กรมส่งเสริมการเกษตรเผยผลสำรวจพื้นที่เกษตรเสียหายสิ้นเชิงจากแล้ง/ฝนทิ้งช่วงรวมกว่า 2 แสนไร
กรมส่งเสริมการเกษตรเผยผลสำรวจพื้นที่เกษตรเสียหายสิ้นเชิงจากแล้ง/ฝนทิ้งช่วงรวมกว่า 2 แสนไร

กรมส่งเสริมการเกษตร เผยภาพรวมทั้งประเทศ พบพื้นที่การเกษตรเสียหายสิ้นเชิงจากสถานการณ์แล้งและฝนทิ้งช่วง รวมกว่า 2 แสนไร่ โดยเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อย จากพื้นที่เพาะปลูกแล้ว 72.75 ล้านไร่ ล่าสุดผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติแล้ว 3 จังหวัด

กรมส่งเสริมการเกษตรเผยผลสำรวจพื้นที่เกษตรเสียหายสิ้นเชิงจากแล้ง/ฝนทิ้งช่วงรวมกว่า 2 แสนไร
นายสำราญ สาราบรรณ์

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 (War Room) เพื่อสำรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งทุกจังหวัด และจัดทำสถานการณ์พื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เสียหาย ผ่านระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร (รต.) ของกรมฯ พร้อมทั้งให้ War Room จังหวัดรายงานสถานการณ์เข้ามาทุกวันอังคารของสัปดาห์นั้น จากการตัดยอดข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 ก.ค. 2562 ได้สรุปสถานการณ์พืชเศรษฐกิจหลักสำคัญ 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อย พบว่า มีพื้นที่ปลูกหรือคาดว่าจะปลูกทั้งหมด จำนวน 86,552,108 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เพาะปลูกแล้ว 72,750,126 ไร่ (ร้อยละ 84) พื้นที่ยังไม่เพาะปลูก 13,801,983 ไร่ (ร้อยละ 16)กรมส่งเสริมการเกษตรเผยผลสำรวจพื้นที่เกษตรเสียหายสิ้นเชิงจากแล้ง/ฝนทิ้งช่วงรวมกว่า 2 แสนไรสำหรับพื้นที่เพาะปลูกแล้วเสียหายสิ้นเชิง เบื้องต้นพบว่ามีจำนวน 229,648 ไร่ (ร้อยละ 0.31 หรือไม่ถึง 1%) แยกเป็น ข้าว 156,881 ไร่ (ร้อยละ 0.31) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 62,817 ไร่ (ร้อยละ 1.42) มันสำปะหลัง 8,621 ไร่ (ร้อยละ 0.10) และอ้อยโรงงาน 1,329 ไร่ (ร้อยละ 0.01) ขณะนี้มีจังหวัดที่รายงานพื้นที่การเกษตรเสียหายเบื้องต้น และผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ สุพรรณบุรี และชัยภูมิ

กรมส่งเสริมการเกษตรเผยผลสำรวจพื้นที่เกษตรเสียหายสิ้นเชิงจากแล้ง/ฝนทิ้งช่วงรวมกว่า 2 แสนไร ทั้งนี้ การดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตรระยะเร่งด่วนได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ผ่านกลไกของคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation : CoO) และคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับอำเภอ (Operation Team : OT) การวางแผนช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ได้แก่ เตรียมการวางแผนระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาวะที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ แนะนำวิธีการดูแลรักษาพืชในภาวะแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อยทดแทนการเพาะปลูกข้าวในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2562 ให้คำแนะนำในการสำรองแหล่งน้ำ/ขุดบ่อน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ฝนตกลงมา รวมถึงการสำรวจแหล่งน้ำ/อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ของจังหวัด การแจ้งเตือนเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืช ให้มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร โดยเน้นให้เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ/เกษตรจังหวัดทำงานเชิงรุกลงพื้นที่ให้บริการเกษตรกรปรับปรุง/ขึ้นทะเบียนเกษตรกร การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ผ่านแอปพลิเคชัน Farmbook สำหรับเกษตรกรรายเดิม เพื่อขอรับสิทธิ์ในการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ

กรมส่งเสริมการเกษตรเผยผลสำรวจพื้นที่เกษตรเสียหายสิ้นเชิงจากแล้ง/ฝนทิ้งช่วงรวมกว่า 2 แสนไร
เตือนภัยแล้ง

ส่วนระยะกลางและระยะยาว เน้นสร้างการรับรู้ต่อเนื่อง ได้แก่ การให้คำแนะนำในการติดตามสถานการณ์น้ำ การติดตามข่าวสารลักษณะอากาศจากประกาศของกรมอุตินิยมวิทยา ให้แนะนำการดูแลรักษาพืช การระวังป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำพื้นที่สวนกล้วยไม้ การจัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่สวนไม้ผล การประสานหน่วยงานจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร (บ่อบาดาล) ปรับระบบการเกษตรโดยสร้างแหล่งน้ำในไร่นาตามศาสตร์พระราชาและเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำตลอดช่วงฤดูฝนถึงฤดูแล้ง รวมทั้งประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ในภาพรวม เพื่อเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

กรมส่งเสริมการเกษตรเผยผลสำรวจพื้นที่เกษตรเสียหายสิ้นเชิงจากแล้ง/ฝนทิ้งช่วงรวมกว่า 2 แสนไร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากแล้งหรือฝนทิ้งช่วงในปีนี้ ยังยึดหลักเกณฑ์ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง และการประกันภัยพืชผลสำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ซึ่งได้ซื้อประกันภัยไว้แล้ว การสนับสนุนโครงการเสริมสร้างอาชีพแก่เกษตรกรซึ่งจะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การปลูกพืชอายุสั้น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตสารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น สำหรับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แล้งและฝนทิ้งช่วงต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย และจะช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เสียหายจริง ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยมีอัตราการให้ความช่วยเหลือ คือ ข้าว 1,113 บาท/ไร่ พืชไร่ 1,148 บาท/ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 1,690 บาท/ไร่ ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยกับ ธ.ก.ส. เมื่อเกิดความเสียหายและได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังนี้ ประกันภัยข้าวนาปี เบี้ยประกัน 85 บาท/ไร่ ได้รับค่าสินไหมทดแทน 1,260 บาท/ไร่ ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เบี้ยประกัน 59 บาท/ไร่ ได้รับสินไหมทดแทน 1,500 บาท/ไร่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มมีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่ทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเข้าสู่ช่วงเดือนสิงหาคมแล้ว คาดว่า ปัญหาจากสถานการณ์แล้งหรือฝนทิ้งช่วงที่เกิดขึ้นจะบรรเทาลงและดีขึ้นในไม่ช้านี้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated