เกษตรคือประเทศไทย…ไร่นาสวนผสมเป็นอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรทำกันมากทั่วทุกภาคของประเทศไทย รางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติจึงได้รับการจับตามอง เช่นเดียวกับปีนี้ 2516 ซึ่งได้มีการประกาศและรับรางวัลกันไปแล้วในวันนี้(14พ.ค.61) ซึ่งผู้ได้รับรางวัลได้แก่ นายใจ สุวรรณกิจ เกษตรกรวัย 63 ปี เจ้าของ “สวนลุงใจ” จากตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ก่อนหน้านี้ “ลุงใจ” แทบไม่ได้เป็นข่าวตามสื่อต่างๆ มากนัก จะมีบ้างก็ต่อเมื่อได้มีประกาศว่าเป็นผู้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ซึ่งเมื่อพลิกแฟ้มประวัติดูก็พบว่ามีประวัติผลงานเป็นที่น่าสนใจมาก มุ่งมั่นทำงานจนเป็นที่รักของคนในพื้นที่มายาวนานแต่มักไม่ค่อยเป็นข่าว “เกษตรก้าวไกล” จึงขอนำประวัติผลงานมาเผยแพร่แบบเต็มๆ (เพื่อเป็นกรณีศึกษาและแนวทางกับเกษตรกรคนอื่นๆ) โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำขึ้น จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
อนึ่ง “ลุงใจ” ได้เปิดเผยภายหลังเข้ารับรางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2561 ว่า รู้สึกภาคภูมิใจเป็นที่สุด ไม่เคยคาดคิดว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ วันนี้ตนได้มารับรางวัลกับครอบครัวจำนวน 9 คน ทุกคนดีใจตื้นตันใจกับสิ่งที่ได้ทุ่มเทลงไป “การทำเกษตรเหนื่อยแต่ก็มีความสุขใจที่ได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก” ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้พยามยามคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่จะมาช่วยการทำอาชีพให้ดียิ่งขึ้น เช่น การทำปุ๋ยใช้เอง การทำสารไล่แมลงจากสมุนไพร ฯลฯ และเมื่อครอบครัวตนเองอยู่ได้ ก็อยากให้ชุมชนอยู่ได้ด้วย ทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมุ่งมั่นที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งกล่าวว่าใครที่ต้องการจะไปศึกษาดูงานการปลูกพืชการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการทำปุ๋ยใช้เอง ยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้อย่างเต็มที่
คติ/แนวคิดประจำใจ
การทำการเกษตรนั้นต้องมีความรอบรู้หรือองค์ความรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพราะการเกษตรนั้นไม่มีสูตรตายตัว ต้องทดลองทดสอบ ฝึกฝนตลอดชีวิต และที่สำคัญต้องยึดหลัก
ความพอเพียงตามคำสอนของพ่อ (รัชกาลที่ 9) ซึ่งตนเองเป็นช่างซ่อมรถและรักการเกษตร จึงมีคติประจำใจว่า “นายช่างยุคใหม่ หัวใจพอเพียง” ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ความคิดริเริ่ม
- การทำการเกษตรนั้นต้องมีความรอบรู้หรือองค์ความรู้ที่หลากหลาย เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพราะการเกษตรนั้นไม่มีสูตรตายตัว ต้องทดลองทดสอบ ฝึกฝนตลอดชีวิต และที่สำคัญต้องยึดหลักความพอเพียงตามคำสอนของพ่อ (รัชกาลที่ 9) ซึ่งตนเองเป็นช่างซ่อมรถและรักการเกษตร จึงมีคติประจำใจว่า “นายช่างยุคใหม่ หัวใจพอเพียง” ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
- เดิมประกอบอาชีพเปิดอู่ซ่อมรถ ทำนา และทำสวนยางพารา ต่อมาเริ่มศึกษาดูงาน จากโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง และแปลงเศรษฐกิจพอเพียงของ นายวิเชียร ชูสีดำ เกษตรกรดีเด่นโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
- ปี 2534 มีวิสัยทัศน์ในการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากสวนยางพารามาทำไร่นาสวนผสมในช่วงที่ยางพารามีราคาสูง ซึ่งเป็นการทำการเกษตรแบบสวนกระแสในเวลานั้น แต่ด้วยความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว ประกอบกับราคาข้าวตกต่ำ โดยใช้หลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในการประกอบอาชีพ และมีความ
เอื้ออาทรต่อกันนำไปสู่สังคมและชุมชน เป็นเหมือนรากฐานของชีวิต
ความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค
ประสบปัญหาน้ำท่วมฟาร์มทุกปีแต่ชีวิตไม่เคยย่อท้อตั้งใจประกอบอาชีพการเกษตรด้วยความอุตสาหะ อดทน โดยทำการเกษตรแบบผสมผสานมีกิจกรรมที่เกื้อกูลการใช้ประโยชน์ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก เน้นการใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก ไม่จ้างแรงงานจากภายนอก และปี พ.ศ.2538 เลิกใช้ปุ๋ยเคมีโดยเด็ดขาด ไม่เผาตอซังและไถกลบตอซังข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยว เพื่อลดภาวะโลกร้อนและอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ปลูกพืชตระกูลถั่ว ได้แก่ ถั่วลิสง/และปลูกปอเทือง ภายหลังฤดูทำนา เป็นปุ๋ยพืชสด ปลูกหญ้าแฝก บริเวณขอบสระน้ำรวมน้ำในสวนและแปลงนา เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการพังทลายของดิน และปรับปรุงดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหาร เพื่อสร้างสมดุลให้ระบบนิเวศ ปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อลดการสะสมของโรคแมลง เป็นคนคิดนอกกรอบ ตั้งชื่อฟาร์มว่า
“สวนลุงใจ” เพื่อสร้างจุดเด่นให้ตนเอง เป็นคนขยัน หัวไวใจสู้ ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา
การพัฒนาการเกษตร
มีการจัดระบบการปลูกพืช ข้าว + พืช + สัตว์ + ประมง โดยแบ่งพื้นที่ทำการเกษตร จำนวน 12 ไร่
1 งาน ดำเนินกิจกรรม ดังนี้
- ปลูกข้าวสังข์หยด จำนวน 1 ไร่ 1 งาน (ไว้บริโภคในครัวเรือน)
- ปลูกยางพารา จำนวน 4 ไร่
- ปลูกไม้ผล จำนวน 5 ไร่ ได้แก่ มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ละมุด กระท้อน มะม่วง ลองกอง เงาะ ทุเรียน ฝรั่ง ทุเรียนเทศ มะกรูด หมาก กล้วย มะพร้าว ส้มจุก
- ขุดสระเก็บกักน้ำไว้ใช้ จำนวน 2 ไร่ 700 ลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำ 3,000 คิว
และขุดร่องน้ำในสวน จำนวน 7 ร่อง ขนาด 70 ลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำ 300 คิว ขุดคูรอบแปลงนาขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำ 3,500 คิว เลี้ยงปลากินพืช ได้แก่ ปลากด ปลานิล ปลาตะเพียน - เลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย เลี้ยงผึ้งโพรงไทย จำนวน 15 รัง หอยขม จำนวน บ่อ และร่องสวน จำนวน 1 ร่อง เป็ดไข่ จำนวน 10 ตัว ไก่ไข่ จำนวน 10 ตัว ไก่พื้นบ้าน จำนวน 25 ตัว ปลูกหญ้าแฝกรอบสระน้ำ และร่องสวน จำนวน 10,000 กอ
การนำเทคโนโลยีมาใช้เหมาะสมกับพื้นที่และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- ปี 2555 ได้นำดินมาตรวจวิเคราะห์วัดค่า PH หาค่าเป็นกรด-ด่าง ของดิน และพบว่าในแปลงมีค่าความเป็นกรด-ด่าง 2 โซน คือ โซนแปลงไม้ผล มีค่าเท่ากับ 6.7 และโซนแปลงนาข้าว ค่าเท่ากับ 5.6
โดยได้รับคำแนะนำจากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดพัทลุง ให้ใส่โดโลไมต์ และปูนขาว เพื่อปรับสภาพดินให้ดินมีความเป็นกลางมากขึ้น และเหมาะสมในการทำการเกษตร โดยปลูกหญ้าแฝก ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ ปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกถั่วเป็นพืชปุ๋ยสด ไถกลบตอซัง - คิดค้นเครื่องมือต่างๆ มาช่วยในการทำการเกษตร ได้แก่ ทำคันไถแบบเหล็ก (ผาน) แทนไม้
ทำให้มีความสะดวกในการเตรียมดิน ผลิตหัวไถที่ใช้กับเครื่องยนต์ โดยการปรับให้เหมาะสมกับพื้นที่ ใช้ง่าย รวดเร็ว ผลิตเครื่องนวดข้าว ซึ่งประยุกต์มาจากเครื่องยนต์ซึ่งลดเวลาในการนวดข้าว ประดิษฐ์อุปกรณ์ในการห่อผลกระท้อน เพื่อป้องกัน แมลงวันทอง จากวัสดุเหลือใช้ ผลิตกับดักแมลงวันผลไม้ จากวัสดุเหลือใช้ - มีความคิดริเริ่มเสริมรากยางพารา 2 ต้น เป็นต้นเดียวกัน โดยส่วนของต้นตอที่นำมาทาบจะทำหน้าที่เป็นระบบรากอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี ทำให้โตเร็วไม่มีปัญหาการโค่นล้ม
- ใช้หลักฟิสิกส์วางท่อระบายน้ำเข้า-ออก พื้นที่ปลูกข้าวเพื่อเก็บกักน้ำ โดยไม่ต้องใช้เครื่องปั้มน้ำ
- มีการจัดระบบการเลี้ยงปลาในกระชังทีสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัยได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ
- ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นแล้วนำมาปรับปรุงตนเองเสมอ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี เป็นที่รักของครอบครัวและชุมชน
- ปี 2558 ได้รวมกลุ่มสมาชิกในบ้านควนพระ หมู่ที่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จำนวน 30 คน ที่มีแนวคิดลดต้นทุนการผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมี
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตรได้ออกใบรับรองให้ นายใจ สุวรรณกิจ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP พืช) พ.ศ. 2555 จำนวน 3 ชนิดคือ ลองกอง มะนาว และกระท้อน (ปีที่รับรอง 2560 – ปีที่หมดอายุ 2563)
ผลงานและความสำเร็จ
แบ่งพื้นที่ทำการเกษตรออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 พื้นที่ 5 ไร่ ปลูกไม้ผล และขุดร่องน้ำ สำหรับเก็บน้ำไว้ใช้ในแปลง และเลี้ยงปลา เลี้ยงหอยขม เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงผึ้งโพรงไทย เพื่อช่วยผสมเกสร และสามารถนำน้ำผึ้งมาจำหน่ายในชุมชนสร้างรายได้ให้ครอบครัว
ส่วนที่ 2 พื้นที่ 2 ไร่ ขุดเป็นสระเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเลี้ยงปลา ประกอบด้วยปลากด ปลานิล ปลาตะเพียน และขุดร่องน้ำ สำหรับเก็บน้ำไว้ใช้ในแปลง รอบๆ ขอบสระ และร่องน้ำปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกัน
การพังทลายของหน้าดิน เลี้ยงปลาธรรมชาติ ปลูกพืชสมุนไพร ปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคและจำหน่าย
ส่วนที่ 3 พื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน ปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดพัทลุงเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน(ทำนา 2 ครั้ง) หลังฤดูการทำนาจะปลูกถั่วลิสง
ส่วนที่ 4 พื้นที่จำนวน 4 ไร่ ปลูกยางพาราพันธุ์ ARRIM 600อายุ 5 ปี (ปลูกปี 2556)
- ผลผลิตเฉลี่ย
- ข้าวสังข์หยด ผลผลิตเฉลี่ย 450 กก/ไร่ ซึ่งเกษตรกรทั่วไป เฉลี่ย 350 กิโลกรัม/ไร่
- มะนาว ผลผลิตเฉลี่ย 2,000 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรทั่วไป เฉลี่ย 1,800 กิโลกรัม/ไร่
- ลองกอง ผลผลิตเฉลี่ย 500 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรทั่วไป เฉลี่ย 450 กิโลกรัม/ไร่
- กระท้อน ผลผลิตเฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม/ไร่ เกษตรกรทั่วไป เฉลี่ย 900 กิโลกรัม/ไร่
- น้ำผึ้ง ผลผลิตเฉลี่ย 36 ลิตร/ปี
- ใช้วิชาการในการปรับปรุงสภาพการผลิตการปรับปรุงบำรุงดินด้วยการปลูกพืชหลังนา การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด การใช้ปุ๋ยหมัก และการสมุนไพรทำน้ำหมักชีวภาพไล่แมลง การใช้
กับดักแมลงวันผลไม้ การเสริมราก ยางพารา การห่อผลไม้ป้องกันแมลงวันทอง - การวางแผนการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด
- การนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการแปรรูปน้ำมะนาว แปรรูปน้ำมะพร้าว
ทำกระท้อนทรงเครื่อง ทำขนมเค้กใบเตย เค้กมะพร้าว จำหน่ายตลาดท้องถิ่น - นำสิ่งเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่นทำกับดักแมลงวันผลไม้ ที่ห่อผลไม้
การจัดการ
- มีผังฟาร์ม/แผนและงบประมาณฟาร์ม ปฏิทินการปลูกพืช สัตว์ ประมง
- มีการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนและบัญชีฟาร์มตลอด และแยกบัญชีเป็นรายพืช ซึ่งสามารนำมาคิดวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต และตรวจสอบย้อนหลังได้ 3ปี
- ได้จัดการผลผลิต/ การจำหน่าย/การตลาด โดย
- ขายตลาดในชุมชน
- ซื้อขายล่วงหน้า สั่งจองทางเฟสบุ๊ค ไลน์ โดยรับประกันคุณภาพสินค้า
- แปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น คั้นน้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ขนมเค้ก มะพร้าวเค้กใบเตย กระท้อนทรงเครื่อง วางขายที่ร้านขนมกบ
- ใช้แรงงานในครัวเรือนที่สอดคล้องกับกิจกรรม และขนาดฟาร์ม จำนวน 5 คน โดยมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน เช่น แรงงานในสวน แรงงานเก็บผลผลิต/จำหน่าย แรงงานแปรรูป
- ผสมผสานเกื้อกูลการใช้ประโยชน์ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในฟาร์ม
สรุปรายได้/รายจ่าย (ย้อนหลัง 3 ปี)
รายการ | รายได้/รายจ่าย (บาท) | |||
ปี 2557 | ปี 2558 | ปี 2559 | ปี 2560 | |
รายได้ | 34,480 | 278,500 | 179,400 | 354,550 |
กำไร | 225,320 | 30,100 | 32,200 | 45,720 |
ต้นทุน | 259,800 | 248,400 | 147,200 | 311,830 |
รายได้รายวัน : ได้แก่ ตะไคร้ มะกรูด มะนาว ขายในตลาดชุมชน
รายได้รายสัปดาห์ : ได้แก่ ผักบางชนิด ข่า ตะไคร้ มะกรูดขายในตลาดชุมชน
รายได้รายเดือน : ได้แก่ ปลากด ปลาตะเพียน ปลาหมอ กบ ปลาดุก หอยขม น้ำผึ้ง ขายในตลาดชุมชน
รายได้รายปี : ได้แก่ ลองกอง กระท้อน ละมุด ส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน ข้าวนาปี ขายในตลาดชุมชน
หมายเหตุ : ข้าวนาปี ปลูก 2 ครั้ง เพื่อบริโภคในครัวเรือน
ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ
- ปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ศึกษาดูงาน โดยการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่มี
- เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านไร่นาสวนผสมของชุมชน เครือข่ายของอำเภอปากพะยูน ด้านศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
- เป็นผู้ฝึกอาชีพด้านช่างให้กับผู้สนใจ และผู้พิการทางหู
- พิธีกรทางศาสนาให้กับชุมชนและวัด
- เป็นหมอดินอาสาประจำตำบล ปี 2538 รวมกลุ่มสมาชิกในบ้านควนพระที่มีแนวคิดลดต้นทุน
การผลิต และลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์ในการผลิตปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ช่วยเก็บกักน้ำในดิน - เป็นคณะกรรมการบริหารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี การเกษตรประจำตำบลฝาละมี (ศบกต.) ปี 2550
- เป็นอาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน (อกม.) ปี 2555 เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน
ด้านการเกษตรของหมู่บ้าน ร่วมกับกรรมการหมู่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรหมู่บ้านประสานงานถ่ายทอดความรู้และแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในหมู่บ้าน ติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้าน และงานเร่งด่วน - เป็นสมาชิกอาสารักษาความสงบหมู่บ้านของสถานีตำรวจภูธร จังหวัดพัทลุง
- เป็นวิทยากรด้านการพัฒนาที่ดิน ปี 2546
- เป็นวิทยากรศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่และวิทยากร
รับเชิญให้กับโรงเรียนควนพระสาครินทร์ บรรยายและสาธิตในเรื่องช่างซ่อมรถ โดยเฉลี่ยในการเป็นวิทยากร
เดือนละ 5 ครั้ง - เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของกรมพัฒนาที่ดิน
- เป็นศาสนพิธีกร เป็นผู้นำทางพิธีกรรมทางศาสนา เช่น วันพระ งานศพงานบวช โดยไม่รับค่าตอบแทนเฉลี่ยเดือนละ 5 ครั้ง
- เป็นครูฝึกอาชีพ ช่างซ่อมรถให้แก่ผู้สนใจและผู้บกพร่องทางการได้ยินจนสามารถประกอบอาชีพ
สร้างรายได้เลี้ยงตนเองได้ - เป็นกรรมการจ่ายน้ำของกรมชลประทาน เพื่อจัดระบบการจ่ายน้ำและจัดสรรให้กับเกษตรกร
และชุมชน - เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เครือข่าย อำเภอปากพะยูน
ด้านศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง มีฐานการเรียนรู้จำนวน16 ฐาน ให้เกษตรกรและผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ - มีความสามารถในการสื่อสารและทำความเข้าใจเป็นอย่างดี
- เป็นตัวอย่างขยายผลให้ผู้อื่นในชุมชน
- นำผลผลิตการเกษตรประกวดแข่งขัน (มะนาวแป้น) ในงาน “เที่ยวสนุก กินหร่อย ย้อนรอยเมืองลุง Phatthalung Food&Fair 2017” มหกรรมผลงานการพัฒนาด้านการเกษตรอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นจังหวัดพัทลุง ประจำปี 2560 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
- เป็นแหล่งศึกษาดูงานและเรียนรู้ด้านไร่นาสวนผสม เกษตรอินทรีย์ ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง และด้านดิน ของจังหวัดพัทลุง
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- พื้นที่การเกษตรมีเอกสารสิทธิ์แบบโฉนด/นส.4 เลขที่เอกสารสิทธิ์ 1101 ซึ่งไม่ได้อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ
- ทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม โดยใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก จากเศษวัสดุการเกษตรหมุนเวียน
การใช้ทรัพยากรในไร่นา พึ่งพาปัจจัยการผลิต ภายนอกน้อยลง ทำให้ระบบนิเวศเกษตรดีขึ้น - ตั้งแต่ พ.ศ.2538 เลิกใช้ปุ๋ยเคมีโดยเด็ดขาด มีการไถกลบตอซังข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยว เพื่อลดภาวะโลกร้อน (ไม่เผาตอซัง) และอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
- ปลูกพืชตระกูลถั่ว (ถั่วลิสง) ภายหลังฤดูทำนา
- ปลูกหญ้าแฝก เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการพังทลายของดิน และปรับปรุงดิน ลดการสูญเสียธาตุอาหาร เพื่อสร้างสมดุลให้ระบบนิเวศ
- เลี้ยงผึ้งโพรงไทย เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไป
- ขุดสระน้ำ เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเลี้ยงปลาเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน และจำหน่าย
- ปลูกพืชไร่ และพืชผักฤดูแล้ง เพื่อบริโภคและจำหน่าย เศษใบและต้นของพืชถูกไถกลบ เพื่อเป็นพืชปุ๋ยสด ปุ๋ยหมัก เป็นการนำเศษซากพืชหมุนเวียนกลับคืนสู่ดิน ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินพื้นคืนความอุดมสมบูรณ์มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชและยังช่วยลดต้นทุนการผลิต
- ปลูกปอเทืองหลังนา เมื่อออกดอกไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด ปอเทืองมีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม
- มีการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ ทางการเกษตรภายในแปลงมีโรงเรือนที่เหมาะสม มีการจัดการเป็นระบบ
- มีการกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยการใช้น้ำหมักชีวภาพ และใช้กับดักแมลงวันทองที่คิดค้นขึ้นมาเองจนประสบความสำเร็จ
- มีการจัดการเรื่องการเลี้ยงเป็ด ไก่ การเลี้ยงสัตว์น้ำ และแปลงพืชอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และถูกสุขลักษณะ ไม่มีเสียง และกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียง
ผู้สนใจศึกษาดูงานสวนลุงใจ ติดต่อได้ที่บ้านเลขที่ 224 หมู่ที่ 2 ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โทรศัพท์ 08 3537 1313