จากการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561ที่ผ่านมา ณ อาคารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี หนึ่งในวาระการพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้คือ วาระที่ 12 เรื่อง ยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบ
ยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร เป็นยุทธศาสตร์ที่นาเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่ง นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าเนื่องจากประเทศไทย มีผลผลิตในเชิงคุณภาพ ปริมาณ และความหลากหลาย โดยเฉพาะรสชาติ ถือเป็นจุดแข็งและความได้เปรียบในการสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร จึงเสนอจัดทำยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร ภายใต้ 4 องค์ประกอบสาคัญ ได้แก่ การเป็นผู้นำด้านการผลิต โดยยกระดับคุณภาพการผลิตทั้งสดและแปรรูปให้เป็นที่ยอมรับ การเป็นผู้นำด้านผลไม้ เป็นผู้นำการเจาะตลาดในประเทศที่มีศักยภาพเป็นที่ต้องการผลไม้เมืองร้อน และต้องมีความแตกต่างในการทำให้ผลไม้เป็นสินค้ามีแบรนด์ ภายใต้ไทยแลนด์แบรนด์
“เบื้องต้นร่วมมือกับหอการค้าจังหวัด นำร่องขับเคลื่อนพื้นที่ภาคตะวันออกในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จากนั้นจะนาแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปดาเนินการต่อในแหล่งที่มีการผลิตผลไม้ทั้งประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน”
พร้อมกันนี้กระทรวงพาณิชย์ กำลังยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มีหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมประสานงานและยกระดับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ส่วนการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรและผู้ประกอบการ นายสนธิรัตน์กล่าวว่า
“ ต้องติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ขณะเดียวกันต้องพัฒนาผู้รวบรวมผลไม้เพื่อการส่งออก หรือล้ง คลังสินค้า ห้องเย็นและโลจิสติกส์ควบคู่กัน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงฐานการผลิต นาไปสู่ตลาดและผู้ค้าปลายทาง จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้ในประเทศ”
แล้วยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร เป็นอย่างไร มีสาระสาคัญ อย่างไร เว๊ปไซด์ เกษตรก้าวไกล จึงขอนำข้อมูลเบื้องต้นมานาเสนอก่อน ว่ารัฐบาลลุงตู่จะทาอะไรบ้าง
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การค้าผลไม้ครบวงจร ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยเป็นชาติมหาอานาจด้านการค้าผลไม้เมืองร้อนของโลก”
ส่วนประเด็นยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ใหญ่ ๆ ซึ่งแต่ละยุทธศาสตร์จะมีกลยุทธในการดำเนินงานดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้เมืองร้อนสดและแปรรูปให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ประกอบด้วย
- กลยุทธ์ที่ 1.1 กำหนดและส่งเสริมมาตรฐานการผลิตและการค้าผลไม้เกรดพรีเมียม (Q+GAP), Thai GAP, Thailand Trust Mark)
- กลยุทธ์ที่ 1.2 ส่งเสริมการทำการตลาดผลไม้เกรดรอง (Undersized) อาทิ ทุเรียน มังคุด สาหรับตลาดส่งออก เช่น ตลาดจีน อินเดีย และนักท่องเที่ยว
- กลยุทธ์ที่ 1.3 ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development)
- กลยุทธ์ที่ 1.4 ส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลไม้ไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างและพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและกระจายผลไม้ไทยให้มีการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
- กลยุทธ์ที่ 2.1 ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและคัดคุณภาพ (Farm Outlet/ จุดรวบรวม/ ตลาดกลางผลไม้)
- กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมให้มีตลาดกลางที่มีระบบอานวยความสะดวกครบวงจรและพัฒนาไปสู่ระบบประมูล (Inter Auction)
- กลยุทธ์ที่ 2.3 จัดหาสถานที่ จำหน่ายและเชื่อมโยงเครือข่าย (ตลาดสด/ ตลาดต้องชม/ ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ/ หน่วยงานรัฐและเอกชน)
- กลยุทธ์ที่ 2.4 ส่งเสริมการขายช่องทางต่าง ๆ (ออนไลน์/ ข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้า/ ตลาดชายแดน)
- กลยุทธ์ที่ 2.5 ขยายช่องทางการตลาดต่างประเทศ/ แสวงหาตลาดใหม่ (Outgoing และ Incoming Mission)
- กลยุทธ์ที่ 2.6 การสร้างเครือข่ายผู้ผลิต ผู้รวบรวมและตลาด
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะด้านการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการผลไม้ไทย ประกอบด้วย
- กลยุทธ์ที่ 3.1 จัดหาสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ประกอบการรับซื้อ และสหกรณ์การเกษตร
- กลยุทธ์ที่ 3.2 ประสานเชื่อมโยงสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน และแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ เพื่อผลักดันการขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้คุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ประชาสัมพันธ์สินค้าผลไม้เมืองร้อนของไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาด ประกอบด้วย
- กลยุทธ์ที่ 4.1 รณรงค์และส่งเสริมให้เกิดการบริโภคผลไม้เพิ่มขึ้นเป็นการทั่วไป โดยให้ความสาคัญกับการส่งเสริมตลาดเฉพาะสินค้าในพื้นที่จังหวัดที่มีกาลังซื้อสูงหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติรู้จักผลไม้ไทยมากยิ่งขึ้นด้วย
- กลยุทธ์ที่ 4.2 จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างค่านิยมการบริโภคผลไม้ภายในสถานศึกษาเพื่อให้เยาวชนรุ่นใหม่บริโภคผลไม้มากยิ่งขึ้น
- กลยุทธ์ที่ 4.3 ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นอุปสงค์การบริโภคผลไม้หลากชนิดตามช่วงเทศกาลและฤดูกาลของผลไม้
- กลยุทธ์ที่ 4.4 การส่งเสริมการขายผลไม้ในต่างประเทศ (In-Store Promotion) และ Branding
หากทาได้ตามนี้ คงช่วยพัฒนาอาชีพให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ได้เป็นอย่างดี แต่จะทาได้ป่าวนั้นคงต้องรอดูกันต่อไป..