กรมวิชาการเกษตร ย้ำชัดปรับปรุง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ได้ พร้อมยังคุ้มครองสิทธินักปรั บปรุงพันธุ์พืช สร้างแรงจูงใจเร่งปรับปรุงพันธุ์ พืชใหม่ เผยการแก้ไข พ.ร.บ.ผ่ านกระบวนการทางกฎหมายอย่างถูกต้ องทุกขั้นตอน
นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองพันธุ์ พืช ๓ ระบบ ประกอบด้วย ระบบการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งเป็นการคุ้มครองเชิงทรัพย์ สินทางปัญญา ให้สิทธิกับนักปรับปรุงพันธุ์พื ช ระบบการจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเ มืองเฉพาะถิ่น ให้สิทธิความเป็นเจ้าของกับชุมช น และระบบการแจ้งและอนุญาตให้ใช้ พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพั นธุ์พืชป่า เพื่อการศึกษา ทดลอง วิจัย และปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเป็นการคุ้มครองเชิงอนุรั กษ์ รวมถึงการบริหารจัดการกองทุนคุ้ มครองพันธุ์พืชที่มีวัตถุ ประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ชุ มชนอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุ์ พืชอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม โดยที่ตัวบทกฎหมายตามพระราชบั ญญัตินี้ ได้ผูกโยงระบบการคุ้มครองดังกล่ าวทั้งหมดเข้าด้วยกัน เมื่อบังคับใช้กฎหมายมาสักระยะห นึ่งพบว่า มีข้อติดขัดทั้งในด้านกระบวนการ ปฏิบัติงานและการบังคับใช้กฎหมา ย นอกจากนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุ บันยังขาดสาระสำคั ญบางประการทำให้ไม่สามารถให้ ความคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพั นธุ์พืชได้อย่างเพียงพอ มีบางข้อที่จำกัดโอกาสการพัฒนาป รับปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆ อีกทั้งไม่ส่งเสริมสนับสนุนให้ ชุมชนได้อนุรักษ์พัฒนาและใช้ ประโยชน์พันธุ์พืชของชุมชน รวมถึงเป็นอุปสรรคต่อการวิจัยแล ะพัฒนาที่ใช้พันธุ์พืชพื้นเมือง ทั่วไปและพันธุ์พืชป่า และไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เป ลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ส่งผลให้ไม่ส่งเสริมศักยภาพด้า นการแข่งขันการลงทุนและการวิจัย และพัฒนาของประเทศเท่าที่ควร ดังนั้น จึงเห็นสมควรปรับปรุงแก้ไขพระรา ชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับที่ ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของพระราช บัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ ทุกประการ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การปรับแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพั
1. เกษตรกรผู้ค้า/ผู้ปลูก มีทางเลือกมากขึ้นในการเลือกชนิ ดพืชและพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่เหมาะสมใช้เพาะปลูกตามความต้ องการ ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตและคุณภาพของผลผลิตให้ได้รั บผลตอบแทนสูงขึ้น อาชีพเกษตรกรผู้รับจ้างผลิตเมล็ ดพันธุ์ (พืชไร่และผัก) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สร้างรายได้ให้เกษตรกร นอกจากนี้ เกษตรกรจะได้รับการถ่ายทอดเทคโน โลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ทันสมั ยไปด้วย โดยที่เกษตรกรยังสามารถใช้พันธุ์ พืชพื้นเมืองและเก็บเมล็ดพันธุ์ ไว้ปลูกได้เองตามปกติ ส่วนพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการจ ดทะเบียนคุ้มครอง เกษตรกรยังสามารถเก็บเมล็ดพันธ์ ไว้เพาะปลูกในพื้นที่ ของตนเองได้ตามสิทธิพิเศษสำหรั บเกษตรกรที่กำหนดไว้ในมาตรา 35 ของร่างพระราชบัญญัติฯ
2. นักปรับปรุงพันธุ์พืชไทย มีแรงจูงใจในการลงทุนวิจัยปรับป รุงพันธุ์พืชใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และมีแหล่งพันธุกรรมที่มีความหล ากหลายใช้ในการปรับปรุงพันธุ์มา กขึ้น มีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการ พัฒนาปรับปรุงพันธุ์มากยิ่งขึ้น และจะมีจำนวนนักปรับปรุงพันธุ์เ พิ่มมากขึ้น
3. ผู้บริโภคและอุตสาหกรรมแปรรูป มีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้ น สามารถเลือกซื้อผลิตผลและผลิตภั ณฑ์พืชได้ตรงกับความต้องการ มีพันธุ์พืชใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่า งต่อเนื่อง ไม่ขาดแคลน ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตดีขึ้น
4. การลงทุนด้านเมล็ดพันธุ์พืช มีการขยายการลงทุนด้านการวิจั ยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์และการผลิ ตเมล็ดพันธุ์ ทั้งเพื่อใช้ในประเทศและส่งออก นักลงทุนมีความเชื่อมั่น ดึงดูดให้เข้ามาลงทุนด้านวิจัยแ ละพัฒนาในประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้การดำเนินการแก้ไขร่างพร ะราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม 40 มาตรา จาก 69 มาตรา ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิด เห็นผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปว่า เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่มีข้อห่ว งกังวลต่อการที่จะไม่สามารถเก็บ เมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเองได้ดังเช่ นที่เคยปฏิบัติมา ราคาเมล็ดพันธุ์ที่อาจจะสูงขึ้น และการกระทำผิด (ละเมิด) โดยไม่รู้ ซึ่งต่อมาภายหลังจากได้รั บความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุ งแก้ไขกฎหมายจากพนักงานเจ้าหน้ าที่แล้ว เกษตรกรมีความเข้าใจและไม่คัดค้ านการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายดังกล่ าว โดยปัจจุบัน การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่า งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พื ชทางเว็บไซต์ของกรมวิชาการเกษตร ในระหว่างวันที่ ๕-๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนก ารเสนอกฎหมายของหน่วยงานซึ่ งจะต้องให้กระทรวงพิจารณาเพื่ อเสนอคณะรัฐมนตรี และหาก ครม. เห็นชอบ จะต้องส่งร่างดังกล่าวไปยังสำนั กงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่ อนเสนอให้ สนช. ในขั้นตอนสุดท้าย