รู้จัก โรคไหม้ (Blast)…ภัยคุกคามนาข้าว

นายสมโชค ณ นคร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท เปิดเผยว่า เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ชาวนาเริ่มหว่านข้าวลงในแปลงนา กว่าข้าวจะมีอายุได้ถึงเวลาเก็บเกี่ยวต้องใช้เวลาพอสมควรระหว่างนี้ ยังมีโรคและแมลงที่เข้าทำลายต้นข้าว ตั้งแต่ระยะต้นกล้า แตกกอ จนถึงเก็บเกี่ยว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตไม่มาก ก็น้อย

โรคไหม้ (Blast) เป็นโรคข้าวอีกชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea พบโรคในแปลงนาที่ต้นข้าว หนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราสูงและมีสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในกลางคืน ลมแรงจะแพร่กระจายโรคได้ดี

รู้จัก โรคไหม้ (Blast)…ภัยคุกคามนาข้าวนายสมโชค กล่าวถึง ลักษณะอาการว่า ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลาง ความกว้าง ของแผลประมาณ 2-5 มม. ความยาวประมาณ 10-15 มม.แผลสามารถลุกลามกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้ารุนแรงข้าว จะแห้งฟุบตาย ในระยะแตกกอ พบที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น แผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้าและลุกลามติดต่อกันที่บริเวณข้อต่อและมักจะหลุดออกจากกาบใบส่วนระยะออกรวง (โรคเน่าคอรวง)
ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมดแต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะ หักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

สำหรับการป้องกัน
1) แนะนำให้ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานโรค เช่น สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2 สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี90 ชัยนาท1 พิษณุโลก1และ คลองหลวง1 เป็นต้น
2) แช่เมล็ดข้าวปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเอดร์มา อัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 50-100 ลิตรหรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล คาซูกาไมซิน คาร์เบนดาซิม
โพรคลอราซ อัตราตามคำแนะนำในสลาก

รู้จัก โรคไหม้ (Blast)…ภัยคุกคามนาข้าว“ที่สำคัญเมื่อปลูกข้าวแล้วเกษตรกรต้องหมั่นสำรวจแปลงนาอยู่เสมอหากพบอาการแผลโรคไหม้น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ใช้เชื้อไตรโครเดอร์มาอัตรา 1 กก./น้ำ 200 ลิตรพ่น หรือใช้เชื้อบีเอส(บาซิลลัส ซับทีลิส) พ่นอัตราตามคำแนะนำในฉลาก แต่ถ้าพบแผลโรคไหม้มากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ แนะนำให้ใช้ อิดิเฟนฟอส 50 %์ อีซี อัตรา 20 – 25 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร บลาสติซิดิน – เอส 2 % อีซี อัตรา 20 – 25 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร และไตรไซคราโซล 75 % ดับบลิวพี อัตรา 10 – 16 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราต้านทานสารเคมีจึงควรเลือกใช้สารเคมีบางชนิดพ่นสลับกัน ทั้งนี้ในการใช้สารเคมีควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้และสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตามหากพบการระบาดของโรคไหม้ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ เพื่อเข้าตรวจสอบและควบคุมการระบาดอย่างรวดเร็ว”ผอ.สสก.1 กล่าวในที่สุด

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated