นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ เร่งสำรวจพื้นที่และความต้องการของเกษตรกรที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา ในพื้นที่ 33 จังหวัด พื้นที่ 2.8 ล้านไร่ ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รวม 5 ทหารเสือ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกข้าวและปรับสมดุลการปลูกพืชให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ประกอบกับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่จะมีปริมาณลดลง ดังนั้น จึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้เกษตรกรในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมสมัครเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ และจะเริ่มดำเนินการเพาะปลูกได้ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป

กรมส่งเสริมการเกษตรผนึกกำลัง 5 เสือ...ลุยเร่งสร้างการรับรู้ปลูกข้าวโพดหลังนา 33 จังหวัด

ทั้งนี้ จากผลการสำรวจความต้องการเบื้องต้นของเกษตรกรและการบันทึกข้อมูลในระบบของกรมส่งเสริมการเกษตร ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2561 พบว่า ขณะนี้มีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 8 หมื่นราย พื้นที่เป้าหมายซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาทั้งในเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทานกว่า 7.5 แสนไร่ โดยมีพื้นที่ 9 จังหวัดที่เกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการมากที่สุด ดังนี้ 1. อุบลราชธานี 2. เพชรบูรณ์  3. ศรีสะเกษ 4.อุตรดิตถ์ 5. อุทัยธานี 6. หนองบัวลำภู 7. สุโขทัย 8. สกลนคร และ 9. หนองคาย โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานีและเพชรบูรณ์ เกษตรกรตอบรับเข้าร่วมโครงการพื้นที่กว่า 1 แสนไร่ นอกจากนี้ ยังได้ระดมสรรพกำลังเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอและเกษตรกรผู้นำทั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ เร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรเกี่ยวกับโครงการและมาตรการจากภาครัฐ เพื่อช่วยสร้างการรับรู้และถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาตามหลักวิชาการที่ถูกต้องอย่างเต็มที่

กรมส่งเสริมการเกษตรผนึกกำลัง 5 เสือ...ลุยเร่งสร้างการรับรู้ปลูกข้าวโพดหลังนา 33 จังหวัดสำหรับการดำเนินการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาในปีที่ผ่านมา อาจมีอุปสรรคบ้างเกี่ยวกับจุดจำหน่ายและการรับซื้อผลผลิต แต่ปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ปรับระบบใหม่เพื่อลดปัญหาความเสี่ยง และดูแลเกษตรกรให้มากที่สุดทั้งการถ่ายทอดความรู้ ระบบประกันภัย การให้สินเชื่อ และจัดหาตลาด โดยการนำสหกรณ์การเกษตรและสถาบันเกษตรกรมากำหนดจุดรับซื้อเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในการขาย และได้ประสานกับภาคเอกชนในการวางระบบการรับซื้อก่อนเริ่มโครงการ โดยซื้อขายกับผู้ประกอบการที่มีความพร้อมทุกราย จึงขอให้เกษตรกรเชื่อมั่นและวางใจว่าเมื่อปลูกข้าวโพดแล้วไม่มีปัญหาด้านราคาอย่างแน่นอน พร้อมทั้งกำชับให้ผู้บริหารทุกหน่วยงานลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการโครงการอย่างใกล้ชิด ตลอดจนบูรณาการการทำงานในพื้นที่ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์ ไปพร้อมกัน ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีที่ได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม แม้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกข้าวของเกษตรกรจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ทุกหน่วยงานก็ได้พยายามกันสุดกำลัง เพื่อรองรับกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงทั้งสภาพแวดล้อม ปริมาณน้ำ และความต้องการของตลาด

กรมส่งเสริมการเกษตรผนึกกำลัง 5 เสือ...ลุยเร่งสร้างการรับรู้ปลูกข้าวโพดหลังนา 33 จังหวัด

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated