นายอำเภอเมืองชุมพรปลูกทุเรียน 200 ต้น ตายเหลือ 5 ต้น ต้องหามือดีมาช่วยจึงฟื้นชีพใหม่
นายอำเภอนักรบ ณ ถลาง "ผมลองผิดลองถูกมาเยอะ เคยปลูกทุเรียน 200 กว่าต้น เหลือรอดเพียง 5 ต้น"

เรื่อง/ภาพ : จตุพล เกษตรก้าวไกล

ทีมข่าวเกษตรก้าวไกล เดินทางไปถึงประตูสู่ภาคใต้ คือจ.ชุมพร พบข้าราชการในบทบาทของเกษตรกร ที่ปลูกทุเรียนในนาและสวนปาล์ม นั่นก็คือนายอำเภอเมืองชุมพร “นายนักรบ ณ ถลาง” เรียนรู้กันแบบจะๆ กับสารพัดเทคนิคการจัดการแบบกลางสวนที่ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร พร้อมข้อแนะนำจากเกษตรกรคนเก่ง “ผู้ใหญ่ดำรงศักดิ์ และคุณจำนงค์(พี่น้อย) สินศักดิ์” เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญการปลูกทุเรียนของจ.ชุมพร

นายอำเภอนักรบ บอกว่าการมาปลูกทุเรียนนี้ดีกว่าการตีกอล์ฟอีก ปลูก 10-20 ไร่ เดินดูเหนื่อยเลย
นายอำเภอนักรบ บอกว่าการมาปลูกทุเรียนนี้ดีกว่าการตีกอล์ฟอีก ปลูก 10-20 ไร่ เดินดูเหนื่อยเลย

นายนักรบ ณ ถลาง “นายอำเภอหัวใจเกษตร” กล่าวว่าพื้นที่เดิมของสวนทุเรียนแห่งนี้เป็นที่นามาก่อน จากนั้นก็ปรับเปลี่ยนเป็นสวนปาล์มน้ำมัน เมื่อปาล์มน้ำมันราคาถูก จึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนมาปลูกทุเรียน โดยมี ผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ สินศักดิ์ และ คุณจำนงค์(พี่น้อย) สินศักดิ์ สองสามีภรรยา เกษตรกรตัวจริง เสียงจริง มาช่วยแนะนำ โดยวิธีการปลูกทุเรียนของสวนคือการปลูกต้นพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน เพราะหากินเก่ง เมื่ออายุ 1 ปี ก็นำกิ่งทุเรียนหมอนทอง มาเสียบยอด หรือที่เรียกกันว่า “กาฝาก” เพื่อมาแทนที่ทุเรียนบ้าน ส่วนใหญ่ที่สวนจะเป็นพันธุ์หมอนทอง

พอได้มือดีมาช่วยทุเรียนที่ปลูกก็เติบโตอย่างมีอนาคต
พอได้มือดีมาช่วยทุเรียนที่ปลูกก็เติบโตอย่างมีอนาคต

นายอำเภอเมืองชุมพร กล่าวว่าด้านหลังพื้นที่เป็นนาเก่า บางช่วงจะมีน้ำขัง แต่เรามีวิธีจัดการที่จึงทำให้ทุเรียนอยู่ได้ ต้องใช้ปุ๋ยคอก มาปรับปรุงดิน นอกจากนี้เราก็ปลูกต้นกล้วยเสริมเพื่อให้ดินเกิดความชุ่มชื้น รากก็จะช่วยดึงดินให้โปร่ง เมื่อต้นกล้วยตายไปแล้วก็จะเป็นปุ๋ยที่ดี ตนเพิ่งปลูกทุเรียนมา 4 ปี ตอนที่มาเป็นนายอำเภอท่าแซะ จ.ชุมพร เพราะเห็นเกษตรกรเขาขายทุเรียนแล้วนำมาชั่งเป็นกิโลกรัม ไม่ใช่ทุเรียน แต่เป็นเงินที่นำมาชั่งกันเป็นกิโลกรัม คือ 1 กิโลกรัมเท่ากับ 1 ล้านบาท อยากรวยเหมือนชาวบ้านจึงต้องหันมาปลูกทุเรียน

“ที่สวนจะปลูกทุเรียนหลายรุ่น เมื่อตายก็ปลูกใหม่ จึงมีทุเรียนหลายรุ่น เราเน้นธรรมชาติ ปาล์มที่ยังอยู่นี้ก็จะช่วยบังลมให้ทุเรียน  เราใช้เทคนิคกาฝากนี้แหละปลูกทุเรียนจนเต็มสวน เทคนิคอีกอย่างหนึ่งคือเราจะใช้ขี้หมูใส่เสริมรอบๆ พุ่มต้นทุเรียน ใช้วิธีขุดหลุมรอบๆ ต้นทุเรียน สังเกตพุ่มอยู่ตรงไหน รากทุเรียนก็จะอยู่ตรงนั้น” นายอำเภอนักรบ กล่าว

ฝีมือผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ และภรรยา
ฝีมือผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ และภรรยา (กำลังเสียบยอด)

ด้านผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า เทคนิคอีกอย่างหนึ่งคือเราต้องกรีดต้นทุเรียน เพื่อให้ทุเรียนเจริญ โดยเราจะกรีดปีละครั้งเพื่อต้นจะได้ขยาย ส่วนวิธีการเสียบยอด เราจะใช้ยอดที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป หรือต้นที่ให้ผลแล้วยิ่งดี นำไปเสียบกับต้นทุเรียนพื้นบ้าน เราจะกรีดตรงที่มีตา เพื่อจะเอากิ่งทุเรียนพันธุ์ไปฝากไว้ คือตาต้องตรงกันระหว่างตาพันธุ์ทุเรียนหมอนทองกับตาของทุเรียนพื้นบ้าน เพราะเป็นแหล่งสะสมอาหาร เพื่อต้นทุเรียนจะได้รอดและโตเร็ว

ทุเรียนที่เสียบยอดเสร็จแล้ว
ทุเรียนที่เสียบยอดเสร็จแล้ว

“หลังจากเสียบยอดเสร็จแล้วจะนำพลาสติกมาพัน 1 รอบ อย่าให้น้ำเข้า อีก 25 วันจึงมาแกะพลาสติก จากนั้นก็ไปตัดยอดข้างบน เหลือไว้ให้ปรุงแสงเพียงกิ่งหรือสองกิ่งเท่านั้น ระหว่างที่เสียบยอดต้องงดน้ำประมาณ 10 วัน และไม่ควรใส่ปุ๋ย” ผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ กล่าว

ต้นนี้เสียบยอดติดดีแล้ว แต่เจอลมแรง ต้องฟื้นฟูใหม่
ต้นนี้เสียบยอดติดดีแล้ว แต่เจอลมแรง ต้องฟื้นฟูใหม่

นายอำเภอนักรบ กล่าวอีกว่า ตนลองผิดลองถูกมาเยอะ เคยปลูก 200 กว่าต้น เหลือรอดเพียง 5 ต้น ต่อมาได้ผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ และพี่น้อย (ภรรยาผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์) มาช่วยดูแล ผู้ใหญ่มีเทคนิคการกรีดต้น เหมือนสุภาพสตรีเมื่อท้องแล้ว ท้องต้องลายเพื่อการเจริญเติบโตของเด็ก ทุเรียนก็เหมือนกันเราต้องกรีด เพื่อให้ต้นขยายเร็ว รีบเจริญเติบโต เหมือนกับผู้หญิงท้องลายอย่างไรอย่างนั้น เมื่อต้นทุเรียนโตแล้ว อย่าให้ต้นไม้ใหญ่มาบัง เช่นต้นปาล์มเราก็ต้องเอาออก และอีกอย่างอย่าปล่อยให้ทุเรียนรกทึบ ไม่เช่นนั้นจะมีเพลี้ยหอย เพลี้ยจั๊กจั่นมารบกวน ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง

สระน้ำนายอำเภอขุดไว้เพื่อสำรองน้ำให้ทุเรียนและเลี้ยงปลาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจไปในตัว
สระน้ำนายอำเภอขุดไว้เพื่อสำรองน้ำให้ทุเรียนและเลี้ยงปลาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจไปในตัว

“ที่สวนทุเรียนของผมขุดสระไว้ประมาณ 1 ไร่เศษ เลี้ยงปลาไว้หลากหลายชนิด ทั้งปลาดุก ปลาสวาย ปลาทับทิม เลี้ยงมา 3 ปีแล้ว ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็จะมาให้อาหารปลาเป็นความสุขในวันพักผ่อน”

ผู้ใหญ่ดำรงศักดิ์ สินศักดิ์ ขณะดูแลทุเรียนต้นหนึ่งที่มีปัญหาโรคแมลง บอกว่าการปลูกทุเรียนต้องดูแลอย่างเข้าใจ
ผู้ใหญ่ดำรงศักดิ์ สินศักดิ์ ขณะดูแลทุเรียนต้นหนึ่งที่มีปัญหาโรคแมลง บอกว่าการปลูกทุเรียนต้องดูแลอย่างเข้าใจ

ด้านผู้ใหญ่ดำรงค์ศักดิ์ กล่าวสรุปว่า สำหรับการปลูกทุเรียนให้ไม่ตายก็อยู่ที่การดูแลรักษา ดินสำคัญที่สุด เราต้องนำดินไปตรวจก่อนปลูก แล้วใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เราต้องรู้จักดิน ว่ามัดขาดอะไร แล้วเติมในสิ่งเขาขาด ส่วนพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกต้องหมอนทองเป็นหลัก สามารถนำไปแปรรูปได้หลากหลาย ที่ชุมพรจะปลูกทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านก่อน เมื่ออายุ 1 ปี แล้วถึงไปเสียบยอดเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง วิธีเสียบต้องให้ตากิ่งพันธุ์และตาต้นกาฝากไว้ให้ตรงกัน รับรองต้นไม่ตาย รอดทุกต้น ส่วนด้านการตลาดไม่ต้องกลัว ทุเรียนไทยไปได้ดี กลัวแต่เราจะทำกันเอง เช่นตัดทุเรียนอ่อนไปขาย

ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็จะมาให้อาหารปลาเป็นความสุขในวันพักผ่อน
ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็จะมาให้อาหารปลาเป็นความสุขในวันพักผ่อน

“การเป็นข้าราชการแล้วมาทำเกษตรนี้ ถือว่าเวลามันมีค่า เมื่อมาทำเกษตรจริงๆ แล้วทิ้งตำราไปเลย การมาปลูกทุเรียนนี้ดีกว่าการตีกอล์ฟอีก ปลูก 10-20 ไร่ เดินดูเหนื่อยเลย มาทำเกษตรเถอะครับ รับรองได้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอีกด้วย” นายอำเภอนักรบกล่าวทิ้งท้าย

นายอำเภอหัวใจเกษตร คือฉายาใหม่ที่ทีมงานเกษตรก้าวไกลเรียกขาน
นายอำเภอหัวใจเกษตร คือฉายาใหม่ที่ทีมงานเกษตรก้าวไกลเรียกขาน
ขอบคุณ ฟอร์ด เรนเจอร์ "แกร่งทุกงานเกษตร" พาหนะที่ที่ลุยไปทั่วประเทศ
ขอบคุณ ฟอร์ด เรนเจอร์ “แกร่งทุกงานเกษตร” พาหนะที่ที่ลุยไปทั่วประเทศ
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated