"สุรพงษ์ กระแสโสม" ทายาทหม่อนไหมในชุมชน ต้นแบบความสำเร็จของกรมหม่อนไหม

เพราะหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ ปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งพบว่า เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้รับการศึกษาน้อย ขาดเรียน ออกกลางคัน ไม่ได้เรียนต่อในระดับสูง หรือแม้ได้เรียนจนจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับแล้วแต่ก็ไม่มีอาชีพ โดยสาเหตุ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากทางบ้านมีฐานะยากจน ผู้ปกครองมีอาชีพไม่มั่นคงทำให้มีรายได้น้อยไม่เพียงพอสาหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายในครอบครัวและอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นับเป็นอาชีพที่มีความสำคัญอาชีพหนึ่งต่อเศรษฐกิจและสังคมชนบท

S__8757263

ปัจจุบันภาคการเกษตรของประเทศไทยจะมีเกษตรกรในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอยู่เป็นจำนวนมากและสินค้าไหมไทยก็ยังเป็นสินค้าที่ได้การยอมรับจากผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างดีด้วยคุณลักษณะรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และที่สำคัญ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร และผู้ด้อยโอกาส ทรงยึดการดำเนินงานโดยให้คนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้การพัฒนาและใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนาให้ครอบคลุมมิติต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและยังประโยชน์สุขแก่ประชาชนอย่างสมดุล ทั้งทางด้านอาหารโภชนาการสุขอนามัย การศึกษา การงานอาชีพ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่น

นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา รองอธิบดีกรมหม่อนไหม เยี่ยมผลงานของทายาทหม่อนไหมที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา รองอธิบดีกรมหม่อนไหม เยี่ยมผลงานของทายาทหม่อนไหมที่อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
กรมหม่อนไหมกับการดำเนินงานสนองพระราชดำริ

นางนงลักษณ์ เกตุเวชสุริยา รองอธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า ดังนั้น กรมหม่อนไหม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาความรู้และส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ให้แก่ เด็กและเยาวชนในทั้งในโรงเรียนและชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการอาชีพการเกษตร เกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และเส้นใยธรรมชาติ มีนโยบายที่จะดำเนินการถ่ายทอดสนองพระราชดาริในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำให้เกิดการสร้างอาชีพทางด้านหม่อนไหมอันจะเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ การสร้างความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนในอนาคต รวมทั้งเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และสืบทอดภูมิปัญญาด้านหม่อนไหมให้คงอยู่คู่ประเทศไทยต่อไป

ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น กรมหม่อนไหมจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านหม่อนไหม รวมทั้งจัดฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทั้งในโรงเรียน ชุมชนที่สนใจศึกษางานด้านหม่อนไหม รวมทั้งการศึกษางานในศูนย์เรียนรู้เชิงอนุรักษ์ด้านหม่อนไหม ไม้ย้อมสี และผ้าไหม ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านหม่อนไหม และศูนย์ท่องเที่ยวครบวงจร ทำให้เกิดผลดี ต่อเกษตรกรที่ประกอบอาชีพหม่อนไหมให้เกิดความมั่นใจและมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพต่อไป

S__8757258

เป้าหมายการพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2563

รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวต่อไปว่า โครงการสร้างทายาทหม่อนไหม จึงนับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สำคัญของกรมหม่อนไหม ที่ได้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2563 ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในด้านยุทธศาสตร์ประเทศด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในด้านการส่งเสริมสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยกรมหม่อนไหมได้บรรจุการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างทายาทหม่อนไหม ไว้ภายใต้ในแผนปฏิบัติราชการตามแผนงานยุทธศาสตร์เสริมสร้างพลังทางสังคม โครงการส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการสร้างทายาทหม่อนไหม ประจำปีงบประมาณ 2563 ที่กรมหม่อนไหมดำเนินการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ…

หนึ่ง เพื่อส่งเสริมอาชีพด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การสาวไหม ฟอกย้อมสีเส้นไหม การทอผ้าและการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหม ให้แก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียน และทายาทเกษตรกรในชุมชน

สอง เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน มีรายได้ระหว่างเรียน มีอาชีพที่มั่นคงหลังจากจบการศึกษา หรือไม่มีโอกาสศึกษาต่อ สามารถสร้างอาชีพที่พึ่งพาตนเองได้

สาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอาชีพด้านหม่อนไหม พร้อมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ เด็ก เยาวชนและผู้มีความสามารถในการพัฒนางานด้านหม่อนไหม 

สี่ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้เกิดการเรียนรู้รวมทั้งการสร้างรายได้และอาชีพที่ยั่งยืนด้วยตนเองให้แก่เยาวชน และผู้ที่สนใจ

S__8757262

สำหรับโครงการสร้างทายาทหม่อนไหม ที่กรมหม่อนดำเนินการ ประจำปีงบประมาณ 2563 นับเป็นโครงการสำคัญในการช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งผลที่จะได้รับตามโครงการคือ เด็กและเยาวชนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ได้รับการส่งเสริมอาชีพในงานด้านหม่อนไหม รวมทั้งสิ้น 36 โรงเรียน นักเรียนเข้าร่วม จานวน 655 ราย อีกทั้งมีทายาทเกษตรกรในชุมชน (นาร่อง) ได้รับการส่งเสริมอาชีพงานด้านหม่อนไหม รวมทั้งสิ้น 12 ชุมชน ทายาทเกษตรกร เข้าร่วม 295 ราย

โดยการดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายนั้นจะประกอบด้วย 3 กิจกรรมที่สำคัญ คือ

กิจกรรมที่ 1 : ส่งเสริมอาชีพทายาทหม่อนไหมในโรงเรียน จำนวน 28 โรงเรียน นักเรียน 480 ราย แบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย ดังนี้

1) กิจกรรมฝึกอบรมด้านหม่อนไหมในโรงเรียน ตชด.เป้าหมาย 16 โรงเรียน จำนวนนักเรียน 240 ราย

2) กิจกรรมจัดนิทรรศการ จุดเรียนรู้ และการสาธิตงานด้านหม่อนไหมในโรงเรียนฯ เป้าหมาย 12 โรงเรียน จานวนนักเรียน 240 ราย

กิจกรรมที่ 2 : ส่งเสริมอาชีพด้านหม่อนไหมในชุมชน นำร่อง 6 ชุมชน จำนวนเกษตรกร 120 ราย

กิจกรรมที่ 3 : ดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมด้านหม่อนไหมในพื้นที่โรงเรียนและชุมชน รวมทั้งติดตามและให้คาแนะนำ นักเรียน และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ (สำหรับนักเรียนและเกษตรกรที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมและจัดสาธิตงานด้านหม่อนไหม)  เป้าหมาย 8 โรงเรียน จำนวนนักเรียน 175 ราย และ 6 ชุมชน จำนวนเกษตรกร 175 ราย

จากการดำเนินโครงการสร้างทายาทหม่อนไหม ของกรมหม่อนไหม จะทำให้เกิดผลบนเส้นทางการพัฒนาประกอบด้วย

หนึ่ง เด็กและเยาวชนในโรงเรียนและชุมชน มีความรู้ความสามารถในงานด้านหม่อนไหม

สอง  เด็กและเยาวชนในโรงเรียนและชุมชน สามารถนาความรู้ที่ได้รับไประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้ระหว่างเรียน และมีอาชีพที่มั่นคงหลังจากจบการศึกษา สามารถพึ่งพาตนเองได้

สาม กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการส่งเสริมอาชีพด้านหม่อนไหม พร้อมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เด็กและเยาวชนในการพัฒนาอาชีพ และปลูกจิตสำนึกให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างรายได้ และให้มีความผูกพัน สืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาหม่อนไหมให้มากยิ่งขึ้น

นายสุรพงษ์ กระแสโสม

นายสุรพงษ์ กระแสโสม

ความสำเร็จที่ฉะเชิงเทรา “สุรพงษ์  กระแสโสม” ทายาทหม่อนไหมในชุมชน ดีเด่นระดับประเทศ ปี 60 

นางสาวลำแพน สารจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี กล่าวว่า การดำเนินการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯสระบุรี ได้ดำเนินการใน 2 กิจกรรมที่สำคัญ คือ กิจกรรมส่งเสริมอาชีพทายาทหม่อนไหมในโรงเรียนที่โรงเรียนห้วยตะปอก อำเภอท่าตะเกียบ ด้วยการส่งเสริมให้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และปลูกหม่อนผลสด จำนวน  1.5 ไร่ และอีกกิจกรรมได้แก่ การสร้างทายาทหม่อนไหมในชุมชน ซึ่งประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีทายาทหม่อนไหมในชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลทายาทหม่อนไหมในชุมชน ดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2560 คือ นายสุรพงษ์  กระแสโสม และได้นำซึ่งความภาคภูมิใจมาสู่ครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ เกิดการสืบทอดด้านอาชีพการเลี้ยงหม่อนไหมอย่างยั่งยืน

นายสุรพงษ์ กระแสโสม อายุ 22 ปี เจ้าของรางวัลทายาทหม่อนไหมในชุมชน ดีเด่นระดับประเทศ ประจำปี 2560 อยู่บ้านเลขที่ 43/2 หมู่ที่ 9 ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โทรศัพท์ 093-0162609 โดยเกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เป็นบุตรของนายส่งเสริม และ นางมาลัย กระแสโสม มีพี่น้องทั้งหมด 2 คน โดยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนสนามชัยเขต และปัจจุบันกำลังศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุระนารี จังหวัดนครราชสีมา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 4

สิ่งที่ทำให้ทายาทหม่อนไหมผู้นี้ เริ่มต้นและให้ความสนใจเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เริ่มจากทางบ้านและในหมู่บ้านมีการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และได้รับการถ่ายทอดอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาจาก นางมะลิ อนันต์ ผู้เป็นยาย และนายเที่ยง อนันต์ ผู้เป็นตา ซึ่งประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ก้าวเริ่มแรกบนอาชีพนี้ เริ่มมาจากการที่นายสุรพงษ์ได้ช่วยตากับยายทำอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งมีกรมหม่อนไหมโดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี ที่มี นางสาวลำแพนสาร จันทึก เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ เข้ามาช่วยสนับสนุนในด้านต่าง ๆที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ

S__8757261

ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สระบุรี จึงทำให้นายสุรพงษ์ได้เกิดความประทับใจและมุ่งมั่นที่จะสานต่ออาชีพของการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันสาวไหม ที่กรมหม่อนไหมจัดขึ้น ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นทำให้นายสุรพงษ์ได้ทุ่มเทให้กับการประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ทั้งนี้ด้วยผ้าไหมไทยนั้น มีความหลากหลายของลวดลายและกรรมวิธีการผลิตในแต่ละพื้นถิ่นแตกต่างกันไป  การสาวไหมนั้น ถือเป็นขั้นตอนแรกๆ ที่สำคัญของการผลิตเส้นไหม และเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันกรมหม่อนไหมได้สืบสานภูมิปัญญาการสาวไหมนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดให้มีงานแข่งขันสาวไหมตั้งแต่ระดับพื้นที่จนถึงระดับประเทศ

ดังนั้นการประจัดแข่งขันสาวไหมที่กรมหม่อนไหมได้ดำเนินการจัดขึ้น จึงเป็นการสร้างกระแสการตื่นตัวให้แก่กลุ่มเยาวชน เกษตรกรและผู้ประกอบการด้านหม่อนไหมในการพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้าใหม่ไทยให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของตลาด ตลอดจนสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ผลิตผลงานที่มีคุณภาพ ร่วมสร้างจิตสำนึกให้กับคนในท้องถิ่นให้มีความรู้สึกรักและหวงแหนในวัฒนธรรมไทยอันล้ำค่า และเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามด้านหม่อนไหมให้คงอยู่ต่อไป

จากการที่นายสุรพงษ์ได้เข้าร่วมการแข่งขันการสาวไหมมาตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยขณะนั้นกำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยวัยเพียง 10 ปี และสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้

พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับจังหวัด ประจำปี 2554  ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับประถมศึกษา

พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับประเทศ  ประจำปี  2554 ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับประถมศึกษา

พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับจังหวัด ประจำปี 2555  ประเภทไหมลืบสาวมือ ระดับมัธยมศึกษา

พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับจังหวัด ประจำปี 2556  ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับมัธยมศึกษา

พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง  การแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหม ระดับจังหวัด ประจำปี 2558 ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับบุคคลทั่วไป

ผ้าไหมลาย ช้าง-ม้า ที่พัฒนาขึ้น

ผ้าไหมลาย ช้าง-ม้า ที่พัฒนาขึ้น

จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้กับนายสุรพงษ์ในการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เขาทุ่มเท เกิดการเรียนรู้ในกิจกรรมเกี่ยวกับทางด้านหม่อนไหม อย่างเช่น การเลี้ยงไหม การสาวไหม การฟอกย้อม การมัดหมี่ การทอ และการถอดลวดลายของผ้ามัดหมี่ จากยาย จึงเกิดการเรียนรู้ และเสริมสร้างทักษะในขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งการสอบถามจากข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้ และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อหาวิธีการในการพัฒนาฝีมือทางด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการคิดค้นลายผ้าไหมขึ้นมาใหม่ 2 ลาย คือ สายบันไดสวรรค์ และลายม้า-ช้าง ซึ่งขณะนี้ทางศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯสระบุรีกำลังดำเนินการต่อยอดเพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดไปสู่ผู้สนใจต่อไป

นายสุรพงษ์ กระแสโสม คือ อีกหนึ่งความสำเร็จทีเกิดขึ้น ภายใต้การทำงานของกรมหม่อนไหมตามโครงการทายาทหม่อนไหม อันเป็นการสืบสาน ต่อยอด อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงให้อยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป…

ต่างภูมิใจกับความสำเร็จของทายาทหม่อนไหมในชุมชน
ต่างภูมิใจกับความสำเร็จของทายาทหม่อนไหมในชุมชน
SIMA_webbanner_468x90_TH_animated