กรมส่งเสริมการเกษตรยกระดับโครงการฟาร์มตัวอย่าง 17 จังหวัดต้านภัยโควิด 19
กรมส่งเสริมการเกษตรยกระดับโครงการฟาร์มตัวอย่าง 17 จังหวัดต้านภัยโควิด 19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทาน ได้จัดทำโครงการฟาร์มตัวอย่าง ต้านภัยโควิด 19 ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลับถิ่นฐานภูมิลำเนา ตกงาน ขาดรายได้ โดยน้อมนำโครงการฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการช่วยเหลือประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด

กรมส่งเสริมการเกษตรยกระดับโครงการฟาร์มตัวอย่าง 17 จังหวัดต้านภัยโควิด 19
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมดำเนินกิจกรรมโครงการฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโควิด 19 ตั้งแต่ระยะที่ 1 โดยมุ่งเน้นการช่วยเหลือเป็นลักษณะการจ้างแรงงานให้ประชาชนมีรายได้ควบคู่ไปกับการฝึกอบรมองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งด้านพัฒนาฝีมือแรงงาน และด้านการเกษตร โดยใช้แนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ดำเนินการในพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ใน 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง สกลนคร นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม บึงกาฬ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อ่างทอง สิงห์บุรี ราชบุรี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และพัทลุง รวม 30 ฟาร์ม แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้

กรมส่งเสริมการเกษตรยกระดับโครงการฟาร์มตัวอย่าง 17 จังหวัดต้านภัยโควิด 19ระยะที่ 1 เตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการ ระยะเวลา 2 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2563โดยใช้เครื่องจักรหนักเตรียมการขุด ปั้น ตกแต่งพื้นที่ จัดทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การเสริมสร้างพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ การเตรียมดิน ลงกล้าพันธุ์ เน้นการจ้างแรงงานเร่งด่วน โดยกระทรวงแรงงาน ค่าจ้างแรงงาน 300 บาท/คน/วัน ควบคู่ไปกับการฝึกอบรมอาชีพด้านการเกษตร และด้านอื่น ๆ ซึ่งการดำเนินการในระยะที่ 1 กรมส่งเสริมการเกษตรได้สนับสนุนพืชผักสวนครัวให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 1,104 คน ๆ ละ 3 ต้น มอบพร้อมถุงอนาคตฟาร์มตัวอย่าง ในพิธีเปิดโครงการฯ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 ณ โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ทั้ง 30 ฟาร์ม รวมจำนวน 3,312 ต้น ดำเนินการโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง 17 จังหวัด ร่วมกับศูนย์ขยายพันธุ์พืชในพื้นที่ พร้อมทั้งมอบหมายให้ร่วมจัดทำแผนการดำเนินงานของ แต่ละฟาร์ม ตามความต้องการของประชาชนด้วย ระยะที่ 2 การจำหน่ายแบ่งปันและจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม ระยะเวลา 2 เดือน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2563 เมื่อได้ผลผลิต เผื่อแผ่ แบ่งปัน และแปรรูปจำหน่าย การคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมภายในฟาร์ม ระยะที่ 3 ขยายผลสร้างเครือข่ายพอเพียง ระยะเวลา 1 เดือน คือ เดือนกันยายน 2563 เน้นการเปลี่ยนถ่ายกิจกรรมสู่ฟาร์มตัวอย่าง โดยศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 1 – 4 ร่วมกับผู้จัดการฟาร์มตัวอย่างฯ และหน่วยงานในพื้นที่ ดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อให้สามารถช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้ทันสถานการณ์

กรมส่งเสริมการเกษตรยกระดับโครงการฟาร์มตัวอย่าง 17 จังหวัดต้านภัยโควิด 19สำหรับกรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการดำเนินการโครงการฯ นี้ ต่อเนื่องจากกระทรวงแรงงาน โดยเริ่มกิจกรรมตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นระยะเวลา 45 วัน ซึ่งจะดูแลกิจกรรมการเกษตรในพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ทั้ง 17 จังหวัด จำนวน 30 ฟาร์ม พื้นที่ประมาณ 400 ไร่ มีการสนับสนุนพันธุ์พืชและวัสดุการเกษตร รวมทั้งองค์ความรู้ตามหลักวิชาการที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับกิจกรรมภายใต้โครงการ จะเห็นได้ว่าการดำเนินการโครงการฯ นี้ จะช่วยให้ประชาชนบริเวณพื้นที่รอบโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแหล่งอาหารและมีรายได้จากการจ้างเหมาแรงงานดูแลกิจกรรมการเกษตร มีแหล่งเรียนรู้งานด้านการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ จนทำให้สามารถนำความรู้ไปปรับใช้และพัฒนาเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้สู่ครัวเรือนต่อไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated