เรื่อง/ภาพ : ธนสิทธิ์ เกษตรก้าวไกล

บนพื้นที่ 15 ไร่ ของสวนธนวัฒน์ ตั้งอยู่เลขที่ 178/9 หมู่ 8 ตำบลองรักษ์ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง โทร. 08-5211-8603 ของสองสามีภรรยา ประเสริฐ และน้ำตาล–อิสรา ม่วงย้อย เป็นผืนดินทำกินของครอบครัวนี้มาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ที่ทำนาทำสวนเลี้ยงชีพกันมาอย่างยาวนาน..ในวันนี้เช่นกัน ทุกอย่างไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ยังเป็นผืนดินทำกินในอาชีพการเกษตรเช่นเดิม แต่ที่เปลี่ยนแปลง และไม่เหมือนเดิม คือ รูปแบบและวิธีการ…

จากเดิมที่เน้นการทำกินตามวิถีธรรมชาติ ได้กลายมาเป็นการทำกินแบบมีการวางแผน ทั้งด้านการผลิต การตลาด อย่างครบวงจร เมื่อสองสามีภรรยา ประเสริฐ และน้ำตาล ได้สมัครเข้าร่วมโครงการเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer (YSF) ของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรอำเภอโพธิ์ทองเกษตรรายได้ทั้งปี..กลเม็ดที่มาจากการวางแผน ของครอบครัวม่วงย้อย ที่โพธิ์ทอง

“ผมชอบมากเลยครับ สำหรับการเป็น YSF เพราะทำให้เราได้เรียนรู้ ได้ข้อมูลดีมากๆ อีกทั้งยังได้เพื่อนได้เครือข่ายที่พร้อมจะช่วยกัน พร้อมจะเดินไปด้วยกันเพื่อการเป็นเกษตรกรคนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ” ประเสริฐ กล่าว

ส่วนน้ำตาล ผู้เป็นภรรยาเสริมว่า การเป็นสมาชิก YSF ได้ทำให้รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ เพราะจะมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันตลอดเวลา ทำให้เกิดการเรียนรู้ สามารถนำมาพัฒนาอาชีพมาพัฒนาสวนของตนเองได้มากมาย

“เพื่อนๆ YSF ก็มาเรียนรู้ที่สวนเรา แล้วเอาความรู้นั่นไปใช้ที่สวนของเขาก็มีเช่นกัน อีกทั้งทางเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจากสำนักงานเกษตรอำเภอโพธิ์ทอง หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง ได้เข้ามาติดตามช่วยเหลือแนะนำอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พวกเราสามารถก้าวมาได้ถึงวันนี้” น้ำตาล กล่าว

เกษตรรายได้ทั้งปี..กลเม็ดที่มาจากการวางแผน ของครอบครัวม่วงย้อย ที่โพธิ์ทองสวนเดิม แต่เพิ่มความใหม่

“ตรงนี้เดิมเคยเป็นสวนครับ ตอนนี้หรือก็ยัง เป็นสวนเหมือนเดิม” ประเสริฐ บอกกล่าว เมื่อถามถึงอดีตกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่

“พ่อแม่ทำกินกันมาก่อน การปลูกอะไรก็เป็นแบบเดิมๆ ที่ปลูกโน่นนิด นี่หน่อย ไม่ได้มีการวางแผนอะไร แต่เมื่อกลับมาทำสวนเอง จึงมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง”

ประเสริฐ สะท้อนแนวคิดของคนรุ่นใหม่จากประสบการณ์ที่กลับบ้านเพื่อพัฒนาของเดิมที่มีอยู่ให้ดีขั้น

“ผมเรียนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี แล้วก็ไปทำงานบริษัทอยู่พักใหญ่ จนรู้สึกว่าอิ่มตัว อยากกลับบ้านมาเริ่มต้นทำอะไรที่เป็นของเราเองบ้าง เลยตัดสินใจมาเลย”

ทั้งจากการศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง และจากการเก็บเกี่ยวองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจากการเป็น YSF จึงนำมาสู่การเริ่มต้น

“ผมเดินตามศาสตร์พระราชา โดยเฉพาะเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงครับ  วันนี้สวนผมจึงเป็นสวนผสมผสานที่มีกิจกรรมการปลูกพืชที่หลากหลาย ไม่ว่า ฝรั่งกิมจู มะเขือเทศราชินี เมล่อน ข้าวโพดพันธุ์ราชินีทับทิมสยาม เป็นต้น” ประเสริฐ บอก

เขาได้เรียนรู้ถึงหลักการ และหลักปฏิบัติ นำมาประยุกต์ใช้กับหลักความต้องการของชีวิต โดยเฉพาะในด้านรายได้ ที่เน้นว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถมีรายได้ทั้งปี ที่แบ่งได้เป็น รายวัน รายเดือน และรายปี

เพราะการวางแผนดีตั้งแต่ต้น ย่อมนำมาสู่ความสำเร็จในปั้นปลาย

“แหล่งน้ำ ถ้าไม่ ต้องทำอย่างไร พืชที่จะปลูก ต้องปลูกอะไรบ้าง อะไรที่จะสร้างรายได้ให้เราในช่วงแรกเมื่อมาเริ่มต้นแล้วมีเงินเข้ามาหมุนเวียนใช้จ่ายเร็วที่สุด และอื่นๆอีกมากมาย” นั่นคือสิ่งที่ชายวัย 35 ปีในวันนี้มอง เมื่อวันที่คิดจะเริ่มต้นกับชีวิตการเป็นเกษตรกรเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา

“อย่างพืชหลักในโซนนี้ผมวางแปลนให้เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นรายได้รายปี แต่ช่วงมะม่วงยังไม่ให้ผลผลิต ด้วยเพิ่งปลูกมาปีกว่าๆ ดังนั้นเราต้องใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์เกิดรายได้ ด้วยการปลูกพืชแซม ผมปลูกแคนตาลูปสลับกับข้าวโพด พริก มะเขือเทศพันธุ์ราชินี หมุนเวียนกันไป” ประเสริฐกล่าว

เกษตรรายได้ทั้งปี..กลเม็ดที่มาจากการวางแผน ของครอบครัวม่วงย้อย ที่โพธิ์ทองรวมกลุ่ม วางแผนผลิต ให้สอดคล้องตลาด

ที่น่าในใจอีกประการที่เกี่ยวแนวคิดของเกษตรกรคนรุ่นใหม่อย่างประเสริฐนั้นคือ การวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

“อย่างมะเขือเทศราชินีนี้ ผมไม่ได้ปลูกคนเดียว แต่เรารวมกันเป็นกลุ่มผลิตเพื่อส่งบริษัทในราคาประกัน ทุกนำไปปลูกในที่ดินของตนเอง เพียงแต่เราจะมีการวางแผนกันว่า แต่ละคนต้องปลูกในช่วงเวลาไหน พื้นที่เท่าไร เพื่อให้ผลผลิตออกมาได้แบบหมุนเวียนสามารถส่งตลาดได้ตลอด ไม่มีขาดช่วง”

ช่วงนี้ทางสวนธนวัฒน์ ปลูกมะเขือเทศพันธุ์ราชินี จำนวน 1,000 ต้น สามารถเก็บผลผลิตช่วงต้นได้อาทิตย์ละ 200 กิโลกรัม แต่หากเป็นช่วงที่ให้ผลผลิตมากที่สุด จะเก็บได้สูงถึง อาทิตย์ละ 500 กิโลกรัม โดยราคาที่จำหน่ายได้ อยู่ที่กิโลกรัมละ 59 บาท

สำหรับมะเขือเทศราชินีนั้น เป็นอีกหนึ่งในพืชอายุสั้นที่สามารถให้ผลตอบแทนได้ไว โดยน้ำตาล ผู้เป็นภรรยา บอกว่า หลังจากลงกล้าปลูกแล้วประมาณ 80 วัน จะสามารถเริ่มเก็บผลผลิตได้ โดยระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวจะนานประมาณ 2–3 เดือน ขึ้นอยู่กับการจัดการดูแล

เกษตรรายได้ทั้งปี..กลเม็ดที่มาจากการวางแผน ของครอบครัวม่วงย้อย ที่โพธิ์ทองทั้งนี้ รูปแบบการปลูกจะใช้วิธีการยกร่องปลูกกลางแจ้ง แล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติกเพื่อช่วยเรื่องความชื้นและป้องกันวัชพืช ส่วนระบบน้ำจะใช้ระบบน้ำหยด และที่สำคัญคือ จะเน้นการปลูกแบบปลอดสารพิษ เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูงสุด เรียกว่า สามารถเด็ดกินจากต้นในแปลงได้เลยพร้อมกันนี้ยังแนะนำเทคนิคส่วนตัวเกี่ยวกับการจัดการดูแลมะเขือเทศราชินีว่า สิ่งสำคัญคือ ต้องป้องกันการระบาดของโรคแมลงศัตรูที่สำคัญให้ได้ ซึ่งเทคนิคที่ใช้คือ จะเน้นการตัดแต่งทรงต้นให้มีความโปร่งมากที่สุด เพื่อลดการเข้าระบาดทำลาย

เกษตรรายได้ทั้งปี..กลเม็ดที่มาจากการวางแผน ของครอบครัวม่วงย้อย ที่โพธิ์ทอง“มะเขือเทศต้องการ การดูแลเอาใจใส่มากพอสมควร ต้องมาคอยดู มาให้น้ำใส่ปุ๋ย คอยโอบยอดขึ้นค้างอยู่เรื่อยๆ คอยดูเรื่องโรคแมลง เพราะดีที่สุดคือ การป้องกันอย่าให้เกิด เพราะถ้าเกิดแล้วจะแก้ไขยาก” ประเสริฐ กล่าวเสริม

โดยในส่วนของโรคแมลงที่พบนั้น จะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อย่างช่วงเดือนกันยายนนี้ ในช่วงเช้าจะมีน้ำค้าง ดังนั้นจึงจะพบการระบาดของโรคราน้ำค้าง แนวทางแก้ไขนั้น ทางสวนธีรวัฒน์คือ การใช้สารชีวภัณฑ์ อย่างเชื้อไตรโครเดอร์มา ฉีดพ่น ซึ่งต้องขยันฉีดหน่อย จึงสามารถหยุดการระบาดของโรคราน้ำค้างในมะเขือเทศได้ แต่ถ้าเป็นช่วงอากาศแล้งหน่อย จะมีการระบาดของเพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นอีกชนิดที่สามารถสร้างความเสียหายให้มาก

เกษตรกรคือยอดมนุษย์...เกษตรคือความสุขของครอบครัวม่วงย้อย
เกษตรกรคือยอดมนุษย์…เกษตรคือความสุขของครอบครัวม่วงย้อย

แล้วทำตลาดกันอย่างไร ?

ด้วยผลผลิตที่หลากหลายจากพืชหลากชนิดที่ปลูกแบบเกษตรกรผสมผสาน ในส่วนของผลผลิตที่ได้นั้น วันนี้เจ้าของสวนบอกว่า เรื่องตลาดไม่มีปัญหา

แต่หากเป็นเมื่อตอนเริ่มต้น เมื่อ 5 ปีก่อน แน่นอนว่า ต้องยากแน่นอน

“ตอนเริ่มต้นใหม่ๆ เราใช้กลยุทธ์ทั้งขายทั้งแจกทั้งแถม ให้ทุกคนได้ชิมได้กินก่อน จะได้รู้ว่า ของเราดีอย่างไร” น้ำตาล กล่าว

ด้วยการวางแผน การวางแนวทางที่ชัดเจน โดยเฉพาะในด้านของคุณภาพ จึงทำให้ผลผลิตจากพืชทุกต้นที่ปลูกมีรสชาติอร่อย ได้คุณภาพ จึงทำให้หลายคนติดใจ และได้กลายมาเป็นลูกค้าประจำ อีกทั้งยังช่วยบอกต่อ จนเป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางว่า ผลผลิตจากสวนแห่งนี้ดีมีคุณภาพ จึงทำให้มีลูกค้าขาประจำ ทั้งที่เป็นผู้บริโภคและพ่อค้าแม่ขายปลีกขายส่งเข้ามาสั่งซื้อสินค้ากันอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้น้ำตาลเน้นย้ำให้ฟังว่า การจะได้ใจลูกค้านั้นต้องคิดไว้เลยว่า

“ของไม่ดีจริงอย่าเอาไปขาย ต้องเน้นเรื่องคุณภาพมากๆเลย ตอนนี้หลายคนบอกรอกินของที่สวนที่เดียว เพราะไปซื้อที่ไหนกินแล้วไม่อร่อย เก็บของเมื่อไหร่ให้บอกเลยจะรีบมาซื้อ”

การเน้นคุณภาพ จึงถือว่าเป็นจุดขายที่สำคัญที่สองสามีภรรยาสมาชิก YSF ได้พิสูจน์ได้เห็นแล้วว่า ทำแล้วจะดีต่ออาชีพ

“ตอนนี้รายได้จากการทำสวนของครอบครัว เรียกว่า อยู่ได้เลย เพราะเรามีทุกอย่าง ที่สามารถขายได้ทั้งในรูปแบบของรายวัน รายเดือน และรายปี หมุนเวียนกันไปเรียกว่ามีรายได้ทั้งปี” น้ำตาล บอกพร้อมรอยยิ้ม

เพราะมีการวางแผน วันนี้จึงนำมาซึ่งความสำเร็จ “เกษตรคือความสุข” ความสุขที่ได้มาอยู่พร้อมหน้ากับพ่อแม่อีกครั้งหนึ่ง กับเพื่อนๆ ที่มีหัวใจเดียวกัน เช่นที่เกิดขึ้นกับ สองสามีภรรยาสมาชิก YSF ประเสริฐ และน้ำตาล–อิสรา ม่วงย้อย แห่งอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองแห่งนี้

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated