“กรมเจรจาฯ” ผนึกกำลังพันธมิตร บุกแม่ฮ่องสอน เสริมแกร่งเกษตรกร เตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดการค้าเสรี
“กรมเจรจาฯ” ผนึกกำลังพันธมิตร บุกแม่ฮ่องสอน เสริมแกร่งเกษตรกร เตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดการค้าเสรี

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับพันธมิตร ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านเอฟทีเอ เน้นเพิ่มคุณภาพสินค้าตลอดห่วงโซ่การผลิต สร้างแต้มต่อในการแข่งขัน ให้เกษตรกรในพื้นที่พร้อมสำหรับการส่งสินค้าเกษตรของไทยออกไปขายในตลาดโลก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยผลการลงพื้นที่ของกรมเจรจาฯ ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สาขาแม่ฮ่องสอน โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน (นายประจวบ อาจารพงษ์) ร่วมลงพื้นที่ด้วย ระหว่างวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ 2562 ณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกและผลิตกาแฟ ถั่วลายเสือ งาดำ และธัญพืช เป็นต้น ซึ่งเกษตรกรหลายกลุ่มได้พัฒนาเพิ่มคุณภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่การผลิต ดังนั้น ข้อมูลในเรื่องความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่ไทยทำกับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะการที่ประเทศสมาชิกอาเซียน เมียนมา และจีน ได้ลดหรือยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จากไทยแล้ว ตลอดจนการนำผู้เชี่ยวชาญไปร่วมวิเคราะห์สินค้าให้กับเกษตรกรในพื้นที่ ในระหว่างการสัมมนาเรื่อง “การเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี ครั้งที่ 3” ได้เพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร ให้สามารถใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) 12 ฉบับที่ไทยทำกับประเทศคู่ค้า ขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทยสู่ตลาดโลกกรมเจรจาการค้าฯ บุกแม่ฮ่องสอน

นางอรมน เสริมว่า จากการลงพื้นที่ของกรมเจรจาฯ เพื่อพบปะกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่าผู้ผลิตหลายรายมีศักยภาพ สามารถใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอในการสร้างรายได้และทำตลาดส่งออกไปต่างประเทศ อาทิเช่น กลุ่มเกษตรกรกาแฟ ซึ่งมีการแปรรูปกาแฟคุณภาพ ตั้งแต่การเพาะปลูก แปลงปลูก ลานตากเมล็ดกาแฟ โรงสีเม็ดเชอร์รี่ โรงคั่ว โรงบด บรรจุภัณฑ์ และร้านกาแฟ พบว่าเป็นการผลิตเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพใส่ใจการผลิตทุกขั้นตอน เช่น ปลูกกาแฟหันหน้ารับแสงพระอาทิตย์และปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ เพื่อรักษาผืนป่า เก็บเมล็ดกาแฟทีละเมล็ด เก็บเมล็ดกาแฟในคืนวันเพ็ญ เกิดเป็นเรื่องเล่าที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า นอกจากนี้ ยังได้พบปะกับกลุ่มเกษตรกรถั่วลายเสือ ซึ่งเป็นสินค้าเฉพาะถิ่นของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีรสชาติดี หวาน หอม มัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นจดทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ อีกทั้งมีการพัฒนาต่อยอดการแปรรูปสินค้าเกษตรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า พัฒนาศักยภาพ และความพร้อมที่จะส่งออก เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน

“กรมเจรจาฯ” ผนึกกำลังพันธมิตร บุกแม่ฮ่องสอน เสริมแกร่งเกษตรกร เตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดการค้าเสรี นางอรมน เพิ่มเติมว่า กรมฯ ยังได้จัดเสวนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “ช่องทางรวยของสินค้าเกษตรจากเอฟทีเอ” และ “ทำอย่างไรให้สินค้าเกษตรสู่ตลาดต่างประเทศ” ให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน กว่า 100 คน ณ โรงแรมอิมพีเรียล ธารา อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) การใช้ประโยชน์จากความตกลงเอฟทีเอ กฎระเบียบทางการค้า นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยเน้นสินค้าที่มีศักยภาพในพื้นที่ คือ กาแฟ ถั่วลายเสือ งาดำ ธัญพืช รวมทั้งยังได้เปิดเวทีให้ผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมสัมมนา นำสินค้าที่ผลิตมาให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์และให้คำแนะนำกับกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการด้วย ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ด้านการส่งออกกับวิทยากร และผู้เชี่ยวชาญ“กรมเจรจาฯ” ผนึกกำลังพันธมิตร บุกแม่ฮ่องสอน เสริมแกร่งเกษตรกร เตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดการค้าเสรี

“กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ มั่นใจว่า ความร่วมมือกับสภาเกษตรกรแห่งชาติในครั้งนี้ จะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ยกระดับสินค้าเกษตรของชุมชนให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถขยายช่องทางการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดที่ไทยมีความตกลงเอฟทีเอด้วย และตลาดที่ต้องการสินค้าเกษตรคุณภาพและปลอดภัยได้ นอกจากนี้ จังหวัดแม่ฮ่องสอนยังถือเป็นประตูการค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของไทย เช่น เมียนมา ซี่งภายใต้ความตกลงการค้าเสรีของอาเซียน เมียนมาได้ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าส่วนใหญ่จากไทยแล้ว ยกเว้นสินค้าเกษตรอ่อนไหว 7 กลุ่มสินค้า ที่เมียนมายังคงอัตราภาษีอยู่ ได้แก่ ชาเขียว ถั่วลันเตา อัตราภาษีร้อยละ 15. กาแฟยังไม่ได้คั่ว และข้าว (ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ข้าวสีแล้ว จมูกข้าว)  อัตราภาษีร้อยละ 5 ไหมดิบ เศษไหม รังไหม อัตราภาษีร้อยละ 3 ฝ้าย และเศษฝ้าย อัตราภาษีร้อยละ 1 และน้ำตาลดิบ อัตราภาษี ร้อยละ 0.5. ดังนั้น การเพิ่มแต้มต่อในการแข่งขันให้กับเกษตรกรของไทย ผ่านการพัฒนาคุณภาพสินค้า การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการสร้างเรื่องราวต่างๆ เป็นต้น จะช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการลดเลิกภาษีของประเทศคู่ค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ส่งสินค้าเกษตรของไทยออกไปขายในตลาดโลกได้อย่างมีศักยภาพมากขึ้น” นางอรมน กล่าว “กรมเจรจาฯ” ผนึกกำลังพันธมิตร บุกแม่ฮ่องสอน เสริมแกร่งเกษตรกร เตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดการค้าเสรี

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated