นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า ในปี 2560 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. มีผลการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จเกินเป้าหมายและเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะถึง 3 เรื่อง คือ

  1. ก.พ.ร. ได้รายงานคะแนนผลการประเมินการปฏิบัติงานในปี 2559 ขององค์การมหาชน 31 แห่ง ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 ซึ่ง สวก. ได้คะแนนอยู่ในลำดับสูงที่สุด 4.9420 แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและประสิทธิภาพในการบริหารงานขององค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
  2. สวก. ได้ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานขององค์กร ทำให้ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล ISO 9001 : 2015 จาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ หรือ สรอ. ใน 3 ขอบข่ายงาน คือ
    • การสนับสนุนทุนวิจัยด้านการเกษตร
    • การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัย
    • การส่งเสริมการใช้ประโยชน์และการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

โดยมีระยะเวลาการรับรอง 3 ปี คือตั้งแต่ วันที่ 17 ตุลาคม 2560 – 16 ตุลาคม 2563

  1. สวก. ได้คะแนนประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ จาก (ปปช) (ITA) ประจำปี 2560 สูงสุดเป็นลำดับที่ 1 ขององค์การมหาชน 52 แห่ง ได้คะแนน 96.55 คะแนน และเป็นลำดับที่ 3 ของหน่วยงานภาครัฐทั้งประเทศ 422 แห่ง
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร

จากความสำเร็จดังกล่าวข้างต้น ทำให้ สวก. ต้องมุ่งพัฒนาปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในปี 2561 เพื่อให้สอดรับยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาระดับประเทศเพื่อมุ่งสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 สวก.
เริ่มดำเนินงานตามแผนพัฒนาองค์กรและบุคลากรแบบก้าวกระโดด โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นกลไกหลักในการปรับปรุงองค์กรอย่างเป็นองค์รวม (Holistic Transformation) โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการ คือ

  1. เพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลในการให้บริการ ขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น

1.1 องค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) และมีการบริหารจัดการแบบมืออาชีพเพื่อให้ผู้รับบริการมีความพอใจสูงสุด (Smart Service Beyond Customer Expectation) โดยปรับปรุงโครงสร้างองค์กรรองรับในการดำเนินงานแบบมืออาชีพ พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยคุณภาพที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐานสากล (ISO 9001: 2015) และพัฒนาระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถบริหารงานวิจัยได้อย่างครบวงจร สามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและตรงความต้องการของผู้ใช้งาน

1.2 องค์กรที่เปิดกว้างและเชื่อมโยง (Open & Connected Agency) โดยเน้นการการบูรณการในการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ทรัพยากรและบุคลากรวิจัยร่วมกัน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงาน (Data Sharing across public agency)

1.3 องค์กรที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางการบริการและเข้าถึงความต้องการในระดับปัจเจก (Citizen Centric & Service Oriented Agency)

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณด้านบุคคล โดยการเพิ่มศักยภาพให้บุคลากรของ สวก. มีความรู้สหสาขาวิชาและสามารถทำงานได้มีผลการปฏิบัติงานสูงกว่ามาตรฐาน (baseline)
  2. ส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยกำหนดให้มีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน มีค่านิยมร่วมขององค์กรในการดำเนินงานว่า “Proud To Be ARDA” คือ การคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ (P:Positive Thinking) ทำงานเชิงรุก (A:Active Approach) บริการประทับใจ (R:Reliable Services) มุ่งมีธรรมาภิบาลและทำงานอย่างทุ่มเท (D:Determination For Good Governance & Devoted) สำเร็จโดยพลังสามัคคี (A : Achieve With Unity) และมีระบบติดตามตรวจสอบได้
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated