กระบวนการควบคุมคุณภาพ (Excellent Process) และ คนคุณภาพ (Excellent People) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรของเครือเบทาโกร สู่การเป็นผู้นำด้านการผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง (Food Quality) และปลอดภัย (Food Safety) สำหรับผู้บริโภค คำว่า “คุณภาพ” แบบเบทาโกร มีความเข้มข้นในระดับที่เรียกว่าถ้าสิ่งนั้นไม่ดีจริง จะไม่ยอมให้ออกสู่ภายนอกไปถึงมือผู้บริโภค (Uncompromising Quality)

เครือเบทาโกรได้นำแนวคิดในการทำงานอย่างมีคุณภาพในทุกขั้นตอน ที่เรียกว่า TQM (Total Quality Management) เพื่อปลูกฝังให้พนักงานมีพฤติกรรมทางความคิดและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยนำแนวคิด PDCA : Plan – Do – Check – Act (การวางแผนอย่างรอบคอบ การมุ่งมั่นกระทำตามแผน การสำรวจ/ตรวจตราอย่างสม่ำเสมอและการทบทวนตน) Customer Focus (การให้ความสำคัญทั้งลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอก) Fact Base (ทำงานโดยอาศัยข้อเท็จจริง) Dispersion (สนใจการกระจายหรือรายละเอียด ไม่ดูแต่ค่าเฉลี่ยหรือค่ารวมๆ) และ Process Oriented (เป็นผู้รู้ทั้งเหตุและผลสนใจทั้งกระบวนการและผล) มาใช้ทั้งองค์กร

นอกจากแนวคิด TQM แล้ว ยังใช้เครื่องมือที่ช่วยในการปรับปรุงงานอื่นๆ มาช่วยในการทำงาน การวิเคราะห์และหาวิธีปรับปรุงงาน อาทิ 7QC Tools, Kaizen, Total Productivity management (TPm), Total Productive Maintenance (TPM), Performance Analysis and Control (PAC), Material Flow Cost Accounting (MFCA) เป็นต้น

ในงานประชุม Asian Network for Quality Congress ครั้งที่ 15 ซึ่งเป็นงานประชุมด้านคุณภาพระดับนานาชาติ ณ เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล จัดโดย เครือข่ายคุณภาพแห่งอาเซียน หรือ Asian Network for Quality (ANQ) ซึ่งประกอบด้วยองค์กรไม่แสวงผลกำไร 17 ประเทศในเอเซีย ที่พยายามพัฒนาคุณภาพของมนุษย์และการประยุกต์ใช้การบริหารคุณภาพ ได้มอบรางวัลคุณภาพแห่งอาเซียน ARE-QP Award 2017 (ANQ (Asian Network for Quality) Recognition Excellence Quality in Practice) ให้กับเครือเบทาโกร ในฐานะองค์กรที่มีผลงานดีเด่นด้านคุณภาพ ทั้งการบริหารจัดการและปฏิบัติ โดยมีองค์กรที่เข้ารับรางวัลนี้จากประเทศต่างๆ เพียง 7 องค์กร ซึ่งบริษัท บี.ฟู้ดส์ โปรดักส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเครือฯ ถือเป็น 1 ใน 2 บริษัทจากประเทศไทย ที่ได้รับรางวัล

ซ้าย Prof.Dr. Noriaki Kano ประธานกิตติมศักดิ์ เครือข่ายคุณภาพแห่งอาเซียน ขวา จักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สำนักพัฒนาความยั่งยืน เครือเบทาโกร
ซ้าย Prof.Dr. Noriaki Kano ประธานกิตติมศักดิ์ เครือข่ายคุณภาพแห่งอาเซียน ขวา จักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สำนักพัฒนาความยั่งยืน เครือเบทาโกร

นายจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สำนักพัฒนาความยั่งยืน เครือเบทาโกร เล่าให้ฟังว่า เครื่องมือบริหารจัดการแรกๆ ที่เบทาโกรนำมาใช้ คือ Kaizen (ไคเซ็น แปลว่า เปลี่ยนแปลงแล้วดีขึ้น) เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานที่สถานีการผลิต ในโรงงานผลิตเนื้อไก่สดและเนื้อไก่ปรุงสุก โดยมีทีมที่ปรึกษา

จากญี่ปุ่นให้คำแนะนำ ทำให้พบว่า กำไรเพิ่มขึ้นนั้นไม่ได้มาจากการเพิ่มยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่การสูญเสียในกิจกรรมการทำงานที่ต่ำ และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนทำให้กำไรมากขึ้นได้เช่นกัน

จากนั้นได้นำ Total Productivity management (TPm) มาใช้ ซึ่งเน้นการบริหารจัดการพื้นฐานเป็นหลัก แต่มีประสิทธิภาพสูง หลายองค์กรขาดหรือละเลยสิ่งพื้นฐานเหล่านี้ ได้แก่ การมีโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม การมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การระบุตัวผู้รับชอบโดยการใช้ข้อมูลจริง (Fact Based) ในการดำเนินการช่วง 6 เดือนแรก ทำให้เบทาโกรได้เป้าหมายรวมและเป้าหมายกระจายของทุกส่วนงานที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ เห็นลำดับความสำคัญของแผนงาน ได้แผนงานที่ละเอียดมากขึ้น ตลอดจนมีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ได้วิธีการทำงานร่วมกันของหน่วยงานกลางและสายธุรกิจที่มีประสิทธิภาพขึ้น และผลการดำเนินงานใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดมาก สามารถเพิ่มผลกำไรของบริษัทได้มากขึ้น

เบทาโกร ได้ปรับปรุงงานผ่าน TPm อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จนก้าวไปสู่กระบวนการที่ยากและลึกยิ่งขึ้น เกิดการพัฒนาในตัวบุคลากร ทั้งด้านองค์ความรู้และวิธีการทำงานเป็นทีม ที่สำคัญได้พัฒนาด้าน Food Safety จนก่อเกิด BQM (Betagro Quality Management) มาตรฐานด้านการจัดการที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ดำเนินการตรวจติดตามและควบคุมตามมาตรฐานอาหารปลอดภัยระดับสากลอย่างเคร่งครัดและสามารถตรวจสอบได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง (24/7) ตลอดห่วงโซ่อาหารของเบทาโกร เพื่อให้มั่นใจว่าทุกขั้นตอนมีมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยครบทั้ง 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ความปลอดภัยด้านอาหาร คุณภาพอาหาร สวัสดิภาพสัตว์ บริการที่เป็นเลิศ และความรับผิดชอบต่อสังคม

ยิ่งไปกว่านั้น เบทาโกรได้นำองค์ความรู้ด้านการปรับปรุงงานเหล่านี้ ไปช่วยชุมชนรอบๆ โรงงานเพื่อให้ชาวบ้านมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในรูปแบบ Holistic – Area Based Community Development ชุมชนต้นแบบ (ชุมชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี) อาชีพดี สุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี สังคมดี โดยมีความรู้คู่คุณธรรม และแก้ไขปัญหาความยากจน โดยให้ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เป็นพื้นที่ต้นแบบ มุ่งเน้นให้ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงการพัฒนาแบบบูรณาการทั้ง 5 ด้าน สร้างกลไกการขับเคลื่อนในการทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อให้เกิดผลที่แท้จริงต่อคนในชุมชน และสามารถนำแนวคิดนี้ขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ

ก้าวต่อไปของเครือเบทาโกร ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพในทุกกระบวนการตลอดทั้งซัพพลายเชน เพื่อส่งมอบสินค้าคุณภาพให้ถึงมือผู้บริโภค และพร้อมเติบโตสู่การเป็นผู้นำด้านการผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมทุกภาคส่วน

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated