สมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย แจงสื่อต่างชาติ “มั่ว” แชร์ข้อมูลกุ้งไทยไม่ถูกต้อง ย้ำฟาร์มกุ้งไทยเป็นระบบพัฒนาเดินหน้าตามมาตรฐานสากลทุกมิติ
สมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย แจงสื่อต่างชาติ “มั่ว” แชร์ข้อมูลกุ้งไทยไม่ถูกต้อง ย้ำฟาร์มกุ้งไทยเป็นระบบพัฒนาเดินหน้าตามมาตรฐานสากลทุกมิติ

สมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย ออกโรงย้ำการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาของไทยอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมดูแลอย่างเข้มแข็งของภาครัฐ ตามมาตรฐานสากลด้วยระบบไบโอซีเคียวริตี้ (Bio Security) ช่วยป้องกันโรค เพิ่มผลผลิต รักษาสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบย้อนกลับได้ ผลิตอาหารปลอดภัยให้ผู้บริโภคทั่วโลก

นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ที่ปรึกษาสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทยและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ เปิดเผยถึง กรณีที่มีการเผยแพร่สารคดีการทำฟาร์มกุ้งในสื่อสังคมออนไลน์ ขององค์กรสากลแห่งหนึ่งเมื่อปี 2555 และมีการแชร์ข้อมูลเก่าโดย Free High Quality Documentaries ที่นำเสนอการทำฟาร์มกุ้งของไทยทำลายป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อม ใช้แรงงานผิดกฎหมายละเมิดมนุษยธรรม มีการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่มีการควบคุม นั้น เป็นการนำเสนอที่ “ไม่ถูกต้อง” ขาดความรับผิดชอบ โดยนำเสนอข้อมูลด้านเดียว ไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของสังคมและทำลายภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมการส่งออกกุ้งไทย ซึ่งไม่สอดคล้องกับการทำฟาร์มและการผลิตในปัจจุบัน

สมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย แจงสื่อต่างชาติ “มั่ว” แชร์ข้อมูลกุ้งไทยไม่ถูกต้อง ย้ำฟาร์มกุ้งไทยเป็นระบบพัฒนาเดินหน้าตามมาตรฐานสากลทุกมิติ
นายบรรจง นิสภวาณิชย์

เกษตรกรไทยทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งภายใต้การกำกับดูแลของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนโยบายชัดเจนส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประสานความร่วมมือกับเกษตรกรและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด ผ่านสมาพันธ์ สมาคม ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดต่างๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตและป้องกันโรค ทั้งส่งเสริมเกษตรกร ผู้ส่งออก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่การผลิตให้ตระหนักถึงความต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก ในฐานะผู้ผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลก

“ประเทศไทยมีการดำเนินธุรกิจฟาร์มกุ้งทั้งของเกษตรกรรายย่อย รายกลางและรายใหญ่ตามกฎหมายของกรมประมงและมาตรฐานสากล ครอบคลุมเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแนวทางการผลิตอาหารปลอดภัยให้ผู้บริโภคทั่วโลก ตลอดจนภาคแรงงานได้มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้แรงงานได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล” นายบรรจง กล่าวย้ำ

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated