กรมส่งเสริมการเกษตร ใช้งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการเกษตร ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร รักษาราชการอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร ซึ่งมีศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (ศูนย์ปฏิบัติการ) เป็นหน่วยงานส่วนกลางของภูมิภาคที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวน 50 ศูนย์ทั่วประเทศ ประกอบด้วย ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร (ศูนย์เฉพาะด้าน) จำนวน 14 ศูนย์ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (ศูนย์สหวิชา) จำนวน 26 ศูนย์ และศูนย์ขยายพันธุ์พืช จำนวน 10 ศูนย์ เพิ่มเติมจากสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ ในการให้ข้อมูลด้านการเกษตรแก่เกษตรกร โดยบทบาทหนึ่งที่สำคัญของหน่วยงานที่ตั้งในภูมิภาค คือ การทำงานเชิงวิชาการศึกษา ทดสอบ และขยายผลโดยให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพและเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของเกษตรกร

ศูนย์ตรัง
เกษตรกรรุ่นใหม่ ศึกษาดูงานศูนย์ตรัง

กรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ความสำคัญดังกล่าวจึงเตรียมจัดฝึกอบรมภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพด้านการวิจัยของศูนย์ปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของศูนย์ปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจ แนวคิด หลักการ และวิธีการวิจัย เพื่อสนับสนุนงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ เกิดเครือข่ายนักวิจัย และตอบสนองบทบาทภารกิจของหน่วยงาน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์คือ ศูนย์ปฏิบัติการมีเทคโนโลยี นวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เหมาะสม และตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรและพื้นที่ ประกอบกับเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการและพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรแก่เจ้าหน้าที่ เกษตรกร และผู้ที่สนใจ ตลอดจนเกิดบุคลากรที่ทำงานวิจัยในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปลูกผัก ศสพ.มส. (เกษตรที่สูง)
การปลูกผัก ศสพ.มส. (เกษตรที่สูง)

สำหรับการฝึกอบรมดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง กรกฎาคม 2562 โดยมีบุคลากรของศูนย์ปฏิบัติการทั้ง 50 ศูนย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการฝึกอบรมในครั้งนี้ การอบรมประกอบด้วยการบรรยายและการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยรายละเอียดในหลักสูตรประกอบด้วยหัวข้อต่างๆ เช่น การหาโจทย์วิจัยที่ตอบสนองต่อเกษตรกรในพื้นที่ การออกแบบงานวิจัย เขียนโครงร่างวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง การนำเสนอผลการวิจัย ตลอดจนเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัยให้ถูกต้องและได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อนำไปสู่การศึกษา วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนารูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้ เพื่อปรับระบบการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และการสร้างนวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรและพื้นที่ เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสินค้าเกษตร การพัฒนาให้บุคลากรสามารถทำงานวิจัยในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน ตาม

กรมส่งเสริมการเกษตรผลักดันงานวิจัย สนองความต้องการเกษตรกร

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated