นายนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้กำหนดให้โครงการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ เป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาบุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งมีทั้ง Coach นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2561 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรของรัฐให้เป็น Smart officer ประกอบกับในปี 2561 อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (นายสมชาย ชาญณรงค์กุล)ให้ขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมการเกษตรอย่างเข้มข้นด้วย

นายนเรศ ฝีปากเพราะ
นายนเรศ ฝีปากเพราะ

สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ ประจำปี 2561 เพื่อสร้างและพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร โดยได้กำหนดเนื้อหาโครงการฯ ดังนี้ 1.ปรับกระบวนทัศน์เชิงบวก 2.หลักการและกระบวนการทำงานส่งเสริมการเกษตร 3.แนวคิดและเครื่องมือการทำงานกับชุมชน 4.การคิดเชิงระบบ และการวิเคราะห์-สังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 5.การวางแผนและการจัดเวทีชุมชน 6.การทำงานเป็นทีม และ 7.การถอดองค์ความรู้และการสรุปบทเรียน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 – 11 พฤษภาคม  2561  ที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดสัมมาเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ แก่นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จำนวน 65 คน ณ โรงแรมฮอลิเดย์ การ์เดน เชียงใหม่
และมีการฝึกปฏิบัติการจัดเวทีชุมชน ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลร้องวัวแดง
อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่  ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลขัวมุง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างและพัฒนานักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อพัฒนาการทำงานด้านการส่งเสริมการเกษตร มุ่งสู่การเป็น Smart officer และนำความรู้ทักษะที่ได้รับไปพัฒนาให้แก่เกษตรกร สู่การเป็น Smart farmer โดยมีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจากสำนักงานเกษตรอำเภอและสำนักงานเกษตรจังหวัดเข้าร่วม

กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ
กิจกรรมเสริมสร้างทักษะ

“โครงการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรรุ่นใหม่ เน้นการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงงาน (Learning by Doing)  โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มีเนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการ และสามารถออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ส่งต่อประสบการณ์แบบ “พี่สอนน้อง” (Coaching) เพื่อทำให้เกิดทีมงานที่เข้มแข็งส่งต่อองค์ความรู้จากผู้มีประสบการณ์ไปสู่บุคลากรรุ่นใหม่ให้เร็วที่สุด ส่งผลให้นักส่งเสริมการเกษตรเป็นที่ยอมรับ และสามารถปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรให้บังเกิดผลและนำไปสู่การเป็น Smart Officer ได้” นายนเรศ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 กรมส่งเสริมการเกษตร ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานเพื่อร่วมขับเคลื่อนนโยบาย SmartAgriculture Curve ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งเป็นปีแห่งการพัฒนาคน ยกระดับการบริหารจัดการในภาคการเกษตรทั้งในส่วนของบุคลากรและเกษตรกรโดยจะต้องพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรให้มีคุณลักษณะของการเป็น Smart Officer สามารถขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตรให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างระบบการทำงานที่ชัดเจน พัฒนาเครื่องมือในการปฏิบัติงานและองค์ความรู้ของนักส่งเสริมการเกษตรให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง พร้อมต่อการทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการเกษตรของประเทศ โดยให้สอดรับการก้าวไปสู่ Smart  Agriculture ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสามารถสร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับเกษตรได้อย่างแท้จริง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated