องค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ เดินหน้าโครงการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชี้เป็นการทรมานสัตว์และไม่ใช้การอนุรักษ์ที่แท้จริง
องค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ เดินหน้าโครงการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชี้เป็นการทรมานสัตว์และไม่ใช้การอนุรักษ์ที่แท้จริง

คุณปัญจเดช สิงห์โท ที่ปรึกษาด้านนโยบาย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เปิดเผยว่า จากข้อมูลจำนวนเสือในประเทศไทย ที่อยู่ในกรงเลี้ยงพบว่ามีอยู่ประมาน 1,500 ตัว ส่วนใหญ่เป็นเสือโคร่งเบงกอล หรือเสือโคร่งไซบีเรีย ซึ่งไม่ใช่สายพันธุ์ท้องถิ่น โดยพบว่ามีการผสมพันธุ์เสือในกรง และทำให้จำนวนเสือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงกว่า 200 ตัวในรอบสิบปีที่ผ่านมา บ่งชี้ให้เห็นว่าไม่ใช่เพื่อการอนุรักษ์ แต่เป็นการเร่งเพิ่มจำนวนเสือ เพื่อนำเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ใช้สัตว์ป่าเพื่อความบันเทิง นอกจากนี้ ข้อมูลจากการศึกษาด้านต่างๆ ยังทำให้พบว่า การผสมพันธุ์เสือที่เกิดขึ้นอย่างไม่ถูกต้องนี้ เป็นไปเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ทางการค้า ทั้งเสือที่มีชีวิตและชิ้นส่วนของเสือ เพื่อใช้ทำยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในสถานะละเมิดอนุสัญญาไซเตส (CITES) ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่ว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ห้ามมิให้มีการค้าทั้งเสือที่มีชีวิต ชิ้นส่วน หรือผลิตภัณฑ์ และเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการอนุสัญญา CITES ได้มีหนังสือแจ้งเตือนมายังรัฐบาลไทย เพื่อให้ออกมาตรการในการควบคุมปริมาณเสือที่อยู่ในกรงเลี้ยง เนื่องจากมีมากเกินความจำเป็น และอาจมีการลักลอบค้าอย่างผิดกฎหมายได้

องค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ เดินหน้าโครงการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชี้เป็นการทรมานสัตว์และไม่ใช้การอนุรักษ์ที่แท้จริง
คุณปัญจเดช สิงห์โท

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จึงได้ดำเนินโครงการการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรง เพื่อเป็นการยุติการทารุณกรรมสัตว์จากกระบวนการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสม ทั้งขนาดของกรง สถานที่เลี้ยง อาหาร รวมทั้งการฝึกเสือเพื่อนำมาแสดง เป็นภาพรวมที่ทำให้เสือแต่ละตัวต้องพบกับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส นับตั้งแต่ลูกเสือที่ถูกพรากจากแม่ตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อให้แม่เสือมีโอกาสผสมพันธุ์อีกครั้งได้เร็วขึ้น ซึ่งตามปกติ ลูกเสือจะหย่านมเมื่ออายุ 4-6 สัปดาห์ และแยกจากแม่เมื่ออายุ 1-2 ปี กลับถูกนำมาเลี้ยงโดยคนเมื่ออายุเพียงแค่ 2 เดือน และให้อาหารที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของลูกเสือ ทั้งยังต้องทำกิจกรรมเพื่อให้ความบันเทิงกับคน เช่น ถูกอุ้มถ่ายรูป และป้อนนมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ลูกเสืออ่อนแอและมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการแยกลูกเสือออกมาฝึกเพื่อการแสดง เช่น การลอดห่วงไฟ หรือการจัดแสดงที่ขัดกับหลักพฤติกรรม เช่น การขังรวมเพื่อให้ลูกเสือใช้ชีวิตร่วมกับสัตว์ชนิดอื่น เช่น การให้กินนมจากแม่หมู เสือที่โต จะถูกเลี้ยงด้วยโครงไก่และเนื้อหมูเนื้อวัวแล่ปรุงสุก ซึ่งทำให้สูญเสียวิตามินตามธรรมชาติไป บางครั้ง อาหารของมัน จะเป็นอาหารสำเร็จรูปของแมวและหมา ทำให้เสือส่วนใหญ่เกิดภาวะขาดสารอาหาร เพราะตามธรรมชาติ เสือจะกินซากสัตว์ทั้งตัว ที่รวมเนื้อ กระดูก และหนัง เพื่อให้ได้โปรตีน ไขมันและสารอาหารที่จำเป็น ในปริมาณสูงเท่าที่ร่างกายต้องการ

องค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ เดินหน้าโครงการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชี้เป็นการทรมานสัตว์และไม่ใช้การอนุรักษ์ที่แท้จริงทั้งนี้ ในปัจจุบันกฎหมายภายใต้ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2560 ยังมีช่องว่างและยังเปิดโอกาส ในการอนุญาตให้ผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยงได้ ถึงแม้กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะมีมาตรการในการติดตามควบคุมและบังคับใช้กฎหมายในการผสมพันธุ์เสือดังกล่าว เช่น การแยกพ่อพันธุ์กับแม่พันธุ์ การตรวจดีเอ็นเอเสือ แต่จากข้อมูลก็ยังพบการลักลอบผสมพันธุ์เสืออย่างต่อเนื่อง การผสมพันธุ์ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง จะมีผลเสียทางด้านพันธุกรรมที่เกิดจากการผสมเลือดชิด ทำให้ร่างกาย ไม่สมบูรณ์ และมักจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน ด้วยเหตุนี้ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จึงทำการรณรงค์เรียกร้องให้ภาครัฐปรับเปลี่ยนนโยบาย ให้เกิดการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง เพื่อป้องกันการเพิ่มจานวนเสือซึ่งเป็นสัตว์ป่า ที่จะถูกนำมาใช้ เพื่อความบันเทิงและทำการค้าในรูปแบบต่างๆ ในการรณรงค์นี้ เราต้องการผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนอย่างน้อย 10,000 ชื่อ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน เพื่อให้เป็นการเรียกร้องที่สมบูรณ์ตามกฎเกณฑ์ที่รัฐกำหนด

องค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ เดินหน้าโครงการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชี้เป็นการทรมานสัตว์และไม่ใช้การอนุรักษ์ที่แท้จริง“การผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยงส่วนใหญ่ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ การผสมพันธุ์เสือในกรงไม่ช่วยในการอนุรักษ์ เสือเหล่านี้ไม่สามารถที่จะอยู่ในป่าตามธรรมชาติได้ และไม่สามารถปล่อยกับคืนสู่ป่าได้ เนื่องจาก การเลี้ยงดูที่ถูกฝึกให้ใกล้ชิดกับคน หากปล่อยกับคืนสู่ป่ามีโอกาสถูกล่าได้ง่ายมาก และในการประชุม ไซเตส เมื่อ ปี 2007 ได้ระบุว่าการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยงของสถานที่โชว์การแสดงสัตว์ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ (Cites international regulation:2007) ทั้งนี้ไซเตสได้สนับสนุนให้มีการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงและการผสมพันธุ์เสือเพื่อใช้ในการแสดง ในการประชุมเมื่อปี 2552 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ภายใต้โครงการรณรงค์ดังกล่าว มุ่งเน้นการห้ามผสมพันธุ์เพื่อนำเสือมาใช้ในความบันเทิงเท่านั้น แต่ไม่ได้ห้ามผสมพันธุ์เพื่อการอนุรักษ์ เช่น เสือสายพันธุ์ท้องถิ่น ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมอุทยานฯ หรือสวนสัตว์ของรัฐ ที่ทำการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์ เช่น ศูนย์เพาะพันธุ์เสือของกรมอุทยานแห่งชาติฯ หรือหน่วยงานวิจัยอื่นๆ”คุณปัญจเดช กล่าว

องค์กรพิทักษ์สัตว์ฯ เดินหน้าโครงการยุติการผสมพันธุ์เสือในกรงเลี้ยง ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ชี้เป็นการทรมานสัตว์และไม่ใช้การอนุรักษ์ที่แท้จริง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated