ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ

ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ (สกช.) ว่าด้วยความร่วมมือในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนมั่นคง ปลอดภัยยาเสพติด เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 จึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานเครือข่ายเกษตรกรอาสาพัฒนาประชารัฐระดับหมู่บ้านและชุมชนปี 2561 ต่อยอดร่วมในการทำความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างวันที่ 22 – 23 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ

สื่อมวลชนเข้าร่วมภายในงาน
สื่อมวลชนเข้าร่วมภายในงาน

โดยมีสาระสำคัญคือ เพื่อประสานความร่วมมือดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านและชุมชน , ให้ความรู้โทษภัยยาเสพติดแก่เกษตรกร , พัฒนาเกษตรกรเป็นแกนนำเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน , มีส่วนร่วมในการชักชวนแนะนำ เข้าสู่กระบวนการบำบัดและช่วยเหลือเยียวยาหลังบำบัด และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์นโยบายแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนหมู่บ้าน โดยสภาเกษตรกรจังหวัดแต่ละจังหวัดจะเลือกพื้นที่เป้าหมายเพื่อทำงานร่วมกับ ปปส.ภาคทั้ง 9 ภาค ตั้งแต่เดือน เมษายน – กันยายน 2561 ประเมินและรายงานผล เพื่อเป็นข้อมูลและโมเดลที่จะดำเนินโครงการขยายผลต่อไปในปี 2562   

ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ ร่วมถ่ายรูป

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก ปปส.ได้เผยถึงสถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทยพบว่ายังมีความรุนแรง ซึ่งรัฐบาลได้ยกระดับเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศในแผนพัฒนาชาติ 20 ปี ความรุนแรงของปัญหายาเสพติดยังอยู่ในกลุ่มเด็กเยาวชนอายุต่ำกว่า 24 ปี พบว่าเด็กกลุ่มนี้ 45% ถูกจับกุมคดียาเสพติด และ 75% เข้ารับการบำบัดยาเสพติด ซึ่งหากไม่สามารถควบคุมได้จะกลายเป็นปัญหาอย่างมากกับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต  สภาเกษตรกรฯมีเครือข่ายเกษตรกรทุกหมู่บ้านจะให้ความร่วมมือกับ ปปส.แต่ขอเน้นย้ำว่าสภาฯ ไม่ได้เข้าไปช่วยในเรื่องของการชี้เบาะแสหรือการปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด แต่เครือข่ายเกษตรกรจะช่วยเรื่องของการป้องกัน รณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงพิษภัยยาเสพติด และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้บุตรหลานของเกษตรกรหรือประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนักถึงพิษภัยและไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หากสามารถนำพาให้เด็กเยาวชน บุตรหลานสนใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในหมู่บ้าน/ชุมชนเพิ่มขึ้น เชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างยั่งยืน                                  

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated