ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ในปี 2561 สภาเกษตรกรแห่งชาติร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พัฒนาต่อยอดจากการทำแผนตำบลกับองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสภาเกษตรกรจังหวัดทุกจังหวัด ด้วยโครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – กันยายน 2561 เพื่อผนวกการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ และองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเกษตรที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ
ว่าที่ร้อยตรีสมพูนทรัพย์ กล้าวิกรณ์ (สูทดำ) เลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ

รวมทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการจนสามารถยกระดับจากผู้ผลิตที่ตอบสนองความต้องการระดับท้องถิ่น สู่ผู้ผลิตระดับ SMEs ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดในระดับสากลได้ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชน ท้องถิ่น รวมทั้งเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ ด้วยเป้าหมายเพื่อต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น 20%, อายุการเก็บรักษาผลิตผลนานขึ้น 10% ใน 878 ตำบล 300 องค์กรเกษตร 200 นวัตกรรม เกษตรกร 10,000 รายทั่วประเทศ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการควรใช้โอกาสนี้ด้วยความตั้งใจแล้วนำเอานวัตกรรมที่ วว.ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ไปใช้ประโยชน์ โดยสภาเกษตรกรตั้งเป้าอย่างน้อย 20% มากกว่านั้นยิ่งดี ขอให้เกษตรกรทำให้บรรลุผลสำเร็จตามที่ทางสภาเกษตรกรฯและวว.ได้ร่วมกันจัดโครงการดังกล่าวให้กับพี่น้องเกษตรกรทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นฐานการผลิตสำคัญในการป้อนผลิตผลเกษตรสู่ครัวโลกต่อไป

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์
ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์

ด้าน ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการ “1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร” จะให้เกษตรกรได้เข้าถึงบริการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่แล้วในอดีตที่ทำต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน  โดยวว.จะเอาองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปเพื่ออธิบายภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านั้น เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นเกษตรกรที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่แล้ว และต้องการต่อยอดเป็นนวัตกรรม วว.จะพัฒนาในช่วงที่เป็นเทคโนโลยีที่เป็นต้นน้ำ ได้แก่ เทคโนโลยีทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต , ผลผลิต, คุณภาพผลผลิต / ด้านเครื่องจักร,เครื่องมืออุปกรณ์การเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ประมง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าศัตรูพืชต่างๆได้ทั้งหมด รวมทั้งเทคโนโลยีในการยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยว เทคโนโลยีใช้ของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตทางด้านการเกษตรให้เกิดประโยชน์ เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการแจ้งความจำนงได้ที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดของท่านได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

บรรยากาศต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่ม
บรรยากาศการบรรยายการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้นทุนลด ผลผลิตเพิ่ม
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated