หมึกสดย่าง ไข่หมึกย่าง หมึกแดดเดียว น้ำจิ้มพริกเกลือ (น้ำจิ้มซีฟู๊ด)

Facebook Fan Page: หมาขายหมึก

คุณวิธาร ไชโย หนุ่มจันทบุรี วัย 28 ปี จากอาชีพสัมปทานปลาหมึกสดจากเรือรุ่งตะวันของคุณพ่อ นำมาแปรรูปเป็น “หมึกสดย่าง” “ไข่หมึกสดย่างใบตอง” “หมึกแดดเดียว” และ “น้ำจิ้มพริกเกลือ หรือน้ำจิ้มซีฟู๊ดสไตล์ภาคตะวันออก

ด้วยเอกลักษณ์ของหมึกสดย่าง ที่ใช้เทคนิคการย่างทั้งตัว และใช้กรรไกรตัดเป็นชิ้นพอดีคำ ส่วนไข่หมึกสดใช้วิธีการย่างแบบโบราณเอาใบตองมารองและด้วยวัตถุดิบที่มาสด ๆ จากเรือ ไม่ผ่านการแช่น้ำยาใด ๆ ใช้เทคนิคชาวเลล้างทำความสะอาดหมึกสดด้วยน้ำเค็มทำให้หมึกสดคงรสชาติ ผนวกกับเทคนิคการย่างด้วยเตาถ่าน แบบใส่ใจตัวต่อตัว ทำให้สินค้าเป็นที่ถูกอกถูกใจของคอปลาหมึกย่าง

จากพนักงานบริษัทในกรุงเทพฯ ก่อนตัดสินใจกลับบ้านที่ จ.จันทบุรีโดยเปิดร้านริมทางย่างปลาหมึกสดขายในแหล่งท่องเที่ยวหาดเจ้าหลาว ช่วงว่างเว้นการย่างหมึกก็เล่นเฟสบุ๊คตามประสาวัยรุ่น จนวันหนึ่ง ทีมดีแทคเน็ตอาสา จากดีแทค ลงพื้นที่ จ.จันทบุรี สำรวจจุดให้บริการเน็ตประชารัฐ เพื่อส่งเสริมชาวบ้านในพื้นที่เรียนรู้และใช้เทคโนโลยี 4.0 กัน จนได้มาพบกับร้าน “หมาขายหมึก” ซึ่ง “หมา หรือคุณไชโย” เคยใช้แต่การโพสต์สินค้าผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ทีมดีแทคเน็ตอาสาจึงแนะนำให้เปิดเฟสบุ๊คแฟนเพจในชื่อ “หมาขายหมึก” พร้อมกับถ่ายทำคลิปสัมภาษณ์บรรยากาศของร้าน และการย่างหมึกสด

เมื่อคลิปมีการลงในสื่อออนไลน์ เกิดกระแสการตอบรับ มีการกดไลค์ กดแชร์จาก 1 คน เป็นพันคนและแสนคนภายในเวลาเดือนกว่าๆ ครั้นเมื่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และดีป้า ไปจัดงาน Digital Thailand Big Bang 2018 ที่เซ็นทรัล จังหวัดระยอง เกิดกระแสการแชร์เพจ การกดไลค์เพิ่มขึ้นจนทะลุหลักแสน และหลังจากนั้นก็มีการแชร์ การส่งต่อไปจนกระทั่งมียอดวิวจากคลิปดังกล่าวถึง 1 ล้าน 4 แสนคน กลายเป็นปรากฏการณ์ “หมาขายหมึก” ที่ทำให้ผู้คนอยากรู้ อยากชิม อยากถ่ายรูปด้วย นอกจากนี้ บรรดาบล็อกเกอร์ นักชิม จากทั่วสารทิศก็แวะเวียนมาสัมภาษณ์ มาให้ป้าย รับรอง แนะนำจนทั้งร้านเต็มไปได้ด้วยเครื่องหมายรีวิว เครื่องหมายรับรองว่าเป็นร้านเด่น ร้านดัง ร้านดีส่อง 5 สุดยอดสินค้าชุมชนออนไลน์จากทั่วประเทศ “ดีมา Get ดี Market” สร้างสรรค์พลังชุมชน

หมา หรือคุณวิธาร บอกว่า “จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของชีวิต คือ การมีกุนซือ หรือกูรู อย่างทีมดีแทค เน็ตอาสา เข้ามาแนะนำ และโปรโมท ทำให้คนธรรมดากลายเป็นคนดังชั่วข้ามคืน จากหมาตัวน้อย กลายเป็นหมาล้านวิว จากหมาขายหมึกย่างเตาถ่านอยู่กับร้านเล็กๆ ใกล้วงเวียนปลาพะยูน หาดเจ้าหลาว จ.จันทบุรี โด่งดังไปทั่วประเทศ กลายเป็น “ต้นแบบของผู้ประกอบการรุ่นใหม่” ที่ใช้ 4.0 เป็นเครื่องมือในการเพิ่มยอดขาย และกระตุ้นให้ต้องพัฒนาสินค้า พัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพิ่มช่องทางการค้า เพราะ 4.0 ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น กลายเป็นอาเสี่ยน้อยปูไข่ดอง คลองขลุง ไข่ปูในกระดองแน่น ราดน้ำจิ้มพริกเกลือ จี๊ดถึงขั้วสมอง

ปูไข่ดอง คลองขลุง ไข่ปูในกระดองแน่น ราดน้ำจิ้มพริกเกลือ จี๊ดถึงขั้วสมอง

Facebook Fan Page: ปูไข่ดองคลองขลุง

คุณแหม่ม หรือนางสาวเพ็ญพรรณ พงษ์ศิริ ชาวบ้าน อ.ขลุง จ.จันทุบรีแหล่งปูทะเลขึ้นชื่อของอ่าวตะวันออก เห็นโอกาสของการค้าออนไลน์ จึงคิดทำสินค้า “ปูดอง” ออกมา เพื่อทดลองตลาด โดยระยะแรกทดลองปูเนื้อดอง ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จนัก เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด ทันใดนั้น เธอจึงปิ๊งไอเดีย “ปูไข่ดอง” เรียกได้ว่าขายดีเป็นเทน้ำเทท่า “สำเร็จ-สมหวัง” ทำ 10 กล่อง หมด 10 กล่อง ทำ 100 หมด 100 ทำ 1,000 หมดไม่เหลือ

จุดเปลี่ยนของธุรกิจ คือ เพื่อนของคุณแหม่ม แนะนำให้รู้จักทีมดีแทคเน็ตอาสา เลยได้มีโอกาสติดตามการทำงาน ขอทำปรึกษาแนวทางการตลาดออนไลน์ จนวันหนึ่งคิดว่าการทำการตลาดแบบออนไลน์ธรรมดา ๆ ไม่พอ ต่อให้เปิดเฟสบุ๊คแฟนเพจมันก็ยังไม่สุดซอย เลยขอให้ทีมดีแทคเน็ตอาสาช่วยสนับสนุนองค์ความรู้ในด้านการใช้ 4.0 เพื่อยกระดับสู่ปูดองหลักล้าน หวังขยายการตลาดจากปูภูธร สู่ปูเมืองกรุง ซึ่งเป็นตลาดใหญ่สำคัญ

การตัดสินใจปรับกลยุทธ์การตลาด โดยเข้าร่วมโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น ภายใต้ MOU ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ และดีแทค ไม่เพียงทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างกระฉูด แต่ยังทำให้เกิดการขยายตัวของผู้ร่วมธุรกิจ หรือตัวแทนจำหน่ายไปทั่วประเทศ ในแต่ละวันมีผู้สนใจสอบถามเรื่องสินค้า และสอบถามการเป็นตัวแทนจำหน่าย

จากจุดเริ่มต้นที่คิดว่าออนไลน์ คือ B2C หวังเพียงการเชื่อมต่อกับคนซื้อผู้บริโภค แต่เมื่อทีมดีแทคเน็ตอาสาเข้ามาแนะนำ และโปรโมทสินค้า ทำให้เกิด B2B ส่งผลต่อการเติบโตในด้านการตลาดอย่างทันที ทำให้ปูไข่ดองคลองขลุง กลายเป็นต้นแบบ เป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คิดทำการค้าออนไลน์ทั่วประเทศ

แน่นอนว่า เมื่อสินค้าได้รับการตอบรับจากนักชิม รายการทีวีต่าง ๆ ก็ตามมาสัมภาษณ์ เช่น ครัวคุณต๋อย ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องเร่งพัฒนาปรับตัวในทุกรูปแบบ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาดการค้าออนไลน์ พร้อมกับการกระจายรายได้ กระจายการสร้างงาน สร้างธุรกิจไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย

เมื่อธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดภายใน 2 เดือนจากการปรับกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่สอดคล้องกับการสนับสนุนของภาครัฐ เป็นภาระหนักที่คุณแหม่ม ต้องบริหารจัดการให้ธุรกิจมีวัตถุดิบที่ต่อเนื่อง คุณภาพไม่ลดลง ทั้งยังยกมาตรฐานกระบวนการผลิตและกระบวนการบรรจุภัณฑ์ให้สูงขึ้น เพื่อให้สินค้าได้คุณภาพเหนือคู่แข่ง ยืนราคาจำหน่ายตามขนาดตั้งแต่ 350 – 1,200 บาท เป็นผู้นำปูไข่ดองพรีเมียมแถวหน้าของประเทศ และสามารถขยายสู่การส่งออกไปยังต่างประเทศ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ด้วยภาพลักษณ์ของปูไข่ดองพรีเมียม ตัวใหญ่ ไข่แน่น ดองด้วยน้ำปลาสูตรพิเศษ สดจากแหล่งผลิต สะอาดด้วยกระบวนการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน คงรสชาติเต็มความคาดหวังของนักชิมออนไลน์ปูไข่ดอง คลองขลุง ไข่ปูในกระดองแน่น ราดน้ำจิ้มพริกเกลือ จี๊ดถึงขั้วสมอง

พิชญา ขนมเปี๊ยะกลายพันธุ์ จากปัญหาของคนกิน กลายเป็นคำตอบคนขาย

Facebook Fan Page: ของฝากขอนแก่น ขนมเปี๊ยะพิชญา

จังหวัดขอนแก่น ศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญของภาคอีสาน มีชื่อเสียงโด่งดังในด้าน “ไก่ย่าง” และสินค้าแปรรูป อย่างกุนเชียง หมูหยองมาเป็นเวลานาน คุณพิช หรือนางสาวพิชญา ฉิมอิ่ม เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดขอนแก่นแล้ว คิดว่าการค้าออนไลน์จะมีบทบาทสำคัญ จึงมองหาโอกาสในการทำธุรกิจ และเข้าอบรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าสำนักงานพัฒนาการจังหวัด สสว. ศูนย์เทคโนโลยีด้านอาหาร ของมหาวิทยาขอนแก่น จนได้แนวทางว่าจะต้องมองหาปัญหาของลูกค้า (Pain Point) มาออกแบบสินค้า

ด้วยใจที่ชอบรับประทานขนมเปี๊ยะ และเจอกับปัญหาการติดฟัน เวลารับประทาน โดยเฉพาะผู้หญิงมักจะต้องเติมลิปสติกทุกครั้งหลังเอาขนมเปี๊ยะเข้าปาก จึงทดลองทำขนมเปี๊ยะสดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ปรากฏว่าเริ่มเห็นเค้าลางความสำเร็จ

แต่ปัญหาตามมา คือ ความไม่แน่นอนของเนื้อขนมที่อ่อนเกินไป แข็งเกินไป แถมเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน สุดท้าย ก็ต้องนำไปสู่การอบแห้ง เพื่อให้เก็บได้นาน แล้วก็วนไปสู่ขนมเปี๊ยะที่ติดฟันติดปากเหมือนเดิม

คุณพิช จึงตัดสินใจกลับเข้าไปในสถาบันการศึกษา ขอคำปรึกษาคณะเทคโนโลยีทางอาหาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น รอบนี้ทุกอย่างนิ่ง ใช้หลักวิชาการทุกอย่าง ปรากฏว่าความสำเร็จก็บังเกิดขึ้น

ขั้นตอนต่อไป คือ มีสินค้าแล้ว ต้องลองตลาด เริ่มกำหนดกลยุทธ์การตลาด กำหนดให้สินค้าที่ผลิตออกมาเป็น สินค้าสุขภาพ สินค้าคุณภาพ และสินค้าทรงคุณค่า ปรากฏว่ามีข้อจำกัดขาย และขายได้เฉพาะในพื้นที่ เนื่องจากไปตั้งชื่อ “ขนมเปี๊ยะสด ของฝากขอนแก่น”

วันหนึ่งได้เข้าอบรมการค้าออนไลน์กับทีมดีแทคเน็ตอาสา ได้ไอเดียในการทำการค้าออนไลน์ ทำให้ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพในการผลิต การออกแบบแพคเกจ การสร้างแบรนด์ และการโปรโมทสินค้า โดยขอคำปรึกษาทีมเน็ตอาสาอย่างต่อเนื่อง

จนกระทั่ง สามารถปรับปรุงกระบวนการทุกอย่างให้พร้อมสู้ในตลาดออนไลน์ เริ่มทำการตลาดตามแนวทางที่ได้รับคำแนะนำ ผลที่ตามมา คือ สินค้าเป็นรู้จัก หน่วยงานต่าง  ๆ สั่งซื้อสินค้า นำสินค้าไปออกบูธทั่วประเทศ เชิญไปอบรม บางครั้งต้องไปเป็นวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่น สินค้าสามารถวางขายใน TOPS Super Market และร้านกาแฟอเมซอน ในปั๊ม ปตท. ที่สำคัญมีลูกค้าสั่งทางออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนั้นใช้เวลาเพียง 3 เดือนในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจผู้ประกอบการในชุมชนท้องถิ่น ได้มีโอกาสแนะนำตัวในงาน Digital Thailand Big Bang ที่เซ็นทรัลขอนแก่น หลังจากนั้น ทุกอย่างขยายตัว ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดข้าวเหนียวหน้าควายลุย สูตรผู้ใหญ่เกิ้งสรรคบุรี

ข้าวเหนียวหน้าควายลุย สูตรผู้ใหญ่เกิ้งสรรคบุรี

Facebook Fan Page: ข้าวเหนียวหน้าควายลุย บ้านท่าสำโรง ชัยนาท

ในอดีตเมื่อเอ่ยถึงจังหวัดชัยนาท ทุกคนจะรู้จักในฐานะเมืองหุ่นฟางนก ส้มโอขาวแตงกวา และวัดปากคลองมะขามเฒ่า ไม่ค่อยมีใครรู้จักเมืองสรรคบุรี ไม่เคยปรากฏชื่อบ้านท่าสำโรง อำเภอสรรคบุรีในฐานะแหล่งท่องเที่ยว หรืออาหารขึ้นชื่อ และนั่น จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ บ้านท่าสำโรง กลายเป็นจุดติดตั้งเน็ตประชารัฐ

พลันเมื่อทีมดีแทคเน็ตอาสา ลงพื้นที่สำรวจอำเภอสรรคบุรี พบกับศาลาประชาคมกองทุนหมู่บ้าน (SML) บ้านท่าสำโรง มีการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ และกลุ่มแม่บ้าน เพื่อเรียนรู้อาชีพเสริม

ทีมดีแทคเน็ตอาสา จึงได้ถือโอกาสที่มีคน และมีจุดบริการเน็ตประชารัฐ กำหนดให้ “บ้านท่าสำโรง” เป็นพื้นที่ทำกิจกรรม “ชุมชน 4.0” โดยเริ่มกระบวนการอบรมการใช้งาน 4.0 ให้กับคนในชุมชน อบรมวิทยากรแกนนำ จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลบ้านท่าสำโรงขึ้นมา เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ

ในวันเปิดศูนย์ ได้จัดให้มีการนำสินค้าในชุมชนมาจัดแสดงและวางขาย พร้อมกับมีการโปรโมทผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งหนึ่งในรายการสินค้าที่นำออกมาจัดแสดง คือ “ข้าวเหนียวหน้าควายลุย” ด้วยความที่ชื่อแปลก คนในพื้นที่เคยรู้จัก และอยากรับประทาน ทำให้มีการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เกิดกระแสอยากรู้จักขนมพื้นเมืองชนิดนี้ ประกอบกับการที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้คัดเลือก “ข้าวเหนียวหน้าควายลุย” ไปจัดเลี้ยงในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ที่ไปรษณีย์กลางบางรัก โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มาเป็นประธาน ทำให้กระแสของข้าวเหนียวหน้าควายลุย ยิ่งโด่งดังเพิ่มขึ้นในสื่อมวลชน

ด้วยการสร้างการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์ และสื่อมวลชน ไม่เพียงสินค้าเกิดการรับรู้ในวงกว้าง ยังเกิดความต้องการจากหน่วยงานต่างๆ สั่งซื้อข้าวเหนียวหน้าควายลุยไปจัดเลี้ยงในการประชุม อบรม สัมมนาต่าง ๆ กลายเป็นอาชีพใหม่ของคนในชุมชนที่รวมกลุ่มเป็น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านอินเตอร์

ความสำเร็จของการสร้างชื่อเสียงข้าวเหนียวหน้าควายลุย กับชื่อเสียงของผู้ใหญ่เกิ้ง ทำให้ชุมชนได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ จำนวนมาก มีผู้คนมาท่องเที่ยวในชุมชน เกิดธุรกิจโฮมสเตย์ ร้านอาหารในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากนักท่องเที่ยว และคนที่มาดูงานในชุมชนบ้านท่าสำโรง เฉพาะวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านอินเตอร์ และผู้ใหญ่เกิ้ง ได้รับเชิญจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้นำสินค้าในชุมชน และข้าวเหนียวหน้าควายลุยไปออกบูธจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับสมาชิกชุมชนตลอดเวลาส่อง 5 สุดยอดสินค้าชุมชนออนไลน์จากทั่วประเทศ “ดีมา Get ดี Market” สร้างสรรค์พลังชุมชน

ถั่งเช่า ภาคเหนือ ปะทะถั่งเช่าภาคอีสาน กลายเป็น เป็ดอบถั่งเช่า ภาคกลาง

Facebook Fan Page: เป็ดอบถั่งเช่า สิ่วเจียง

กระแสการดูแลสุขภาพด้วย “ถั่งเช่า” ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้เกิดธุรกิจการเพาะเลี้ยง “ถั่งเช่าสีทอง” แล้วนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแคปซูล ทั้งเครื่องดื่ม และเป็นชาถั่งเช่า

แน่นอนว่าการแข่งขันในธุรกิจถั่งเช่า มีทั้งธุรกิจขายตรง ธุรกิจออฟไลน์ และธุรกิจออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้ และใช้เป็นช่องทางในการเพิ่มโอกาสทางการค้า

ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงถั่งเช่า 3 ราย จากภาคเหนือ คือ บ้านเห็ดลมหนาว คุณสมโภชน์ ไรจิยานันท์ ได้เพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทอง ที่เพชรบูรณ์ ส่วนภาคอีสาน โจว ออร์แกนิก คุณวิรัช โนทิง มีการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทอง ที่ขอนแก่น และภาคกลาง คุณบุญเกียรติ วิศาล มีการเพาะเลี้ยงเห็ดถั่งเช่าสีทองที่ นครนายก แล้วมาเป็นวัตถุดิบในการอบเป็ดในนาม สิ่วเจียง โกศล ทั้ง 3 ราย ใช้พื้นที่ออนไลน์ในการทำการตลาด

เฉพาะรายภาคกลาง ได้ยกระดับการใช้ประโยชน์จากเห็ดถั่งเช่า ไปทำเป็นอาหาร เมนู “เป็ดอบถั่งเช่า” ก็เกิดขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกผู้ป่วย ที่รับประทานเนื้อเป็ดไม่ได้ ให้สามารถรับประทานเมนูเป็ดอบถั่งเช่านี้ได้

ผู้ประกอบการ “ถั่งเช่า” ทั้ง 3 ราย ได้ผ่านการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานของรัฐ ในด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม การส่ง SME ได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านการตลาดออนไลน์กับทีมดีแทคเน็ตอาสา โดยการสนับสนุนและความร่วมมือระหว่าง SME D BANK  สสว. และ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการใช้เห็ดถั่งเช่าดูแลสุขภาพ โดยไม่ต้องเสี่ยงกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศซึ่งอาจไม่ได้มาตรฐาน และมีราคาแพงกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ

ด้วยสรรพคุณของ “ถั่งเช่า” ในการบำรุงร่างกายทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด และช่องทางการค้าออนไลน์ตอบโจทย์ในการสร้างช่องทางการเข้าถึงสินค้าได้ทั่วประเทศ

 

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated