กรมส่งเสริมสหกรณ์เผยไทยนิยมยั่งยืนคืบหน้าแล้ว 80% พร้อมเชื่อมั่นเสริมแกร่งศักยภาพการผลิต แปรรูปการตลาดสหกรณ์ไทยสู่มาตรฐานสากลวางสมาชิกได้รับประโยชน์ 6 แสนราย พร้อมผลักดันขบวนการสหกรณ์ไทยสู่ความเข้มแข็ง ยั่งยืนระยะยาว
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการไทยนิยมยั่งยืนเป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างมากในการเสริมสร้างศักยภาพในการผลิตแปรรูปและการตลาดให้กับสมาชิกสหกรณ์และขบวนการสหกรณไทยให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืนเป็นอย่างมาก โดยมีสมาชิกสหกรณ์ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวถึง6.1แสนราย ทั้งนี้นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำชับให้ดูแลบริหารจัดการโครงการให้เกิดความโปร่งใส่ทุกขบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนั้น เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อสมาชิกสหกรณ์มากที่สุดที่ผ่านมากรมได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจและติดตามนโยบายไทยนิยมยั่งยืนโดยมีรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นประธานในการติดตามความก้าวหน้าอย่างใกล้ชิด มีคณะทำงานกำกับติดตามงานในระดับจังหวัดที่มีผู้ตรวจราชการกรมฯทำหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ มีคณะทำงานประกอบด้วยสหกรณ์จังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาธุรกิจ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหารจัดการและตัวแทนภาคประชาชนในจังหวัดเข้าร่วมเพื่อติดตามและกำกับให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความโปร่งใสภายใต้“ความถูกต้อง เป็นธรรม ได้ประโยชน์” ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างอุปกรณ์การตลาดและเครื่องมือแปรรูปผลผลิตการเกษตร กำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 61 เพื่อรองรับฤดูกาลผลิตทันในต้นปี 62 เป็นต้นไป
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการไทยนิยมภายใต้การดำเนินงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ด้วยว่า ขณะนี้ทุกโครงการคืบหน้าไปแล้วกว่า 80% อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถึงความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการไทยนิยมยั่งยืนล่าสุดด้วยว่า เดินหน้าสำเร็จไปแล้วกว่า 80% โดยในส่วนของโครงการพัฒนาสถาบันเกษตรกรจัดเก็บพืชผลทางการเกษตร (แก้มลิง) ได้มีการจัดหาผู้รับจ้างในเดือนสิงหาคม 61 แล้วจำนวน 39 จังหวัด 132 สหกรณ์ 233 รายการ คิดเป็น 87 % และได้มีการยกเลิกรายการ14 จังหวัด 21 สหกรณ์34 รายการ คิดเป็น 12% ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณระหว่างเดือนเม.ย.61-ส.ค.61ดำเนินการเบิกจ่ายแล้ว 233 รายการคิดเป็นงบประมาณ 818,566,633 บาทคงเหลือเหลือจ่าย 39,721,267 บาท นอกจากนี้ยังอยู่อยู่ระหว่างดำเนินการ 34 รายการ คิดเป็นงบประมาณเหลือ 159,629,300 บาท ทั้งนี้งบประมาณเหลือจ่ายและงบประมาณรายการยกเลิก อยู่ระหว่างพิจารณาจากสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรรายการทดแทน
ส่วนความคืบหน้าโครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเม.ย.61 – ส.ค.61ได้ผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้วเช่นกันและมีการเบิกจ่ายแล้ว 224 รายการเป็นเงิน 331 ล้านบาท ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ก.ย.61 โดยเป็นการจัดฝึกอบรม 2 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของสหกรณ์เป้าหมาย 291 คน ส่วนโครงการที่2เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เพิ่มการประสิทธิภาพการผลิตนม” โดยมีเป้าหมาย 100 คน
ในขณะความก้าวหน้าโครงการเพิ่มศักยภาพการรวบรวมและการแปรรูปยางพาราในสถาบันเกษตรกร ได้มีการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วใน23 จังหวัด 57 สหกรณ์133 รายการหรือคิดเป็น 89.26% มีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้ว 132 รายการ คิดเป็นงบประมาณ264 ล้านบาท และจะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้วเสร็จ ภายใน ก.ย.61เช่นเดียวกัน โดยเป็นการจัดฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพของ แปรรูปยางพาราเพื่อเพิ่ม มูลค่าในสถาบันเกษตรกรโดยมีเป้าหมาย 115 คน
ในขณะโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรพื้นที่ที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จากผลดำเนินงานมีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้ว 13.7 ล้าบาทคิดเป็น 61 % และได้มีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแล้ว10,229 ราย ใน 36 จังหวัด 46 พื้นที่ คิดเป็น 79.23% ของเป้าหมาย และได้มีการการสนับสนุนงบประมาณเงินอุดหนุนการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ โรงเรือนแปรรูป ปรับปรุงอาคารและโกดังดำเนินการหาผู้รับจ้างได้แล้ว 5 แห่ง คิดเป็น 62.50% ของเป้าหมาย 8 แห่ง
ทั้งนี้ สำหรับโครงการจัดเก็บพืชผลทางการเกษตรหรือโครงการแก้มลิงวงเงิน 1,017 ล้านบาทให้สหกรณ์ 146 แห่ง สร้างฉางโกดัง ลานตาก เพื่อเก็บชะลอผลผลิตข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังเพิ่มขึ้น 715,000 ตัน เกษตรกรได้รับประโยชน์ 250,000 ราย มีรายได้เพิ่มขึ้นตันละ 200 – 500 บาท 2.โครงการรวบรวมและแปรรูปยางพารา วงเงิน 340 ล้านบาท ให้สหกรณ์ 62 แห่งเก็บชะลอและแปรรูปผลผลิตยางพารา 150,000 ตัน เกษตรกรได้รับประโยชน์ 42,000 ราย มีรายได้เพิ่มขึ้น รายละ 1,190 บาท 3.โครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร วงเงิน 410 ล้านบาท ให้สหกรณ์ 99 แห่ง สร้างโรงสีข้าว ห้องเย็น เครื่องชั่ง เครื่องคัดเกรด อาคารแปรรูปให้กับสินค้าเกษตร 9 ชนิด ได้แก่ ข้าว ผัก/ผลไม้ สมุนไพร ปาล์มน้ำมัน กาแฟ โคนม ประมง ปศุสัตว์และมันสำปะหลัง จำนวน 56,000 ตัน เกษตรกรได้รับประโยชน์ 300,000 ราย ช่วยเพิ่มปริมาณธุรกิจสหกรณ์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 3% และ4.โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรวงเงิน 22 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับชาวบ้านที่ได้รับการจัดสรรที่ดินไม่น้อยกว่า 10,320 ราย ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดสมาชิกสหกรณ์จะได้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวถึง 6.1แสนราย