วันนี้ (10 ต.ค.63 ) ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) พร้อมด้วยคณะ ได้เดินลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อติดการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ โดยกรมชลประทาน บริเวณแก้มลิงบ้านชะแล้ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร หนึ่งในพื้นดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งมีพื้นที่เชื่อมต่อกับ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และสิงหนคร
โดย ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าว มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบชายทะเล ในอดีตไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำ รวมถึงคลองแบะระบบลำเลียงน้ำในพื้นที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้ต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และน้ำทะเลหนุนสูง จนไม่สามารถทำการเกษตรได้ ซึ่งจากการศึกษาของกรมชลประทานพบว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด คือ การสร้างแก้มลิงขึ้นในพื้นที่ จำนวน 3 จุด
“แก้มลิงบ้านชะแล้เป็นหนึ่งในการสร้างแก้มลิงเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ โดยลักษณะโครงการเป็นการขุดแก้มลิง เนื้อที่ประมาณ 275 ไร่ ไร่ ลึก 4 เมตร ความจุประมาณ 1.76 ล้านลูกบาศก์เมตรพร้อมก่อสร้างอาคารและส่วนประกอบ เช่น อาคารระบายน้ำ อาคารรับน้ำ อาคารอัดน้ำ รางระบายน้ำ ทำนบดิน และถนนลาดยาง ซึ่งหลุงการก่อสร้างเสร็จ จะสามารถเก็บน้ำส่วนเกินในฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้งสำหรับทำเกษตรจองประชาชนในตำบลชะแล้ โดยได้รับประโยชน์ประมาณ 816 ครัวเรือน ประชากร 2,908 คน พื้นที่เกษตร 1,418 ไร่”
ดร.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า แก้มลิงบ้านชะแล้ ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาภายใต้แผนการบริหารจัดการทรัยพยากรน้ำ และตามโครงการศึกษาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาอุทกภัยทะเลสาบสงขลา ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยั่งยืนในชีวิตและอาชีพของประชาชนในพื้นที่
“สิ่งที่ สนทช.กำลังดำเนินการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง อีกสิ่งที่ได้ดำเนินการควบคู่ไป คือ การติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมมาตรการป้องกันผลกระทบไว้ล่วงหน้า โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. มึการประชุมติดตามแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์แหล่งน้ำต่าง ๆ แก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 51 แห่ง ยังคงเหลือ 12 แห่ง จากแผนทั้งหมด 115 แห่ง”
ดร.สมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการติดตามสถานการณ์ฝนในช่วงเดือนตุลาคมในพื้นที่ภาคใต้พบว่า มีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านตอนล่างของประเทศ จะส่งผลให้ภาคใต้เริ่มมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ทั้งนี้จากการคาดการณ์ปริมาณฝนในช่วง 7 วันข้างหน้า มีพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำป่าไหลหลาก จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูลจึงขอให้ประชนได้แล้วเตรียมการรับมือ