ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสนใจผ้าทอพื้นถิ่น โดยมี ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน (คนขวา) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.นครศรีธรรมราช ให้ข้อมูล..
ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ความสนใจผ้าทอพื้นถิ่น โดยมี ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน (คนขวา) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.นครศรีธรรมราช ให้ข้อมูล..

หนึ่งในกลไกเพื่อกระจายความเจริญจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นหรือพื้นที่ก็คือ “การลดความเหลื่อมล้ำ”  โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดลักษณะของการกระจุกตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉพาะกลุ่มคนบางกลุ่ม (โดยเฉพาะในส่วนกลาง) ขณะที่เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่นกลับหยุดชะงัก หรือไม่เติบโตเท่าที่ควร อันเป็นอุปสรรคสำคัญของการกระจายความเจริญตามนโยบายของภาครัฐ

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้บรรจุวาระการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจฐานรากเป็นวาระเร่งด่วน โดยในยุทธศาสตร์ชาติที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม จะมีแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่ 16 เรื่อง “เศรษฐกิจฐานราก ที่มีวัตถุประสงค์คือ ส่งเสริมและพัฒนากลไกและโครงสร้างดูดซับมูลค่าทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้กลับสู่ชุมชน เพื่อสร้างการเติบโตและการหมุนเวียนของเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการรวมตัวของสมาชิกในชุมชนและกระบวนการการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ  เพื่อให้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกลับสู่สมาชิก รวมทั้งพัฒนาช่องทางและศูนย์กลางตลาดสินค้าชุมชนมรภ.นครศรีธรรมราช ยกผ้าทอพื้นถิ่นมาสร้างเศรษฐกิจ

นั่นจึงเป็นที่มาของการสนับสนุนทุนวิจัย “มหาวิทยาลัยกับการพัฒนากลไกเพื่อดูดซับเศรษฐกิจภายในพื้นที่” ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่มีการให้ทุนกับมหาวิทยาลัยในการเข้าไปสร้าง “ต้นแบบ” ทำให้เห็นถึง “กลไก” “ข้อมูล” “กระบวนการ” รวมถึง “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” และ “ปัจจัยแห่งความล้มเหลว” ที่ของการสร้างกลไกดูดซับเศรษฐกิจผ่านกลไกของมหาวิทยาลัย โดยหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุนนี้ก็คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ภายใต้ชื่อ “โครงการการวิจัยและพัฒนาระบบกลไกดูดซับเศรษฐกิจผ้าพื้นถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมหาวิทยาลัยเป็นตลาด”มรภ.นครศรีธรรมราช ยกผ้าทอพื้นถิ่นมาสร้างเศรษฐกิจ

การที่เราเลือกนำผ้ามาเป็นประเด็นวิจัยนั้น เพราะมหาวิทยาลัยเรามีทุนเดิมที่ใช้ในการพัฒนาผ้าพื้นถิ่นนครศรีธรรมราชมาก่อน มีการทำงานวิจัยผ้าพื้นถิ่นมาหลายสิบปี ทั้งงานวิจัยที่ได้รับทุนจาก สกสว. (สกว.เดิม) . และงานวิจัยอื่นๆ  ซึ่งพอมาทำกระบวนการพัฒนาโจทย์ ที่มีการวิเคราะห์ทั้งอุปสงค์และอุปทาน วิเคราะห์ความต้องการใช้ผ้าพื้นถิ่นในมหาวิทยาลัย ในส่วนของความจำเป็นในการใช้ผ้าพื้นถิ่นของมหาวิทยาลัยใน 13 รายการ เราพบว่ามีปริมาณผ้าที่ต้องใช้ในกิจการเฉพาะของวิทยาเขตนครศรีธรรมราชรวมแล้วกว่า 1 แสนเมตรต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ามหาศาล” ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.นครศรีธรรมราช กล่าวถึงที่มาของการเลือกผ้าทอพื้นถิ่น เป็นโจทย์ร่วมของชุดโครงการวิจัยนี้มรภ.นครศรีธรรมราช ยกผ้าทอพื้นถิ่นมาสร้างเศรษฐกิจ

ภายใต้โครงการที่มีงานวิจัยย่อย 5 กลุ่มงาน รวม 9 โจทย์วิจัย ได้มีการผู้วิจัยเชิญกลุ่มชุมชนผู้ผลิตผ้าพื้นถิ่นกลุ่มต่างๆ ในจังหวัดมาร่วมทำ workshop เพื่อพัฒนาโจทย์ โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมจากชุมชน จับคู่โจทย์วิจัยที่ตรงกับตัวผลิตภัณฑ์ที่มหาวิทยาลัยต้องการ และตรงกับศักยภาพของชุมชน โดยมีชุมชนที่ผลิตผ้าพื้นถิ่น 3 ประเภท ได้แก่ ผ้ามัดย้อม ผ้าบาติก และผ้ายกเมืองนคร เข้าร่วมทั้งหมด 6 ชุมชน ได้แก่ (1)วิสาหกิจชุมชนต้นน้ำตาปีแฮนด์เมด อ.พิปูน (2)วิสาหกิจชุมชนสวนขันเกษตรยั่งยืน อ.ช้างกลาง (3)วิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสาน อ.นบพิตำ (4)กลุ่ม 4 ป. บาติก อ.นบพิตำ (5)กลุ่มสวนตาเหน่ง อ.สิชล และ (6)กลุ่มผ้าทอบ้านตรอกแค อ.ชะอวด

ผอ.สวพ. กล่าวถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากวิจัยว่า ทีมวิจัยได้เข้าไปช่วยพัฒนากลุ่มผู้ผลิตผ้าในชุมชนทั้ง 6 แห่ง ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์  เช่น มีการนำสีธรรมชาติ ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่น มาย้อมเป็นผ้ามัดย้อม ลายดอกขัน สีต้นประ มาย้อมผ้า เผื่อสร้างอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ใช้เทคนิค Eco-Print  ตรึงสีและกลิ่นอยู่ในผ้า ใช้เทคโนโลยีนาโนกับผ้าคลุมไหล่ที่ทำให้กันน้ำกันยูวีและแบคทีเรีย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทำผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์เหล่านี้ให้เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานและตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งในที่นี้คือมหาวิทยาลัยและคนในมหาวิทยาลัย รวมถึงทำให้เกิดการนำผ้าเหล่านี้ไปใช้ในกิจกรรมของมหาวิทยาลัยด้วยมรภ.นครศรีธรรมราช กับบทบาท “ตลาด” ยกผ้าทอพื้นถิ่นมาสร้างเศรษฐกิจ

“ตอนที้ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ มีการรณรงค์ให้บุคลากรนักศึกษา รวมถึงนักเรียนในโรงเรียนสาธิต แต่งกายด้วยชุดผ้าพื้นถิ่น รณรงค์ให้ใช้กระเป่าที่มีผ้าพื้นถิ่นเป็นส่วนประกอบ มีการนำผ้ายกเมืองนครเข้าไปตบแต่งห้องประชุมของมหาวิทยาลัยรวมถึงผนังหอประชุมใหม่ของโรงแรมของเรา ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้ได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมให้เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีความพร้อมในการนำผ้าพื้นถิ่นสู่สากล”

ปัจจุบัน คณะผู้วิจัยกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ปกปริญญาบัตร ชุดครุยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร Bed sheet บาติก และเสื้อมัดย้อมสำหรับแต่ละคณะ ซึ่งทั้งหมดนี้ เมื่อคำนวณตัวเลขออกมาพบว่าจะทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเป็นตลาดดูดซับเศรษฐกิจผ้าพื้นถิ่นให้กับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,008,380 บาท โดยจำนวนเงินดังกล่าว ทำให้เกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่ 2,491,599 บาท ต้นมรภ.นครศรีธรรมราช ยกผ้าทอพื้นถิ่นมาสร้างเศรษฐกิจ

ผศ. สุรศักดิ์ สรุปว่า หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนงานวิจัยโครงการนี้ คือระบบกลไกที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้จริง ภายใต้ “แบรนด์ภูมิภัฏ” มีช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งแบบ online และ offline โดยมีการร่างประกาศมหาวิทยาลัยเพื่อผลักดันในระดับนโยบาย รวมถึงมีหน่วยงานจัดหารายได้เป็นหน่วยสนับสนุนการดำเนินการ  ซึ่งความสำเร็จครั้งนี้ได้นำไปสู่ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิจัย ในการทำวิจัยร่วมกันภายใต้หัวข้อ “การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย” ที่อยู่ภายใต้กรอบวิจัย Demand-Supply Matching Platform ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท. อีกด้วย โดยวิจัยในระยะถัดไปจะพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิต ผลิตภัณฑ์สำหรับโรงแรมของมหาวิทยาลัย เป็นต้น

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated