กรมส่งเสริมการเกษตรสั่งการผ่าน Conference กำชับทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วงใกล้ชิด
กรมส่งเสริมการเกษตรสั่งการผ่าน Conference กำชับทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วงใกล้ชิด

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เฝ้าติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 ผ่านระบบ VDO Conference ณ ห้องประชุม Operation Room ชั้น 2 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 พร้อมย้ำสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 – 6 สำนักงานเกษตรจังหวัด ติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 อย่างใกล้ชิด เพื่อให้รับทราบสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน และการเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร โดยมีประเด็นและข้อสั่งการในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ดังนี้

กรมส่งเสริมการเกษตรสั่งการผ่าน Conference กำชับทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วงใกล้ชิด
นายสำราญ สาราบรรณ์
  1. การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 (War Room) 3 ระดับ คือ

1.1 ส่วนกลาง

– เป็นหน่วยหลักประสานงาน ได้แก่ ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านแหล่งน้ำ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาแล้งฝนทิ้งช่วง และประสานการเตรียมจัดทำมาตรการระดับกระทรวง และกรม

– รวบรวม วิเคราะห์ จัดทำรายงานข้อมูล และส่งให้ผู้บริหารและหน่วยงานเกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ ได้แก่ สถานการณ์น้ำและภูมิอากาศ ผลการเพาะปลูกพืช และพื้นที่ได้รับผลกระทบ

– ประชาสัมพันธ์ภาพรวมระดับประเทศ และข้อมูลคำแนะนำให้ War Room เขตและจังหวัดนำไปใช้ประโยชน์

1.2 สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1-6 (การแต่งตั้งศูนย์ฯ ให้อยู่ในอำนาจของ ผอ.สสก.)

– ประสานข้อมูลระหว่างพื้นที่และส่วนกลาง

ติดตามเร่งรัด การตรวจสอบข้อมูล War Room จังหวัด

1.3 สำนักงานเกษตรจังหวัด (การจัดตั้งศูนย์ฯ ขอความเห็นชอบผู้ว่าราชการจังหวัด และแก้ไขปัญหาในพื้นที่โดยผ่านกลไกคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation : CoO) และคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับอำเภอ (Operation Team : OT)

– เน้นการจัดทำข้อมูล ติดตามสถานการณ์ สร้างการรับรู้แก่เกษตรกร และประสานการช่วยเหลือเกษตรกรกรมส่งเสริมการเกษตรสั่งการผ่าน Conference กำชับทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วงใกล้ชิด

  1. การจัดทำข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชและพื้นที่ได้รับผลกระทบ

2.1 สำรวจ ประเมิน ให้ถูกต้องมากที่สุด

2.2 การรายงานข้อมูลทุกวันอังคารของสัปดาห์

กรมส่งเสริมการเกษตรสั่งการผ่าน Conference กำชับทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วงใกล้ชิด

  1. ประเด็นที่ต้องเร่งดำเนินการ

3.1 สร้างการรับรู้ เกี่ยวกับ

– สถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง สภาพภูมิอากาศ พื้นที่ฝนตก และสถานการณ์น้ำ เพื่อให้เกษตรกรรับทราบ และเตรียมการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์

– แนะนำการปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย (อายุ 60-70 วัน) ในพื้นที่ที่สามารถปลูกได้ พร้อมแนะนำให้ความรู้ การปลูก การดูแลรักษา และประสานข้อมูลแหล่งตลาดรับซื้อ

– การดูแลรักษาพืชในช่วงภาวะแล้ง ฝนทิ้งช่วง เช่น การรักษาความชื้นในแปลงด้วยการคลุมแปลงหรือโคนต้น การตัดแต่งกิ่งพืชเพื่อลดการคายน้ำ การใช้น้ำอย่างประหยัด และพิจารณาใช้ระบบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำ

3.2 สำรวจแหล่งน้ำในพื้นที่ เพื่อดูว่าเกษตรกรสามารถดูแลเรื่องน้ำในพื้นที่ไร่นาตัวเองได้มากน้อยเพียงใด การเก็บกักน้ำไว้ในไร่นา และหาแหล่งน้ำสำรองโดยประสานหน่วยงานด้านแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

3.3 เฝ้าระวังสถานการณ์ ได้แก่ น้ำเค็มรุกล้ำพื้นที่ปลูกไม้ดอก พื้นที่ที่อาจเกิดปัญหาการแย่งน้ำ

3.4 เร่งรัดการขึ้นทะเบียนและการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร โดยให้ดำเนินการเชิงรุกในพื้นที่ และออกให้บริการเกษตรกร

3.5 หากมีประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฯ ให้เร่งดำเนินการตามระเบียบฯ ให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน

กรมส่งเสริมการเกษตรสั่งการผ่าน Conference กำชับทุกจังหวัดติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วงใกล้ชิด

  1. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะแล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 ในพื้นที่ที่ยังไม่ได้เพาะปลูกข้าว

4.1 มีแนวทางเพื่อให้ชุมชนมีรายได้ เช่น ปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย การเลี้ยงสัตว์ การทำประมง การแปรรูปและทำผลิตภัณฑ์ ฟาร์มชุมชน (เกษตรผสมผสาน) และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

4.2 ให้เกษตรกรและชุมชนมีแหล่งน้ำในไร่นา เช่น การทำไร่นาสวนผสม เกษตรทฤษฎีใหม่ ความร่วมมือกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (นำร่องเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง และการพัฒนาศักยภาพน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร) และการจัดทำข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated