มาอีกแล้วศัตรูพืชตัวใหม่ล่าสุด “มอด”ระบาดหนักไร่กาแฟอะราบิกาแหล่งผลิตสำคัญภาคเหนือ
มาอีกแล้วศัตรูพืชตัวใหม่ล่าสุด “มอด”ระบาดหนักไร่กาแฟอะราบิกาแหล่งผลิตสำคัญภาคเหนือ

ศัตรูพืชระบาดหนักไม่เว้นไร่กาแฟอะราบิกาชาวไทยภูเขา กรมวิชาการเกษตรระดมเจ้าหน้าที่รุกสกัดกำจัด “มอด” เจาะผลในพื้นที่แหล่งผลิตสำคัญในภาคเหนือ หวังปกป้องอุตสาหกรรมกาแฟไทยมูลค่าปีละ 3หมื่นล้าน พร้อมเดินหน้ายกระดับคุณภาพการผลิตกาแฟอะราบิกาสู่ระดับสู่สากล รองรับการก้าวสู่ศูนย์กลางการค้ากาแฟคุณภาพในอาเซียน

มาอีกแล้วศัตรูพืชตัวใหม่ล่าสุด “มอด”ระบาดหนักไร่กาแฟอะราบิกาแหล่งผลิตสำคัญภาคเหนือ
นายจำรอง ดาวเรือง

นายจำรอง ดาวเรือง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกกาแฟกาแฟอะราบิกาในจังหวัดเชียงรายซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศ โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 37,000 กว่าไร่และกำลังประสบปัญหาการระบาดของมอด เข้าเจาะทำลายเมล็ดกาแฟอย่างหนักครอบคลุมในหลายพื้นที่ ซึ่งมอดเจาะผลกาแฟเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กที่มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดย 1 ปี ขยายพันธุ์ได้ 8-9 รุ่น เพศเมียวางไข่ได้ครั้งละ 20-80 ฟอง สามารถเข้าทำลายเมล็ดกาแฟได้ตั้งแต่ในระยะผลอ่อน ความเสียหายรุนแรงจะเกิดกับเนื้อเยื่อภายในผลในระยะผลกำลังสุก ทำให้เมล็ดเป็นรูพรุน โรคพืชต่างๆ เข้าทำลายซ้ำ เมล็ดเสียคุณภาพ และทำให้ผลร่วงหล่นก่อนกำหนด ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของกาแฟลดลงอย่างมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรอย่างมาก

มาอีกแล้วศัตรูพืชตัวใหม่ล่าสุด “มอด”ระบาดหนักไร่กาแฟอะราบิกาแหล่งผลิตสำคัญภาคเหนือ

ดั้งนั้น เพื่อเร่งแก้ปัญหาความเดือนร้อนของเกษตรกร กรมวิชาการเกษตรได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาการป้องกันและกำจัดมอดเจาะผลกาแฟ และการพัฒนาศักยภาพในการผลิตกาแฟอะราบิกาในจังหวัดเชียงราย แก่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่สำคัญ   อาทิ เกษตรกรบ้านดอยช้าง บ้านปางขอน บ้านห้วยหมาก บ้านห้วยหยวกป่าโซ วิสาหกิจชุมชนกาแฟรักษาป่า เป็นต้น

โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญคือ การแนะนำให้เกษตรกรใช้กับดักฮอร์โมน ร่วมกับการพ่นสารชีวภัณฑ์ที่มีความจำเพาะเจาะจงคือ เชื้อราบิวเวอร์เรีย (Beauveria bassiana) สายพันธุ์ดีโอเอ 4 (DOA4) ตลอดจนเร่งถ่ายทอดสู่เกษตรกร ควบคู่กับการตัดแต่งกิ่งกาแฟและเก็บผลผลิตกาแฟที่ร่วงหล่นตามพื้น ออกไปทำลายนอกแปลง ซึ่งได้ทดสอบแล้วว่าสามารถควบคุมการเข้าทำลายของมอดเจาะผลกาแฟอะราบิกาได้ดีที่สุด รวมทั้งเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตกาแฟอะราบิกาให้เป็นไปตามมาตรฐาน GAP เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่มาตรฐานอินทรีย์ เพื่อให้กาแฟอะราบิกาของไทยเป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ปีนี้จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ปลูกกาแฟอะราบิกาประมาณ 37,700 ไร่ ให้ผลผลิต 3,619 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 96 กิโลกรัมต่อไร่ โดยเกษตรกรรวมตัวกันปลูกในรูปแบบกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มอิสระและถือเป็นแหล่งผลิตกาแฟคุณภาพที่มีชื่อเสียง

มาอีกแล้วศัตรูพืชตัวใหม่ล่าสุด “มอด”ระบาดหนักไร่กาแฟอะราบิกาแหล่งผลิตสำคัญภาคเหนือ

นายจำรอง กล่าวด้วยว่า กาแฟนับ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของไทยที่ทำรายได้ให้เกษตรกรปีละประมาณ 5,500 ล้านบาท โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554 – 2558) ตลาดกาแฟมีการขยายตัวอย่างมาก ทำให้ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโรงงานแปรรูปกาแฟในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 61,480 ตัน ในปี 2554 เป็น 80,000 ตัน ในปี 2558 ในขณะเดียวกัน ผลผลิตกาแฟในประเทศกลับลดลงอย่างต่อเนื่องผลจากราคากาแฟที่ตกต่ำเป็นเวลานานทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นแทน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมันและไม้ผล จึงทำให้พื้นที่ปลูกลดลงจาก 322,896 ไร่ ในปี 2554 เหลือเพียง 251,433 ไร่ ในปี 2558 พันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ กาแฟโรบัสตา มีแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฏร์ธานี กระบี่ ซึ่งในปี 2558 มีสัดส่วนร้อยละ 66 ส่วนพันธุ์ กาแฟอะราบิกา มีสัดส่วนร้อยละ 34 โดยแหล่งปลูกที่สำคัญอยู่ในภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอนและตาก

มาอีกแล้วศัตรูพืชตัวใหม่ล่าสุด “มอด”ระบาดหนักไร่กาแฟอะราบิกาแหล่งผลิตสำคัญภาคเหนือปัจจุบันไทยมีอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมกาแฟมูลค่าไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท แต่ปัจจุบันไทยกำลังปัญหาผลผลิตเมล็ดกาแฟไม่มีเพียงพอกับความต้องการของตลาด ในปี 2560 มีการนำเข้าประมาณ 8,044 ล้านบาท เนื่องจากความต้องการในการบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมอยู่ที่ 90,000 ตัน นอกจากนี้ปัจจุบันการปลูกกาแฟของไทยมีแนวโน้มที่จะต้องเผชิญกับการแข่งขันมากขึ้น ทำให้กรมวิชาการเกษตรเร่งวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและหาวิธีลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด ตลอดจนเร่งพัฒนายกระดับมาตรฐานคุณภาพกาแฟอะราบิกา เชื่อมโยงการผลิตกาแฟอะราบิกาไทยสู่มาตรฐานกาแฟอะราบิกาโลก เพื่อให้กาแฟคุณภาพของไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั่วโลกมากขึ้น

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated