สร้างแบรนด์ “กลางเล” ธุรกิจอาหารทะเลจากชุมชน...ห่วงโซ่คุณค่าใหม่
ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ โชว์อาหารทะเลแบรนด์กลางเลที่ต่อยอดจากงานวิจัย

ผศ.ดร.อภิรักษ์ สงรักษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย “การขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของธุรกิจอาหารทะเลในจังหวัดตรัง เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนประมงชายฝั่ง” ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การยกระดับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร (SMAEs)” โดยการสนับสนุนของแผนงานการพัฒนาภูมิภาคและจังหวัด (SIP 4.0) กล่าวว่า ฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของจังหวัดตรัง มีความสำคัญต่อวิถีชุมชนชายฝั่ง กว่า 4,000 ครัวเรือน ขณะที่สถานการณ์ความต้องการอาหารทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ราคาผลผลิตสัตว์น้ำเพิ่มสูงขึ้น โดยพบว่าส่วนแบ่งของผลกำไรของผลผลิตอาหารทะเลกระจายให้กับชุมชนชายฝั่งหรือชาวประมงไม่สูงเท่าที่ควร จึงนำไปสู่งานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์น้ำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจสร้างแบรนด์ “กลางเล” ธุรกิจอาหารทะเลจากชุมชน

โดยมีสัตว์น้ำที่เลือกทำวิจัย ทั้งหมด 5 ชนิดหลัก ได้แก่ ปูม้า กุ้งแชบ๊วย หมึกหอม หมึกกระดอง และหอยตะเภา ในพื้นที่เป้าหมายชุมชนชายฝั่งอำเภอหาดสำราญ และอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง พื้นที่ 3 ตำบล 10 หมู่บ้านสร้างแบรนด์ “กลางเล” ธุรกิจอาหารทะเลจากชุมชน

จากความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ นำไปสู่การใช้โจทย์ทำอย่างไรให้การจัดการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของระบบตลาดอาหารทะเลตรังมีคุณภาพ สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากและขยายผล ส่งต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มในพื้นที่จากธุรกิจที่ชุมชนสร้างขึ้น และสร้างผู้ประกอบการธุรกิจอาหารทะเล ใช้กลไกการตลาดควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน ด้วยเป้าหมายของผลลัพธ์ นั่นคือ การสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการเพิ่มมูลค่า 30% ของธุรกิจอาหารทะเลในจังหวัดตรังนั่นเอง

“งานวิจัยนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นผู้รวบรวมและสร้างธุรกิจของเขาขึ้นมาเอง เป็นการสร้างช่องทางขายตรงจากชาวประมงถึงผู้บริโภค ภายใต้ชื่อแบรนด์ของชุมชนเอง เรามองว่าถ้าอยากให้เศรษฐกิจชุมชนยั่งยืนอย่างแท้จริง ควรให้คนในชุมชนสร้างธุรกิจด้วยตัวเองเป็น สร้าง Connection กับตลาดภายนอกได้ วิเคราะห์ตลาดและปัจจัยทางสังคมได้ จะส่งผลให้ชุมชนปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น การรักษาคุณภาพสัตว์น้ำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น”

คณะนักวิจัยที่มาร่วมเสวนายกระดับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร (SMAEs)
คณะนักวิจัยที่มาร่วมเสวนายกระดับห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร (SMAEs)

สำหรับงานวิจัยชุดนี้เป็นการเข้าไปศึกษาห่วงโซ่อุปทานของอาหารทะเล จังหวัดตรัง ทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ คือชาวประมง กลางน้ำ ที่เป็นแพปลา และปลายน้ำ ที่เป็นผู้รับซื้อไปบริโภคหรือทำเป็นอาหารขายตามร้านอาหารและโรงแรมรีสอร์ทต่างๆ เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Value Chain) แม้ว่าการสร้างช่องทางใหม่ของการจัดทำหน่ายอาหารทะเล ที่มุ่งให้คนต้นน้ำมีส่วนแบ่งรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้นแต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่ตลอดเวลาก็คือ การไม่สร้างผลกระทบเชิงลบให้กับห่วงโซ่เดิม

“งานวิจัยนี้มุ่งสร้างมาตรฐานเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ เกิดเป็นสินค้าใหม่ที่สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยไม่ไปตัดหรือไปทับกับวงจรเดิมที่มีอยู่ก่อน เพราะเรายังต้องการให้วงจรเก่ายังสามารถคงอยู่ได้ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเดิม ส่วนวงจรใหม่ที่เกิดขึ้นมาจากงานวิจัยนี้ก็จะเน้นไปที่ตลาดใหม่ ผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ซึ่งทั้งสองส่วนนี้หากสามารถเดินไปด้วยกันได้ ก็จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลของจังหวัดมีการเติบโตที่เข้มแข็งและทำให้คนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชาวประมง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”

ขณะเดียวกัน สถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา งานวิจัยดังกล่าวนำไปสู่การเปิดตัวเพจ Klang-Le (กลางเล) เพื่อส่งต่ออาหารทะเลสดแบบไม่น็อกน้ำแข็ง ไม่มีฟอร์มาลิน ไม่มีสารฟอกขาว ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ที่ชื่นชอบอาหารทะเลอย่างล้นหลาม

นายศักดิ์ดา ทุ่ยอุ้ย หรือ "กำนันจันทร์" แกนนำแบรนด์กลางเล
นายศักดิ์ดา ทุ่ยอุ้ย หรือ “กำนันจันทร์” แกนนำแบรนด์กลางเล

นายศักดิ์ดา ทุ่ยอุ้ย หรือ “กำนันจันทร์” เจ้าของแพปลา ต.ตะแสะ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง กล่าวว่า งานวิจัยดังกล่าวทำให้เกิดการขยายฐานการตลาดไปยังลูกค้าใหม่ ขณะที่ลูกค้าเก่ายังคงอยู่ โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา “แบรนด์กลางเล” มียอดการสั่งซื้อจากระบบออนไลน์เกินความคาดหมาย

“สินค้าแบรนด์กลางเลของเรามีความสดใหม่ ซึ่งแบรนด์ดังกล่าวเป็นผลงานวิจัยที่ถูกพัฒนามาเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ โดยเรามีการจัดการอาหารทะเลแบบสด มีคุณภาพ ผ่านการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี สามารถเก็บได้นานถึง 3 เดือน ที่ผ่านมามีลูกค้าหน้าใหม่สนใจสั่งสินค้าจำนวนมาก ทำให้การเปิดเพจกลางเลและรับออเดอร์จากลูกค้าทั่วประเทศสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวประมงในพื้นที่เพิ่มขึ้น”       สร้างแบรนด์ “กลางเล” ธุรกิจอาหารทะเลจากชุมชนอย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของธุรกิจอาหารทะเลในจังหวัดตรัง นอกจากจะมีการขยายเครือข่ายและเปิดช่องทางใหม่ขึ้นมาโดยไม่ทำลายห่วงโซ่เดิมแล้ว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เชื่อมโยงการบริการเดลิเวอร์รี่และยกระดับความร่วมมือของคนทั้งห่วงโซ่ เพื่อสร้างระบบอาหารสมดุลและยั่งยืน.

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated