กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้เดินหน้าขับเคลื่อนผลิตทุเรียนคุณภาพ
กรมส่งเสริมการเกษตร หนุนสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้เดินหน้าขับเคลื่อนผลิตทุเรียนคุณภาพ

นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายชาวสวนทุเรียนภาคใต้ ณ โรงแรม ลอฟท์ มาเนีย อ.เมือง จ.ชุมพร ว่า “ทุเรียน” ถือเป็นราชาแห่งผลไม้เขตร้อนที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่ดีที่สุดของโลก เนื่องจากมีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต มีสายพันธุ์ทุเรียนที่ดี ตลอดจนเกษตรกรมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถบริหารจัดการสวนทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตทุเรียนมีคุณภาพดี รสชาติเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เป็นผลไม้เศรษฐกิจหลักอันดับ 1 ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงสุด ซึ่งยืนยันได้จากปริมาณผลผลิตทุเรียนสดส่งออกไปต่างประเทศ โดยในปี 2562 ประเทศไทยส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ จำนวน 655,346 ตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกทุเรียนผลสดกว่า 45,000 ล้านบาท

นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

หนุนสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ดังนั้น การสัมมนาเชื่อมโยงเครือข่ายชาวสวนทุเรียนภาคใต้ ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร และสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ จึงได้จัดขึ้นเพื่อให้เครือข่ายเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพ ทั้งนี้ กิจกรรมในงานประกอบด้วย การเสวนาเรื่อง อนาคตทุเรียนไทย จากคณะวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ การเสวนาเรื่อง แนวทางส่งเสริมการผลิตทุเรียนคุณภาพ จากสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ การแสดงนิทรรศการทางวิชาการ และผลงานของสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ รวมทั้งแปลงใหญ่ทุเรียนของ จ.ชุมพร และการออกบูทนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนทุเรียนจากภาคเอกชน รวมถึงกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนภาคใต้ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมการสัมมนาจาก 14 จังหวัดภาคใต้ รวม 400 คน เพื่อมุ่งหวังให้เครือข่ายเกษตรกรมีความมั่นคง และยั่งยืนในการประกอบอาชีพทำสวนทุเรียน

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ และนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยคนแรก
นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล(ยืนกลาง) นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ และนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยคนแรก

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ และนายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนไทยคนแรก กล่าวถึงแผนการดำเนินงานในอนาคตของสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา และสำนักงานเกษตรจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ โดยจะขยายจำนวนสมาชิกให้ครอบคลุมทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ และจะร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือต้นน้ำ ส่งเสริมแนวคิดการสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาชิก การวางแผนการผลิตเพื่อตอบโจทย์การตลาด (แผนธุรกิจการเกษตร) ส่งเสริมการเรียนรู้ปัจจัยพื้นฐานการผลิต ได้แก่ พฤติกรรมของพืช/จุดวิกฤตทุเรียน เทคโนโลยี/ปัจจัยการผลิตทั้งเคมีเกษตรและสารชีวภัณฑ์ การเรียนรู้ภูมิประเทศและภูมิอากาศ การจัดการแรงงานภาคการผลิต การเรียนรู้กระบวนการผลิตทุเรียนคุณภาพ ทั้งในฤดูและนอกฤดูกาลผลิตอย่างยั่งยืน ตลอดจนระบบการผลิตภายใต้มาตรฐาน GAP ทุเรียน การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เอกชน เกษตรกรในการพัฒนาทุเรียนคุณภาพ ส่งเสริมการจัดการทุเรียนคุณภาพโดยแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ทำหลักสูตรการจัดการทุเรียนคุณภาพที่ยั่งยืน (โรงเรียนทุเรียน) การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสู่เกษตรกรหนุนสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้

กลางน้ำ ส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลแปลงใหญ่ สมาชิกสมาพันธ์เชิงประจักษ์ การสร้างความเข้มแข็งกลุ่มเครือข่ายสมาชิกสมาพันธ์ ส่งเสริมแนวคิดการบริหารจัดการกลุ่ม/องค์กรชาวสวนทุเรียน โดยใช้หลักธรรมาภิบาล การมีวินัยทางการเงิน การบริหารจัดการต้นทุนการผลิต ได้แก่ การบริหารจัดการปัจจัยการผลิตในแปลงปลูก การรวมกลุ่มจัดหาปัจจัยการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิต การจัดการปุ๋ยผสมตามความต้องการของต้นทุเรียนเพื่อใช้ให้เหมาะสมต่อช่วงการพัฒนาและเจริญเติบโตของผลทุเรียน และส่งเสริมการเข้าถึงเงินทุนและการบริหารเงินทุนในฤดูกาลผลิต ทั้งในรูปแบบบุคคลและรูปแบบกลุ่มหนุนสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้

ปลายน้ำ ส่งเสริมการจำหน่ายในรูปแบบออนไลน์ หรือการส่งผลผลิตให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง การจำหน่ายสินค้าแปรรูปจากทุเรียนไปยังพื้นที่ต่างๆ การประชาสัมพันธ์ทุเรียนอัตลักษณ์จากจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายตลาด การนำทุเรียนคุณภาพเข้าจำหน่ายใน Modern trade เป็นต้นหนุนสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้

ทั้งนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร คาดหวังว่า จากแนวทางการยกระดับสมาชิกเครือข่ายชาวสวนทุเรียนภาคใต้ เพื่อการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพทุเรียนจะเกิดผลสัมฤทธิ์ คือ เกษตรกรชาวสวนทุเรียนมีการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นทางการ มีการบริหารจัดการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ มีการทำแผนธุรกิจทุเรียน ร่วมกันจัดหาปัจจัยการผลิต การเพิ่มช่องทางการตลาด การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต จัดหาตลาดซื้อขายที่แน่นอน มีการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญามาปรับใช้ในแปลงปลูก การใช้เครื่องทุ่นแรง (เครื่องจักร เครื่องมือ) เพื่อลดการใช้แรงงาน รวมทั้งมีการบริหารจัดการเงินทุนและทรัพยากรของกลุ่ม เพื่อความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนของกลุ่มต่อไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated