ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยหน่วยงานเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) SME Development Bank เปิดตัว 2 แพ็กเกจของขวัญชิ้นใหญ่
1. ส่งเสริมและช่วยเหลือด้านที่ไม่ใช่การเงิน โดยการขยายศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) 23 แห่งทั่วประเทศ การจับมือธุรกิจชั้นนำระดับโลกเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงให้แก่ SMEs การพัฒนา Platporm T-Goodtech เพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยในการทำธุรกิจแบบ B2B
2. ส่งเสริมและช่วยเหลือด้านการเงินซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการร่างนำเสนอ โดยเพิ่มบริการ Mobile Unit รองรับ SMEs 1 ล้านรายที่ต้องการเข้าถึงสินเชื่อของ SME Development Bank การสนับสนุนกองทุนและสินเชื่ออาทิ Transformation Loan, Local Economy Loan และกองทุนสำหรับคนตัวเล็ก (Micro) ภายใต้ กรอบวงเงินรวมประมาณ 70,000 ล้านบาท ผ่านสถาบันการเงินของรัฐและธนาคารพาณิชย์เครือข่าย
ดร.สมคิด กล่าวว่ามาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 นั้น รัฐบาลและหน่วยงานเศรษฐกิจภายใต้กำกับได้มุ่งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEsในทุกระดับผ่านนโยบายและมาตรการด้านต่างๆ อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ซึ่งได้เน้นย้ำให้ผู้ดำเนินธุรกิจติดอาวุธด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ในยุคที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลง
สำหรับในปี 2561 นั้นได้เห็นชอบร่วมกันในการจัดแพ็กเกจของขวัญซึ่งเป็นมาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs ให้เข้าสู่ยุค 4.0 โดยจะเน้นการตอบสนองความต้องการและเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในทุกมิติ ซึ่งได้แบ่งมาตรการเป็น 2 ประเภท คือ
1.ส่งเสริมและช่วยเหลือด้านที่ไม่ใช่การเงิน โดยจะสนับสนุนตั้งแต่วิสาหกิจชุมชนจนถึงผู้ประกอบการระดับขนาดกลางทั้งด้านการผลิต การตลาด การส่งเสริมนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังมีนโยบายการยกระดับผู้ประกอบการฐานรากหญ้า พัฒนาสู่ SMEs รากแก้ว โดยจะดึงธุรกิจขนาดใหญ่มาช่วยสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในแต่ละท้องถิ่นตามแนวทางประชารัฐให้เดินหน้าด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี อาทิ การยกระดับอุตสาหกรรมชุมชนให้เชื่อมโยงกับภาคการท่องเที่ยวด้วยโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยทางานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น ททท. และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อพท. พร้อมผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงระดับโลก การบ่มเพาะเกษตรกรกว่าร้อยละ 30 ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป เป็นต้น
2.ส่งเสริมและช่วยเหลือด้านการเงิน โดยจะขยายหน่วยบริการทางการเงิน (Mobile Unit) ในระดับจังหวัดให้ครบทุกอำเภอและเขตเศรษฐกิจพิเศษ 905 หน่วย และ สินเชื่อ Local Economy Loan เพื่อกลุ่ม SMEs ในระดับชุมชน อาทิ ธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ประกอบการใหม่ที่มีนวัตกรรมที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนในการลงทุน ปรับปรุง และขยายกิจการ นอกจากนี้กองทุนฟื้นฟู MSMEs คนตัวเล็ก เพื่อให้ผู้ประกอบการในระดับรายจิ๋วและรายย่อย (Micro) ที่เข้าถึงสถาบันการเงินได้ยาก โดยจะรองรับผู้ประกอบการที่มีข้อจากัดทั้งมีเงินทุนไม่เพียงพอต่อการดำเนินหรือเริ่มต้นธุรกิจ รวมถึงผู้ที่ต้องการลงทุน ปรับปรุง ปรับเปลี่ยนธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ
ดร.สมคิด กล่าวทิ้งท้ายว่าอย่างไรก็ดี ทั้ง 2 แนวทางนี้รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมและสานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นเจ้าภาพหลักในการประสานและขับเคลื่อน ซึ่งเชื่อว่ามาตรการเหล่านี้ จะส่งผลให้ SMEs สามารถดาเนินธุรกิจได้ด้วยความราบรื่นพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัวสอดคล้องกับทิศทางที่รัฐบาลได้วางเอาไว้ได้ ทั้งยังมีความมุ่งหวังอีกว่า เมื่อ SMEs ได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และแนวคิดให้สอดรับ กับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกด้วยความเป็น 4.0 แล้ว อัตราการเจริญเติบโตของประเทศในปีหน้าต้องมีทิศทางที่สดในด้านอื่น ๆ ตามมาอย่างแน่นอน