การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้จัดกิจกรรม “ชีววิถี อยู่ดี มีสุข” ครั้งที่ 2/2562 ณ วิทยาลัยการอาชีพหนองหาน ต.หนองหาน อ.หนองหาน จ.อุดรธานี เมื่อวันก่อน โดยมีนายคณพศ พิมโคตร ปลัดอาวุโส อำเภอหนองหาน เป็นประธานเปิดงาน นายสหชาติ พิลาออน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-1 กล่าวรายงาน ความเป็นมาของกิจกรรม และนายพงษ์ศักดิ์ วงษ์ป้อม ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพหนองหาน กล่าวต้อนรับ และมีตัวแทนจากชุมชนเกษตรกรรม “บ้านหนองตอ” หมู่ที่ 5 ตำบลเชียงยืน พร้อมด้วย Blogger จากเพจชื่อดัง เช่น ตากล้อง ท่องเที่ยว ลาพักเที่ยว ท่องเที่ยวไฉไล และสื่อท้องถิ่น เช่น Udon Daily ไลฟ์สด Udon Next Step ข่าวทั่วไทย และ เพจสมัชชาสุขภาพจังหวัดอุดรธานี Cable TV จ.อุดรธานี เข้าร่วมกิจกรรม

06
ในงานได้จัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “บอกเล่าวิถีเกษตรอินทรีย์” โดย นายพงษ์ศักดิ์ วงษ์ป้อม ผอ.วิทยาลัยการอาชีพหนองหาน นายประเสริฐ ประกอบศักดิ์ ผู้แทนจาก กฟผ. นางบานเย็น องอาจ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านดงเรือง นายสมภาร องอาจ บุตรชายนางบานเย็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาสืบทอดอาชีพการเกษตรแบบชีววิถี และมีนายมงกุฎ ศิริ เป็นผู้ดำเนินรายการ

03
จากนั้นคณะได้เดินทางเข้าเยี่ยมชม และเรียนรู้ เกี่ยวกับชุมชนต้นแบบชีววิถี กฟผ. ณ “ชุมชนบ้านดงเรือง” หมู่ที่ 6 ตำบลหนองเม็ก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้นำองค์ความรู้ ใน “โครงการชีววิถี เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” จากวิทยาลัยการอาชีพหนองหานมาดำเนินการในการวางแนวทางการพัฒนาชุมชนชีววิถีฯ อย่างเป็นระบบ ตามหลักบันได 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นอยู่รอด ขั้นพอเพียง และขั้นยั่งยืน กระทั่งประสบผลสำเร็จ สะท้อนให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคง และยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม มีความเข้มแข็งในฐานะวิสาหกิจชุมชนบ้านดงเรือง และที่สำคัญสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการพัฒนาด้านการตลาดสู่การค้าระบบออนไลน์

โดยผู้ร่วมกิจกรรมได้รับฟังเรื่องราวการดำเนินโครงการชีววิถี จากตัวแทน “ชุมชนต้นแบบชีววิถีบ้านดงเรือง” ครบองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน และเดินเยี่ยมชมวิถีเกษตรกรรมชุมชนบ้านดงเรืองอีกด้วย

02
นางสาวสุขสกาว สำราญวงศ์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เข้าร่วม กิจกรรมในฐานะตัวแทนทูตสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ดีใจที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดในเรื่องการดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการผลิตภาคการเกษตรที่ประชาชนในพื้นที่นั้นๆ
“ได้เห็นการทำการเกษตรและปศุสัตว์ในพื้นที่ใต้ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. มีการปลูกข้าวโดยใช้น้ำหมัก อีเอ็ม มาผสมกับดินเพื่อใช้เป็นดินปลูก และนำอีเอ็มไปผสมกับอาหารสัตว์ให้ไก่และหมูกินเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของอาหาร และเมื่อสัตว์ถ่ายออกมามูลสัตว์จะไม่มีกลิ่นและสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินเพื่อทำการเพาะปลูกต่อไปได้ดีอีกด้วย”
04
“ในการดำเนินงานของโครงการฯ นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้นำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตของตนเอง หรือนำสิ่งที่ได้รับมาไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นโดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนักศึกษาในมหาวิทยาลัย จะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดค่ายในแต่ละปีการศึกษาได้ ตลอดจนนักศึกษาที่มีครอบครัวทำการเกษตรก็สามารถ
นำแนวทางดังกล่าวไปถ่ายทอดสู่ครอบครัวเพื่อนำไปปฏิบัติใช้ในกิจการได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยในการลดต้นทุนด้านการผลิต และเป็นการทำการผลิตที่ไม่ทำลายสุขภาพของตนเอง และสิ่งแวดล้อมตลอดจนช่วยให้ผู้บริโภคในผลผลิตเหล่านั้นไม่ต้องรับผลกระทบจากสารพิษที่เจือปนมากับผลผลิต เช่น การเพาะปลูกที่อาศัยสารเคมีเป็นตัวช่วยอีกด้วย”
นาวสาวสุขสกาว กล่าวในที่สุด

05

 “ชีววิถี อยู่ดี มีสุข” นับเป็นอีกกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน มีความเข้าใจ และเกิดแรงบันดาลใจในการลงมือทำ หรือนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สืบต่อไป สอดคล้องกับคำว่า “ สืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสตร์พระราชา” สืบไป

 

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated