เรื่อง/ภาพ : ธนสิทธิ์ เกษตรก้าวไกล

การอาบน้ำแร่แช่บ่อน้ำพุร้อนแบบญี่ปุ่น ที่เรียกว่า ออนเซ็น (Onsen เป็นคำภาษาญี่ปุ่น หมายถึง บ่อน้ำพุร้อน) นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากสำหรับผู้เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น แต่ในวันนี้ การออนเซ็นนั้นไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงประเทศญี่ปุ่น เพราะในประเทศไทยมีแหล่งออนเซ็นขึ้นชื่อที่พร้อมให้ทุกคนไปสัมผัสมีอยู่หลายแห่ง เช่นที่  บ้านโป่งสามัคคี หมู่ที่ 6 ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ไปออนเช็นแบบไทยๆที่ “น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด บ้านโป่งสามัคคี” 1 ใน 8 โมเดลธุรกิจชุมชนที่ ธ.ก.ส.หนุน

บ้านโป่งสามัคคี มีบ่อน้ำพุร้อนตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ภายใต้ชื่อที่เรียกขานกันว่า น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด : Doisaket Hotspring เป็นหนึ่งในแหล่งออนเซ็นขึ้นชื่อแบบไทยๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ที่เปิดให้ทุกคนได้มาสัมผัสสร้างประสบการณ์ และความประทับใจตลอดทั้ง 12 เดือน

ด้วยความโดดเด่นของทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ความเหนียวแน่นร่วมมือกันเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน ภายใต้การสนับสนุนเพื่อการพัฒนาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้บ้านโป่งสามัคคีกลายเป็นชุมชนต้องเที่ยว

ที่สำคัญอีกประการ ในวันนี้ บ้านโป่งสามัคคีได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 8 ชุมชนโมเดลการพัฒนาธุรกิจชุมชนที่มีศักยภาพนำร่องด้านการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ที่ดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง แพร่ และน่านไปออนเช็นแบบไทยๆที่ “น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด บ้านโป่งสามัคคี” 1 ใน 8 โมเดลธุรกิจชุมชนที่ ธ.ก.ส.หนุน

โครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ที่ ธ.ก.ส. “เป็นมากกว่าธนาคาร” ได้เข้าไปช่วยสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนในชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรมการผลิต กิจกรรมขายผลผลิต กิจกรรมการซื้อและบริโภคของคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยใช้ทรัพยากรของชุมชน มีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเกื้อกูลและเป็นธรรม

โดยมีแนวทางในการขับเคลื่อนที่เริ่มจากการค้นหาและศึกษาความต้องการของชุมชน ทั้งโอกาส ศักยภาพ ปัญหา แนวทางพัฒนาและแก้ไข เหมือนการระเบิดจากภายใน

จากนั้นจึงเริ่มพัฒนา สร้างความเข้มแข็ง โดยยึดหลักตลาดนำการผลิตและมีการกำหนดแผนธุรกิจที่ชัดเจน ผสานความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในด้านความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรม งานวิจัย และงบประมาณ อีกทั้ง ธ.ก.ส. ยังช่วยสนับสนุนสินเชื่อให้กับ Smart Farmer ผู้ประกอบการ SME เกษตร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร

ทั้งหมดนี้ เพื่อทำให้เกิด ผลลัพธ์ คือ ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก มีภูมิคุ้มกัน มีรายได้ สวัสดิการสังคม และโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นบ้านโป่งสามัคคี

วันนี้  บ้านโป่งสามัคคี หนึ่งในต้นแบบการพัฒนาของ ธ.ก.ส. ได้ก้าวมาสู่ความสำเร็จ สามารถที่จะสร้างรายได้รวมจากธุรกิจชุมชนถึงปีละ 10.8 ล้านบาท ด้วยการใช้ของดีที่มีอยู่ให้กลายเป็นจุดขาย เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยว  นำมาหมุนเวียนเป็นค่าใช้จ่าย ให้กับการดูแลสถานที่ ให้กับแรงงานในพื้นที่ ไม่ต้องไปหางานทำที่อื่น เกิดความเป็นเข้มแข็งของชุมชนฐานรากที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง

messageImage_1578404978945

ดังนั้น เพื่อให้ได้สัมผัสของจริง ได้เห็นถึงความโดดเด่นของชุมชนต้องเที่ยวแห่งนี้ นายสุชาติ นิตยพงศ์ชัย ผู้อำนวยการสำนักงานธ.ก.ส.จังหวัดเชียงใหม่ และนายคมกฤตย์ เมธะปัญญา ผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาดอยสะเก็ด จึงนำพา “เกษตรกาวไกล” เดินทางจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีระยะทางรวม 30 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสาย เชียงใหม่-เชียงราย ผ่านอำเภอดอยสะเก็ดไปทางเชียงรายประมาณ 13 กิโลเมตร หลังจากผ่านศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เพียง 300 เมตร จะเป็นทางแยกไปบ้านโป่งกุ่มและเทพเสด็จ ให้เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงจุดหมายน้ำพุร้อนดอยสะเก็ด จะอยู่ทางซ้ายมือ ที่นี่ลานจอดรถกว้างขวางพร้อมให้รถทุกคันจอดได้อย่างสบาย

แต่หากไม่มั่นใจ สามารถติดต่อสอบถามเส้นทางการเดินทางได้ที่ โทร. 08-7185-0419

ขณะเดียวกัน มีข้อแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางท่องเที่ยวจาก นายสุชาติ นิตยพงศ์ชัย ผู้อำนวยการสำนักงานธ.ก.ส.จังหวัดเชียงใหม่ ที่บอกว่า การเดินทางมายังน้ำพุร้อนดอยสะเก็ด ไม่ใช่มาเที่ยวที่นี่แล้วจะสิ้นสุดเพียงที่บ้านโป่งสามัคคีเท่านั้น แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวไปยังจังหวัดลำปางได้อีกด้วย

“โดยขณะนี้ได้มีการวางเส้นทางเชื่อมการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ภายใต้การสนับสนุนของธ.ก.ส. โดยจากบ้านโป่งสามัคคี นักเที่ยวสามารถเดินทางต่อไปยังชุมชนบ้านแม่แจ๋ม อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เป็นอีกชุมชนโมเดลการพัฒนาธุรกิจชุมชนที่มีศักยภาพนำร่องด้านการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา”

“เป็นเส้นทางที่มีความสวยงามมากภายใต้ขุนเขา และมีแหล่งท่องเที่ยวระหว่างทางที่น่าแวะ เช่น เมืองกาแฟเทพเสด็จ ที่โฮมสเตย์ 10 หลัง บ้านแม่ดอนหลวง จากแม่แจ๋ม สามารถที่จะเดินทางลัดเลาะไปดอยสูงไปสัมผัสอากาศหนาวที่กิ่งฝิ่น และไปยังโครงการหลวงตีนตก ไปผาน้ำลอดได้อีก”

“หรือจากบ้านโป่งสามัคคีไปที่บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน แหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อในตอนนี้ด้วยก็ได้ ในวันนี้ทุกสถานที่ท่องเที่ยวสามารถเชื่อมโยงกันได้หมด ซึ่งหากอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสำนักงานธ.ก.ส.จังหวัดเชียงใหม่ได้ที่ โทร. 05-3416-9956 ครับ” ผอ.สำนักงานธ.ก.ส.จังหวัดเชียงใหม่กล่าวไปออนเช็นแบบไทยๆที่ “น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด บ้านโป่งสามัคคี” 1 ใน 8 โมเดลธุรกิจชุมชนที่ ธ.ก.ส.หนุน

จากบ่อต้มหน่อไม้มาสู่แหล่งออนเซ็นเพื่อการท่องเที่ยว  

เมื่อ ผอ.สุชาติ และผู้การมกฤตย์ แห่ง ธ.ก.ส. สาขาดอยสะเก็ด ได้พามาถึง ภาพที่เห็นคือ เหล่าผู้นำชุมชนของบ้านโป่งสามัคคี ไม่ว่า แม่ครูแดง หรือ อาจารย์จันทกานต์ บาลชมพู ผู้ใหญ่อาษา ศรีคำมา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 บ้านโป่งสามัคคี  ลุงสวัสดิ์ พลหาญ อดีตผู้ใหญ่บ้าน กำลังให้การต้อนรับผู้มาเยือน ด้วยความขยันขันแข็งท่ามกลางไออุ่นจากน้ำพุร้อน

แม่ครูแดง หรือ อาจารย์จันทกานต์ บอกว่า บ้านโป่งสามัคคี เป็นชุมชนของชาวไทลื้อ ที่อยู่กันกันมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พ.ศ. 2310 โดย พระเจ้ากาวิละ นำชาวไทลื้อที่เชียงใหม่มาทำอาชีพเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่และได้พบกลุ่มควันลอยขึ้นมาจากน้ำพุร้อน จึงได้มีการก่อตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นจนถึงทุกวันนี้ โดยปัจจุบันประกอบด้วย 5 กลุ่มบ้าน คือ บ้านโป่งสามัคคี บ้านกิ่ว บ้านเหล่าป่าฮู้ บ้านเกาะและบ้านท่าก๋ากอก

บ้านโป่งสามัคคี เป็นหนึ่งในชุมชนที่มีธรรมชาติอันสวยงาม และอุดมสมบูรณ์ เพียบพร้อมไปด้วยบรรยากาศของทุ่งนา หุบเขา และแม่น้ำที่ไหลผ่าน และอากาศที่บริสุทธิ์เหมาะสำหรับการพักผ่อน ผู้คน  127 ครัวเรือนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวไทลื้อต่างยังคงยึดเอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย และภาษาพูด อีกทั้งยึดวิถีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

“เดิมนั้นการใช้ประโยชน์จากบ่อน้ำพุร้อน นอกเหนือการใช้อาบเพื่อชำระร่างกายของทุกคน ตั้งแต่ลูกเล็ก เด็กแดง คนหนุ่มคนสาว ไปจนถึงผู้สูงอายุ   รวมถึงการซักผ้าทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่มแล้ว ยังใช้เป็นบ่อต้มหน่อไม้อีกด้วย”

สำหรับหน่อไม้ที่ใช้กรรมวิธีการต้มในบ่อน้ำพุร้อนนั้น ในภาษาของท้องถิ่นภาคเหนือจะเรียกว่า หน่อไม้ต้มโป่ง ที่นับตั้งแต่อดีตจนถึงวันนี้ ได้กลายเป็นสินค้าขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่งของบ้านโป่งสามัคคี เรียกว่าขายดิบขายดี ใครมาก็ต้องซื้อ ด้วยมีกลิ่นหอม หวาน รสชาติอร่อยกว่าหน่อไม้ที่ต้มด้วยน้ำร้อนปกติที่ทำกันทั่วไป

สำหรับหน่อไม้ที่นำมาทำเป็นหน่อไม้ต้มโป่งนั้นจะเก็บจากป่าในหมู่บ้านและใกล้เคียง โดยนำมาต้มในบ่อน้ำพุร้อนเป็นเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วจึงบรรจุถุงนำไปวางจำหน่ายที่ร้านค้าชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับไปทานเองในครอบครัว หรือเป็นของฝากของที่ระลึก

“ด้วยเรามีบ่อน้ำพุร้อนอยู่ 2 ฝั่ง คือฝั่งโป่งเหนือ กับฝั่งโป่งใต้ ฝั่งโป่งเหนือเราใช้เป็นสถานที่เพื่อการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวได้มาออนเซ็น ที่มีการให้บริการแบบมาตรฐาน ทั้งในรูปแบบของห้องอาบน้ำพุร้อนกลางแจ้ง(ฟรี) และห้องที่เป็นสัดส่วน ทั้งห้องรวม ห้องเดี่ยว รวมถึงการให้บริการนวดพื้นบ้าน สปาไทย และบริการอื่นๆ ส่วนฝั่งโป่งใต้ยังใช้เป็นสถานที่ต้มหน่อไม้ ที่ยังใช้กรรมวิธีแบบดั้งเดิม ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวชมได้” แม่ครูแดงกล่าว

นอกจากหน่อไม้ต้มโป่ง ของดีของดังที่ขึ้นชื่อของบ้านโป่งสามัคคียังมีอีกมากมายไม่ว่า การเลี้ยงไหมอีรี่และผลิตภัณฑ์จากไหม การเป็นแหล่งผลิตกาแฟอาราบิก้าพันธุ์ดีที่มีทั้งผลิตภัณฑ์กาแฟผงแปรรูป เมล็ดกาแฟสด รวมถึงสมุนไพรพื้นบ้าน งานหัตกรรมของชุมชน เช่น งานจักรสานสุ่มไก่ ตะกร้าสะพายหลัง ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดดอกหญ้า และหมอนใบชาดับกลิ่น เป็นต้นไปออนเช็นแบบไทยๆที่ “น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด บ้านโป่งสามัคคี” 1 ใน 8 โมเดลธุรกิจชุมชนที่ ธ.ก.ส.หนุน

น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด เข้าฟรีและพร้อมบริการ

สำหรับน้ำพุร้อนดอยสะเก็ด เป็นแหล่งน้ำแร่น้ำพุร้อนธรรมชาติที่เกิดจากที่ราบลุ่ม ซึ่งล่อมรอบไปด้วยนาข้าว ในวันนี้ด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจากทุกภาคส่วน จึงเกิดการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีความพร้อมในการให้บริการระดับมาตรบานสากล และที่สำคัญเปิดให้เข้าเข้าโดยไม่ต้องเสียค่าบัตรผ่าน

โดยภายในพื้นที่บ่อน้ำพุร้อน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นบ่อสาธารณะ เปิดให้ชาวบ้านได้ได้ใช้ตักอาบโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนด้านในมีไว้สำหรับให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ที่จะมีทั้งบ่อแช่ตัว บ่อแช่เท้า และบ่อต้นกำเนิดน้ำร้อน ที่มีความร้อนสูงพอที่จะทำให้ไข่สุก ซึ่งกิจกรรมการต้มไข่ในน้ำพุร้อน จึงเป็นอีกหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมกันมาก

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ทางชุมชนได้จัดให้มีบริการแบบประทับใจในการแช่น้ำร้อนอาบน้ำแร่ถึง 3 รูปแบบ คือ แบบห้อง VIP family room ให้เข้าไม่เกิน 5 คน ท่านละ 100 บาท แบบห้องส่วนตัว ท่านละ 70 บาท และแบบห้องแช่รวม แยกหญิง – ชาย ท่านละ 50 บาท ส่วนแบบแช่เท้า จะไม่เสียค่าบริการ

นอกจากนี้ยังมีรูปแบบของสระน้ำร้อนที่ให้บริการทั้งแบบธรรมดา และ สระน้ำแร่จากุซซี่ หรือวารีบำบัด โดยสระน้ำธรรมดา คิดค่าบริการท่านละ 50 บาท ส่วนสระน้ำแร่ คิดค่าบริการถ้าเป็นผู้ใหญ่ท่านละ 150 บาท เด็ก 100 บาท แต่ถ้าต้องการอาบน้ำแบบวิถีชีวิตชาวบ้าน แบบนี้จะไม่เสียค่าบริการขอเพียงให้เตรียมอุปกรณ์อาบน้ำจากบ้านเท่านั้นmessageImage_1578405140924

แล้วการแช่น้ำพุร้อนนั้นจะสร้างประโยชน์อย่างไร คำถามนี้ มีคำตอบมาว่า…

หนึ่ง การแช่น้ำร้อนในระยะเวลาสั้นๆ ที่อุณหภูมิ  40 – 43 องศาเซลเซียส จะช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย กล้ามเนื้อคลายตัว และร่างกายตื่นตัวมากขึ้น

สอง ส่วนการแช่น้ำอุ่นที่อุณหภูมิ 30 – 37 องศาเซลเซียส จะช่วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด

สาม การแช่น้ำแร่ร้อนสลับกับน้ำแร่เย็น ช่วยเสริมสร้างและบำรุงรักษา ลดไข้ ลดความกระหาย ขจัดสารพิษ

สี่ แรงลอยตัวของน้ำพุร้อนยังช่วยกระตุ้นสภาพของร่างกาย ทำให้ร่างกายปลอดโปร่ง ช่วยกระตุ้นให้สภาพแวดล้อมภายในของมดลูกและช่องท้องดีขึ้นสำหรับเพศหญิง อีกทั้งยังช่วยทำความสะอาดรูขุมขน แร่ธาตุจากน้ำพุร้อนจะช่วยทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ลดความเครียด ช่วยสร้างสมดุลในระบบประสาท

ห้า ซัลเฟอร์หรือกำมะถัน ที่มีอยู่ในน้ำพุร้อน เป็นแร่ธาตุสำคัญ เพราะสามารถรักษาโรคผิวหนังได้

หก ทองแดง แมงกานีส และแร่ธาตุต่าง ๆ ช่วยทำให้ผิวกระชับ

แต่ทั้งนี้มีข้อแนะนำว่า ในการลงแช่นั้น ไม่ควรแช่เกิน 20 นาที เพราะจะทำให้ร่างกายร้อน และเสียเหงื่อมากเกินไป

ดังนั้นหากจะพักผ่อน หากจะท่องเที่ยว น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด บ้านโป่งสามัคคี จึงเป็นอีกหนึ่งชุมชนต้องเที่ยว..ที่ต้องห้ามพลาด เกษตรก้าวไกลขอรับประกันครับไปออนเช็นแบบไทยๆที่ “น้ำพุร้อนดอยสะเก็ด บ้านโป่งสามัคคี” 1 ใน 8 โมเดลธุรกิจชุมชนที่ ธ.ก.ส.หนุน

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated