งานวิจัยต้นกัญชาของ ม.เกษตรฯ ได้รับการชื่นชมว่ามีความสมบูรณ์นำไปผลิตยาแผนไทยได้ดี
งานวิจัยต้นกัญชาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้รับการชื่นชมจากอธิบดีกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกว่ามีความสมบูรณ์ สามารถนำไปผลิตยาแผนไทยได้ดี

สืบเนื่องจากอธิบดีกรมแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าในการปลูกพืชกัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 โดยกัญชาสดจากการปลูกที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นั้น พบว่า มีความสมบูรณ์และคุณภาพดี นำไปแปรรูปได้ง่าย

นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ (นั่งกลาง)
นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ (นั่งกลาง)

 

นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า หลังจากที่ได้ทำ บันทึกความร่วมมือกับหลายหน่วยงานแล้ว ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร มีความพร้อมและผลิตกัญชาจากต้นกัญชาพันธุ์ไทย ได้อย่างรวดเร็วและได้คุณภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพงษ์ อินทรวงศ์ รองอธิการบดีวิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมพืชกัญชาทางการแพทย์ว่า กัญชาของทีมงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการเจริญเติบโตที่ดี มีความสูงมากกว่า 1.50 เมตร หลังย้ายปลูก 1 เดือน คิดเป็นการเติบโตด้านความสูงเฉลี่ย วันละ 3 เซนติเมตร และเริ่มบังคับให้ออกดอกโดยหยุดให้แสงเสริมด้วยแสงจากหลอด LED เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ซึ่งต้นกัญชาที่ปลูกรอบแรกมีการเก็บเกี่ยวใบและก้านใบเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมาเพื่อส่งมอบให้กับโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร นำไปเป็นวัตถุดิบผลิตยาแผนไทย และในตอนนี้กัญชากำลังอยู่ในช่วงการทำดอก คาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวช่อดอกได้อีกประมาณ 4 สัปดาห์ข้างหน้างานวิจัยต้นกัญชาของ ม.เกษตรฯ ได้รับการชื่นชม

ทางด้านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กล่าวว่าวัตถุดิบกัญชาสดที่ได้รับมอบจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ที่ได้ทำการเก็บไป 2 รอบแล้ว คือส่วนของ ใบกัญชาสด น้ำหนักที่รับไป ณ ตอนนี้ คือ 52.76 กิโลกรัมสด และเมื่อนำไปแปรรูปโดยการอบแห้ง ที่อุณหภูมิ 45-50 องศาเซลเซียส แล้วจะได้ใบกัญชาแห้งน้ำหนักเท่ากับ 11.428 กิโลกรัม ซึ่งปัจจุบันได้นำไปผลิตเป็นยาจำนวนทั้งสิ้น 3 ตำรับ ได้แก่ ยาศุขไสยาศน์ จำนวน 5,000 ซอง ยาแก้ลมแก้เส้น จำนวน 5,000 ซอง และยาทาริดสีดวงและโรคผิวหนัง จำนวน 5,000 ซอง เช่นกัน สำหรับคุณภาพของวัตถุดิบใบกัญชาสด ที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร นั้น เมื่อพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) พบว่า ใบมีขนาดสมบูรณ์ ใบใหญ่ ก้านยาว และแข็งแรง สามารถนำไปแปรรูปต่อได้ง่าย  และมีการกระจายให้แก่โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โรงพยาบาลวานรนิวาส นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมให้กับนักการแพทย์แผนไทยเพื่อวางแผนในการใช้ยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอนาคตอีกด้วยงานวิจัยต้นกัญชาของ ม.เกษตรฯ ได้รับการชื่นชม

อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ที่จะใช้ให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจะต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งยา ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน ซึ่งการใช้ยาจะเป็นการเฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วยแต่ละท่าน เนื่องจากกัญชายังเป็นยา เสพติดประเภท 5 ไม่ควรจะนำไปแบ่งปันกันใช้ เพราะอาจเกิดผลเสียต่อร่างกาย รวมถึงการพกพาไปในสถานที่ต่าง ๆ จะต้องมีใบรับรองแพทย์แสดงต่อเจ้าหน้าที่กฎหมาย และห้ามนำออกนอกประเทศทุกรณี และหากมีอาการไม่สบายหรือต้องการใช้ยาขอให้เข้าไปขอรับบริการในโรงพยาบาลที่ให้บริการโดยเฉพาะ ซึ่งนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีความเป็นห่วงและเน้นย้ำให้ทุกท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัดงานวิจัยต้นกัญชาของ ม.เกษตรฯ ได้รับการชื่นชม

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated