กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวเริ่มต้นโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยนิยมยั่งยืน จัดกิจกรรมโครงการสร้างเครือข่ายการผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช สนับสนุนนโยบายลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตขยายชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชสู่เกษตรกร เน้นเกษตรกรนำความรู้ที่ได้ไปผลิตชีวภัณฑ์ใช้เองได้ พร้อมเป็นเครือข่ายผลิตกระจายชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชที่มีคุณภาพเพื่อขายให้กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ รวมทั้งขยายผลถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไปในอนาคต

นางสาวศิริพร บุญชู
นางสาวศิริพร บุญชู

นางสาวศิริพร บุญชู รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยหลังเป็นประธานในพิธีเปิดตัวเริ่มต้น (Kick Off) โครงการฝึกอบรมเพิ่มทักษะ “การผลิตขยายชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยนิยมยั่งยืน ณ วัดบางช้างเหนือ ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่ผ่านมาว่า กรมวิชาการเกษตรมีนโยบายในการส่งเสริมการผลิตและการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช โดยมีการจัดทำโครงการสร้างเครือข่ายการผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ภายใต้โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยนิยมยั่งยืน เพื่อสนับสนุนนโยบายลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และส่งเสริมนโยบายเกษตรอินทรีย์ ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 และสำนักวิจัยพัฒนา การอารักขาพืช จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมการฝึกอบรมเพิ่มทักษะ “การผลิตขยายชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเกษตรกรในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ให้มีทักษะความรู้ในการผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช สามารถนำความรู้ที่ได้ไปผลิตชีวภัณฑ์ใช้เองได้ และเป็นเครือข่ายผลิตกระจายชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชที่มีคุณภาพเพื่อขายให้กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ รวมทั้งขยายผลถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตกรมวิชาการเกษตร ติวเข้มสร้างเครือข่ายเกษตรกรผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช

รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันในพื้นที่สวนมะพร้าวยังคงประสบปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าว ส่งผลให้ผลผลิตและพื้นที่ปลูกมะพร้าวในประเทศลดลง เกษตรกรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการจัดการศัตรูพืชด้วยการใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมตามหลักวิชาการที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและตัวเกษตรกรเอง ซึ่งการฝึกอบรมในครั้งนี้จะประกอบไปด้วย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชื้อราเมตาไรเซียม การผลิตเชื้อราเมตาไรเซียม และการป้องกันกำจัดด้วงศัตรูมะพร้าวด้วยเชื้อราเมตาไรเซียม รวมทั้งมีฝึกปฏิบัติการจริงในเรื่องการผลิตเชื้อราเมตาไรเซียม โดยเกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ประโยชน์ในสวนเกษตรของตนเองได้ และยังสามารถทำเป็นอาชีพเสริมรายได้ ช่วยลดต้นทุนการผลิต พร้อมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่ทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพดีอีกด้วย

เครือข่ายเกษตรกรผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช
เครือข่ายเกษตรกรผลิตชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated