สสก.8 สุราษฎร์ธานี ชู ศพก.ต.ตลิ่งชัน อ.ท่าศาลา
สสก.8 สุราษฎร์ธานี ชู ศพก.ต.ตลิ่งชัน อ.ท่าศาลา "ต้นแบบแหล่งผลิตทุเรียนนอกฤดู"

นายธาร นวลนึก ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การเชื่อมโยงการดำเนินงานเครือข่ายแปลงใหญ่และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก) ระดับเขต ปี 2561 เป็นแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการเชื่อมโยงการทำงานเครือข่ายด้านการผลิต การตลาด และพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ด้านต่างๆ ในระดับเขต ทำให้เกษตรกรมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ในการบริหารจัดการองค์กร การจัดการอาชีพได้ดีขึ้น ส่งผลให้มีการพึ่งพาตนเองได้ในระดับหนึ่ง

สสก.8 สุราษฎร์ธานี ชู ศพก.ต.ตลิ่งชัน อ.ท่าศาลา ต้นแบบ แหล่งผลิตทุเรียนนอกฤดูดังตัวอย่าง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีนายพงศ์พัฒน์ เทพทอง หรือเป็นที่รู้จักในนามผู้ใหญ่นุ้ยเป็นเจ้าของศูนย์ ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตทุเรียนนอกฤดูให้กับเกษตรกรในพื้นที่ 1,445 ครัวเรือน พื้นที่เป้าหมาย 1,100 ไร่ โดยการผลิตทุเรียนนอกฤดูของ นายพงศ์พัฒน์ เทพทอง เริ่มต้นจากการเรียนรู้และลงมือทำด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ และสามารถถ่ายทอดให้กับผู้ใจเข้ามาเรียนรู้ได้ ซึ่งองค์ความรู้ด้านการผลิตทุเรียนนอกฤดูของนายพงศ์พัฒน์ เทพทอง เริ่มตั้งแต่การปลูกต้นตอทุเรียนบ้าน เวลา 6 เดือน แล้วค่อยนำกิ่งกระโดงที่สมบูรณ์ของหมอนทองในแปลงต้นแม่ที่ปลูกไว้ 10 ไร่ มาทาบกิ่ง ขยายพันธุ์จนเต็มพื้นที่ 30 ไร่ ข้อดีของต้นตอทุเรียนบ้าน คือจะมีระบบรากที่แข็งแรง ลำต้นไม่ช้ำ และทำให้ทุเรียนโตเร็ว ช่วง 15-20 วัน ต้องพลางแสงและปลูกพืชผักสวนครัวและแตงโมแซมเพื่อสร้างรายได้เสริมในแต่ละวัน ทำให้มีรายได้ต่อเนื่อง

สสก.8 สุราษฎร์ธานี ชู ศพก.ต.ตลิ่งชัน อ.ท่าศาลา "ต้นแบบแหล่งผลิตทุเรียนนอกฤดู"เทคโนโลยีเด่นที่ตอบโจทย์การเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพ เพิ่มมูลค่าในการผลิตทุเรียนนอกฤดูอีกด้านหนึ่งคือ การทำน้ำหมักชีวภาพ สูตรผลไม้ (ส้ม สับปะรด ลองกอง มังคุด ฯลฯ) เพื่อเป็นฮอร์โมนในการเร่งผลผลิต การติดดอก ติดผล และเน้นการบำรุงใบให้สมบูรณ์ เตรียมความพร้อมของลำต้น นอกจากนี้ ยังมีการทำน้ำหมักชีวภาพ สูตรป้องกันและกำจัดแมลง (จากใบยาสูบ ยาเส้น ) เพื่อเป็นยาปราบศัตรูพืช เนื่องจาก ทุเรียนหมอนทองอ่อนแอ ต้องดูแลตลอด เพื่อเป็นการป้องกันให้ทันต่อเหตุการณ์และเวลา ต้องใช้ทั้งเคมีและอินทรีย์มาผสมผสานกัน เพิ่มความสมบูรณ์ และเน้นการติดตั้งเจาะระบบน้ำบาดาล เนื่องจากต้องการลดความเป็นกรด-ด่างในดินให้เหมาะสมคือ pH 6 – 7 ทั้งนี้ทุเรียนจะมีความพร้อมในการออกผล ที่อายุ 5 ปี ซึ่งผลที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีคือ ช่วยให้ลำต้น ราก ใบ ทรงพุ่ม มีความพร้อมสมบูรณ์ จนถึงอายุ 5 ปี ในการทำนอกฤดู สามารถ ลดต้นทุนการผลิตจากการลดใช้สารเคมี ในขณะที่ผลผลิตทุเรียนก็มีคุณภาพ มีมาตรฐาน GAP มีตลาดรองรับผลผลิตแน่นอน เนื่องจากผลผลิตได้มาตรฐาน ตรงตามตลาดต้องการ โดยเฉพาะตลาดส่งออก

สสก.8 สุราษฎร์ธานี ชู ศพก.ต.ตลิ่งชัน อ.ท่าศาลา ต้นแบบ แหล่งผลิตทุเรียนนอกฤดูด้าน นางมยุเรศ ทองสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สสก.8 สุราษฎร์ธานี กล่าวเสริมว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของ ศพก.ท่าศาลา เกิดจากความร่วมมือของเกษตรกรต้นแบบ เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ จังหวัด และภาคีเครือข่ายที่ให้ความสำคัญ ส่งเสริม สนับสนุน และเป็นศูนย์กลางของตำบล อำเภอ จังหวัด เขตดำเนินการประชาสัมพันธ์ผลผลิต ทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้การทำกิจกรรมต่างๆ สำเร็จได้ด้วยดี ข้อตกลงที่ทำร่วมกันช่วยให้การซื้อ-ขาย การต่อรองไปในทิศทางเดียวกัน

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated