“ดีป้า” ควง ธ.ก.ส. ลุย 4 ภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตเกือบ 100 ชุมชน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเสริมการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน ขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน
“ดีป้า” ควง ธ.ก.ส. ลุย 4 ภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตเกือบ 100 ชุมชน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเสริมการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน ขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน

18 สิงหาคม 2563, โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร – สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จัดงานแถลงความร่วมมือการส่งเสริมและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านชุมชนท่องเที่ยว ภายใต้ โครงการส่งเสริมและสนับสนุนคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa mini Transformation Voucher) ด้านท่องเที่ยวชุมชน ประจำปี 2563

“ดีป้า” ควง ธ.ก.ส. ลุย 4 ภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตเกือบ 100 ชุมชน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเสริมการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน ขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า  กล่าวว่า ดีป้า ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล จึงได้จัดทำ “มาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa mini Transformation Voucher)” เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Transformation) โดยกระจายตัวอย่างทั่วถึงในวงกว้าง ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจไทย ได้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการลดต้นทุน การผลิตสินค้าและบริการ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาไปสู่การแข่งขันเชิงธุรกิจในรูปแบบใหม่ในระยะยาวต่อไป

“โดยภาคการท่องเที่ยว ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทย กระตุ้นรายได้ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทย อีกทั้งยังส่งผลดีกระจายไปในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านค้าทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กลุ่มเกษตรกร และธุรกิจขนส่ง เป็นต้น ซึ่งการท่องเที่ยวชุมชนเป็นหนึ่งในภาคส่วนการท่องเที่ยว ที่ช่วยกระจายรายได้ของการท่องเที่ยวไปสู่ชาวบ้านโดยตรง สร้างความเติบโตสู่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ จึงสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ต้องการให้เศรษฐกิจฐานรากขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

“ดีป้า” ควง ธ.ก.ส. ลุย 4 ภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตเกือบ 100 ชุมชน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเสริมการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน ขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน
นายสมเกียรติ กิมาวหา

ด้าน นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส. มีนโยบายในการขับเคลื่อนธุรกิจชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการดำเนินงานร่วมกับ ดีป้า ในครั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้มีการประชาสัมพันธ์ไปยังชุมชนเป้าหมาย รวมถึงพิจารณาคัดเลือกโครงการของชุมชน องค์กรชุมชน และผู้ประกอบการในชุมชนท่องเที่ยวกว่า 50 ชุมชนทั่วประเทศที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ เข้าร่วมรับการส่งเสริมสนับสนุนจากดีป้า เพื่อนำไปพัฒนาชุมชนโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชน รวมถึงดำเนินการ ติดตาม กำกับ และรายงานผลการดำเนินงาน ตลอดระยะเวลาของโครงการฯ

ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่าง ธ.ก.ส. กับ ดีป้า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถสนับสนุนชุมชนไปสู่เป้าหมายจนได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย เช่น รางวัล Prime Minister’s Digital Award 2019 สาขา Digital Community of the year ของชุมชนบ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้นำแอปพลิเคชันเก็บข้อมูลต้นไม้ที่ปลูกแล้วนำมาคำนวณเครดิตคาร์บอนแปรเป็นมูลค่า และรางวัล Prime Minister’s Digital Award 2019 สาขา Digital Talent Award of the year ของวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองสาหร่าย จังหวัดกาญจนบุรี ที่นำเทคโนโลยีด้านการพยากรณ์อากาศ มาใช้พยากรณ์อากาศได้ล่วงหน้า 24 ชั่วโมง รวมถึงร่วมกันจัดโครงการอบรมชุมชนท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4 ภาคทั่วประเทศ ในหัวข้อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในชุมชน เป็นต้น

“ดีป้า” ควง ธ.ก.ส. ลุย 4 ภาค ยกระดับคุณภาพชีวิตเกือบ 100 ชุมชน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเสริมการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ชุมชน ขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนสำหรับโครงการดังกล่าว โดยฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ดีป้า ได้จัดกิจกรรมยกระดับศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน เดินหน้า 4 ภาคสร้างความเข้าใจในการขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ช่วยเสริมทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในชุมชนได้ไม่น้อยกว่า 77 ชุมชน จำนวนกว่า 236 คน และเกิดการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างชุมชนกับบริษัทเทคโนโลยี สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 770,000 บาทต่อชุมชน นอกจากนี้ยังสามารถยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ด้วยการลดต้นทุน เพิ่มรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ต่อชุมชน พร้อมกับสร้างเครือข่ายในพื้นที่ทั่วประเทศ นำไปสู่การส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนต่อไป

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated