (EABA)

ผลจากการศึกษาของธนาคารโลกในปี พ.ศ.2560 ในเรื่อง “การเปิดทางและสนับสนุนธุรกิจภาคเกษตร” หรือ EBA ซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของแต่ละประเทศที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจภาคการเกษตร ในแง่ของการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ ไทยมีอันดับเป็นรองประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอย่าง ฟิลิปปินส์ (ที่อยู่ในอันดับที่ 11) และมีอันดับใกล้เคียงกับพม่า (อันดับที่ 34) และเวียดนาม (อันดับที่ 42) ในขณะที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ถูกจัดอันดับเป็นอันดับหนึ่งของโลก และถือเป็นประเทศที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของโลก ตามด้วยประเทศสเปน และเดนมาร์ก

“เราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลเอื้ออำนวยต่อธุรกิจการเกษตรในประเทศไทยตามที่การศึกษา EBA ของธนาคารโลกได้กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาสายพันธุ์พืช การขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ และการควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์” มร. แวน เดอร์ เฟลท์ซ หนึ่งในประธานของพันธกิจนี้กล่าว นอกจากนี้ นาย แวน เดอร์ เฟลท์ซ ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ มีดังต่อไปนี้

  • การคุ้มครองสิทธิของนักพัฒนาสายพันธุ์ให้มั่นใจในความปลอดภัยของนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น (การคุ้มครองพันธุ์พืช)
  • การเข้าถึงเชื้อพันธุกรรมพืช (germplasm) และการแบ่งปันใช้ร่วมกัน
  • ประสิทธิภาพในการใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ใหม่
  • ขั้นตอนการทดสอบสายพันธุ์ และกระบวนการประกาศ ที่มีระบบและประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การควบคุมและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ดีขึ้น (การรับรองโดยบุคคลที่สาม หรือการรับรองตนเอง)
  • การทำฉลากเมล็ดพันธุ์ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้าให้แก่เกษตรกร
บรรยากาศการหารือร่วมเรื่อง พันธกิจทางธุรกิจของประเทศไทย (Thailand Business Mission)
บรรยากาศการหารือร่วมเรื่อง พันธกิจทางธุรกิจของประเทศไทย (Thailand Business Mission)

ซึ่ง นาย แวน เดอร์ เฟลท์ซ ได้กล่าวไว้ในการหารือร่วมเรื่อง พันธกิจทางธุรกิจของประเทศไทย (Thailand Business Mission) ที่จัดโดยกลุ่มพันธมิตรนักธุรกิจยุโรป-อาเซียน Europe-ASEAN Business Alliance (EABA) เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้นำระดับสูงในภาคเอกชนในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มการกำกับดูแล รวมถึงการริเริ่มนโยบายต่างๆ

“ในฐานะประธานร่วมของกลุ่มพันธมิตรนักธุรกิจยุโรป-อาเซียน (EABA) ผมรู้สึกมีตื่นเต้นและมีกำลังใจที่ได้เห็นความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมงานดังกล่าวจากผู้แทนจากบริษัทต่าง ๆ ของยุโรปจากหลากหลายอุตสาหกรรม นี่คือพันธกิจทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจร่วมมือกัน และการให้ความสนใจที่เพิ่มขึ้นของบริษัทยุโรปต่างๆ ในประเทศไทย รวมถึงความมุ่งมั่นของเราต่อนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ด้วย  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างบรรยากาศทางบวกของธุรกิจในประเทศไทย และเราจึงหวังว่าจะใช้โอกาสนี้เป็นก้าวแรกในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทสัญชาติยุโรปต่างๆด้วย” นายแวน เดอร์ เฟลท์ซ กล่าว

อีสท์ เวสท์ ซีด ในประเทศไทย

อีสท์ เวสท์ ซีด ในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นในปี พ. ศ. 2526 ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่เพื่อวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในชื่อ “ไซมอน กรูท รีเสิร์ช เซ็นเตอร์” และปี ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยได้เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ดูแลกลุ่มบริษัททั่วโลกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบัน อีสท์ เวสท์ ซีด มีพนักงานในสำนักงานใหญ่ และอีสท์ เวสท์ ซีด ประเทศไทย รวมกันกว่า 700 คน

“บริษัทของเรามุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรรายย่อยของไทยผ่านเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและความรู้ด้านการเพาะปลูกพืชผัก อีสท์ เวสท์ ซีด ทุ่มเท มุ่งมั่น ในการวิจัยและพัฒนา กระบวนการผลิต และการจำหน่ายของเมล็ดพันธุ์ผักลูกผสม (Hybid) บริษัทของเราเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ศรแดง” และได้รับการยอมรับและยกย่องจากเกษตรกรไทยให้เป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ทำให้เราเป็นผู้นำตลาดที่แข็งแกร่ง โดยมีการเติบโตของธุรกิจในตัวเลขถึง 2 หลักต่อปี” มร. แวน เดอร์ เฟลท์ซ กล่าว

บริษัทได้มุ่งพัฒนาธุรกิจผ่านความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนาที่แข็งแกร่ง รวมถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับเกษตรกรท้องถิ่น ประมาณ 60% ของพริกที่จำหน่ายในตลาดสดของไทย คือเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ซุปเปอร์ฮอท และประมาณ 85% ของข้าวโพดข้าวเหนียวที่ขายในท้องตลาดคือเมล็ดพันธุ์จาก อีสท์ เวสท์ ซีด นอกจากนั้น ยังมีพืชสำคัญอื่นๆ ได้แก่ แตงกวา มะระ ดอกดาวเรือง มะเขือเทศฟักทอง และถั่วลันเตา อีกด้วย
อีสท์ เวสท์ ซีด ประเทศไทยมีส่วนแบ่งทางธุรกิจเป็น 17% ของธุรกิจอีสท์ เวสท์ ซีดทั่วโลกและเป็นตลาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก ทั้งนี้ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของไทย อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคล เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการค้นคว้า ปรับปรุง และพัฒนาพันธุ์พืชของไทยต่อไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated