
น้ำตาลออร์แกนิกตลาดสูง กรมวิชาการฯจับมือกลุ่มวังขนายขยายพื้นที่ปลูก สู่มาตรฐาน GAP สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกร 50 บาทต่อตัน ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ ตลาดทั้งในและนอกประเทศมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนตั้งปีนี้ ถึง ปี 2564 ต้องมีพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านไร่
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงงานน้ำตาลวังขยาย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือการผลิตอ้อยอินทรีย์และอ้อยสะอาดปลอดภัยระหว่างภาครัฐและเอกชน นำทีมโดย คุณเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร คุณอุทัย นพคุณวงศ์ ดร.ณรงค์ ชินบุตร ผอ.ศูนย์พัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กลุ่มวังขนาย และคุณบุญญฤทธิ์ ณ วังขนาย ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มวังขนาย ทั้งนี้เพื่อช่วยกันผลักดันให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยอินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมากลุ่มวังขนายได้ผลิตน้ำตาล ออร์แกนิกป้อนตลาดไปแล้วจำนวน 15,000 ตัน ส่งออกแถบเอเชีย และยุโรป 25 % อีก75%ตลาดอยู่ในประเทศ ซึ่งผู้บริโภคสินค้าออร์แกนิก เปิดกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กลุ่มวังขนายตั้งเป้าหมายไว้ภายใน 3-5ปีนี้ จะเพิ่มปริมาณอ้อยอินทรีย์ให้ได้รัอยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมดของกลุ่มฯ

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงงานน้ำตาลวังขยาย อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือการผลิตอ้อยอินทรีย์และอ้อยสะอาดปลอดภัยระหว่างภาครัฐและเอกชน นำทีมโดย คุณเสน่ห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร คุณอุทัย นพคุณวงศ์ ดร.ณรงค์ ชินบุตร ผอ.ศูนย์พัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กลุ่มวังขนาย และคุณบุญญฤทธิิ์ ณ วังขนาย ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มวังขนาย ทั้งนี้เพื่อช่วยกันผลักดันให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยอินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยที่ผ่านมากลุ่มวังขนายได้ผลิตน้ำตาลออร์แกนิกป้อนตลาดไปแล้วจำนวน 15,000 ตัน ส่งออกแถบเอเซีย และยุโรป 25 % อีก75%ตลาดอยู่ในประเทศ ซึ่งผู้บริโภคสินค้าออร์แกนิกเปิดกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กลุ่มวังขนายตั้งเป้าหมายไว้ภายใน 3-5 ปีนี้ จะเพิ่มปริมาณอ้อยอินทรีย์ให้ได้ ร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมดของกลุ่มฯ