เรื่อง : ธนสิทธิ์ เกษตรก้าวไกล

ข่าว ปลูกมะระจีน/สุราษฎร์ธานี“เกษตรกรอยู่ที่ไหน เราอยู่ที่นั้น” วันนี้ทีมงาน “เกษตรก้าวไกล” เดินทางไกลสู่อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อมาพบกับ ปุ้ย หรือ บัณฑิตา ทัศนเจริญสุข เกษตรกรผู้ปลูกผักอยู่บ้านเลขที่ 981/1 หมู่ที่ 3 บ้านบางท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน ซึ่งใช้พื้นที่ในครอบครองจำนวน 4 ไร่ ปลูกมะระจีน จำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว…ว่ากันว่า ผลผลิดมะระจีนของสวนแห่งนี้ มีปริมาณที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดเลยทีเดียว  

ผู้มาเยี่ยมชม....(จากซ้าย) ลุงพร เกษตรก้าวไกล คุณป้ย-บัณฑิตา ทัศนเจริญสุข คุณสมพล ไทยบุญรอด ประธานสาขาพืชผัก ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอพุนพิน และคุณณัฐพงษ์ ศรีจันทร์โฉม พนักงานส่งเสริมของบริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด หรือ ศรแดง
ผู้มาเยี่ยมชม….(จากซ้าย) ลุงพร เกษตรก้าวไกล คุณปุ้ย-บัณฑิตา ทัศนเจริญสุข คุณสมพล ไทยบุญรอด ประธานสาขาพืชผัก ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอพุนพิน และคุณณัฐพงษ์ ศรีจันทร์โฉม พนักงานส่งเสริมของบริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด (ศรแดง)

คุณปุ้ย บอกว่า อาชีพการปลูกผักนั้นถือเป็นอาชีพหลักของครอบครัวที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นพ่อแม่ จนมาถึงรุ่นของตนเองที่ยังยึดอาชีพนี้อยู่ เพราะสามารถสร้างรายได้ให้อย่างน่าสนใจ จนไม่อยากไปทำอาชีพอื่น

“พื้นเพของครอบครัวนั้นเป็นคนจากจังหวัดราชบุรีพ่อและแม่ได้อพยพย้ายถิ่นทำกินมาอยู่ที่อำเภอพุนพิน จึงนำความรู้ดั่งเดิมเกี่ยวกับการปลูกผักติดตัวมาด้วย พอมาอยู่ที่นี่จึงยึดอาชีพการปลูกผักจำหน่ายมากันจนถึงทุกวันนี้” 

“ผักนั้นเป็นพืชอายุสั้น ปีหนึ่งสามารถปลูกได้รอบ และราคาที่จำหน่ายได้นั้นก็มีขึ้นมีลงตลอด ทำให้บางช่วงกำไรมาก บางช่วงกำไรน้อย หมุนเวียนกัน แต่เราก็มีรายได้ทั้งปี ในส่วนตัวเองมองเห็นว่าเป็นอาชีพที่ดีและสามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้อย่างมั่นคงด้วย” คุณปุ้ย กล่าว

“ตอนนี้ที่ปลูกและสร้างรายได้ให้ในแบบที่เรียกว่า ดีมาก คือ มะระจีน“

คุณปราณี จำนงพันธุ์ (ป้าแหวว) เพื่อนเกษตรผู้ปลูกผักบุ้งจีนมาทำหน้าที่ช่วยกันให้ข้อมูลด้วยวันนี้ (มะระจีนพันธุ์เขียวหยก 16 ที่อยู่ในมือป้าแหวว ยังโตไม่เต็มที่...วันที่ไปเยี่ยมชมผลิตยังออกไม่มากครับ)
คุณปราณี จำนงพันธุ์ (ป้าแหวว) เพื่อนเกษตรผู้ปลูกผักบุ้งจีนมาทำหน้าที่ช่วยกันให้ข้อมูลด้วยวันนี้ (มะระจีนพันธุ์เขียวหยก 16 ที่อยู่ในมือป้าแหวว ยังโตไม่เต็มที่…วันที่ไปเยี่ยมชมผลผลิตยังออกไม่มากครับ)

ด้วยเป็นเกษตรกรที่มีความชำนาญ และเรียนรู้เพื่อการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกษตรกรผู้นี้ถือเป็นมือหนึ่งด้านการปลูกมะระของพื้นที่แห่งนี้

“สิ่งสำคัญที่สุดเลยที่ส่งผลให้เราประสบความสำเร็จในการสร้างรายได้จากการปลูกมะระจำหน่ายคือ (เทคนิคที่ 1) การเลือกสายพันธุ์ที่ดี ซึ่งพันธุ์ที่เลือกปลูกตอนนี้คือ มะระจีนพันธุ์เขียวหยก 16 ของศรแดง”

มะระจีนพันธุ์เขียวหยก 16 นับเป็นสายพันธุ์ยอดนิยมของเกษตรกร โดยเป็นผลงานการวิจัยพัฒนาสายพันธุ์โดยบริษัท อีสท์เวสท์ซีด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชในนาม ศรแดง ซึ่งได้ใช้เวลาในการวิจัยพัฒนาถึง 8 ปีกว่าจะได้มะระจีนพันธุ์เขียวหยก 16 ออกมาเผยแพร่สู่เกษตรกรทั่วประเทศในวันนี้

“จุดเด่นของมะระสายพันธุ์นี้ คือ มีต้นแข็งแรงทนต่อโรคราน้ำค้าง และโรคราแป้งได้ดี ติดดกผลสม่ำเสมอ โดยผลมีความยาวใหญ่ มีขนาดไม่ต่ำกว่า  30-35 ซม. ทำให้ได้ผลผลตต่อไร่สูงมาก และที่สำคัญ คือ มีลายน้ำสวย เป็นที่ต้องการของตลาด” คุณปุ้ย กล่าว

“มะระที่สวยที่ดี และตลาดต้องการนั้น ตรงนี้สำคัญเลย ต้องมีลายน้ำสวย แบบพันธุ์เขียวหยก 16 นี่ตลาดชอบมาก มีเท่าไรพ่อค้าแม่ค้าต้องการหมด เรียกว่ามีเท่าไรก็ไม่พอขาย”

แปลงปลูกมะระจีน...
แปลงปลูกมะระจีน…

สำหรับการปลูกมะระจีนให้ผลผลิตที่ดีนั้น เกษตรกรเจ้าของสวนแห่งนี้ได้ให้ข้อแนะนำว่า (เทคนิคที่ 2) สิ่งสำคัญคือ ต้องทำให้ภายในร่องปลูกโปร่ง โดยจะปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.30-1.50 เมตร ระยะระหว่างแถวประมาณ 2 เมตร

“เมื่อต้นมะระทอดยอดขึ้นไปบนค้างแล้วจะไม่แน่นมากเกินไป การไม่ที่กิ่งไม่แน่น จะทำให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก ส่งผลให้มะระติดผลดก แต่ถ้าเป็นแปลงที่ปลูกแล้วแน่นมาก อากาศทึบจะพบเลยว่ามีโรคแมลงเข้าทำลายมาก ผลผลิตไม่ดี”

ปลูกบวบเหลี่ยมแซมด้วย
ปลูกบวบเหลี่ยมแซมด้วย

อีกหนึ่งความน่าสนใจที่เจ้าของสวนแห่งนี้ได้บอกกล่าวให้ทราบคือ (เทคนิคที่ 3) การปลูกผักแซมในร่องปลูกมะระ…

“อย่างที่นี่เราจะปลูกผักกวางตุ้งเสริมรายได้ในช่วงแรก โดยเมื่อเตรียมร่องปลูกเสร็จแล้ว จะนำเมล็ดผักกวางตุ้งมาหว่านลงในแปลง ซึ่งช่วงนี้จะเพาะต้นกล้ามะระไปพร้อม ๆ กัน หลังจากหว่านเมล็ดผักกวางตุ้งไปแล้วประมาณ 10 วันก็จะเอาต้นกล้ามะระที่เพาะไว้ลงปลูก จากนั้นก็ดูแลไปตามขั้นตอน “

“หลังจากนั้นประมาณ 1 เดือนก็จะเริ่มเก็บผักกวางตุ้งออกจำหน่าย ส่วนมะระจีนที่ปลูกไว้ก็จะเจริญเติบโตและเริ่มติดผลพอดี จะสามารถเก็บเกี่ยวได้อีกในระยะเวลาอีกประมาณ 10 – 12 วัน แต่สิ่งสำคัญที่ต้องทำในช่วงที่มะระติดผลคือ (เทคนิคที่ 4) การห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวสวย” คุณปุ้ย กล่าว

คุณปุ้ย บอกอีกว่า มะระจีนพันธุ์เขียวหยก 16 จะสามารถเก็บผลผลิตได้นานประมาณ 2 เดือน โดยช่วงที่ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักดี ต้องเป็นช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์

ในส่วนของโรคแมลงที่จะเข้าระบาดทำลายนั้น คุณปุ้ยบอกว่า (เทคนิคที่ 5) หากสามารถวางแผนป้องกันไว้ตั้งแต่ต้น จะช่วยลดปัญหาลงได้มาก เช่น การปลูกให้มีระยะห่างพอดี เพื่อลดปัญหาการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาด แต่หากพบว่ามีการระบาด เราจะเน้นใช้วิธีการรักษากำจัดแบบผสมผสาน ระหว่าง การใช้สารเคมีและสารชีวภาพต่าง ๆ

“ขอเพียงให้ตั้งใจ และดูแลให้เต็มที่ (เทคนิคที่ 6) อะไรไม่รู้ให้สอบถามจากคนที่รู้แล้วนำมาปรับใช้ อย่างที่นี่หากมีอะไรที่เราไม่รู้ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการปลูกมะระจีนหรือการปลูกผักอื่น ๆ ก็จะใช้วิธีการสอบถามขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของศรแดง ซึ่งจะเข้ามาติดตามข้อมูลการปลูกของเราอยู่อย่างต่อเนื่อง นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จ” คุณปุ้ย กล่าวในที่สุด

ต้องการศึกษาเรียนรู้เชิญได้
ต้องการศึกษาเรียนรู้เชิญได้
เกษตรคือประเทศไทย "เกษตรกรอยู่ที่ไหน เราอยู่ที่นั่น"
เกษตรคือประเทศไทย “เกษตรกรอยู่ที่ไหน เราอยู่ที่นั่น”

หมายเหตุ : สนใจปลูก หรือต้องการแวะมาเยี่ยมชม ติดต่อมาได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081 0807177 ยินดีให้คำปรึกษาครับ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated