NIA สร้างสะพานเชื่อมดึงเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จับมือกับสตาร์ทอัพสายเกษตร สร้างตลาดรูปแบบใหม่ เพื่อพลิกโฉมเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตไปด้วยกัน
NIA สร้างสะพานเชื่อมดึงเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จับมือกับสตาร์ทอัพสายเกษตร สร้างตลาดรูปแบบใหม่ เพื่อพลิกโฉมเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตไปด้วยกัน

วันที่ 27 ตุลาคม 2563/สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. เปิดโครงการ AgTech4OTOP ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ หวังพลิกโฉมเศรษฐกิจชุมชน คัด 50 กลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์ท้องถิ่น เปิดอบรมเสริมความรู้สร้างช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ ร่วมกับสตาร์ทอัพสายเกษตร พร้อมเสริมสร้างศักยภาพ พัฒนาสินค้าเกษตรขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เชื่อมโยงผู้ผลิตสินค้าเกษตรไปสู่ผู้บริโภคในวงกว้างเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA  กล่าวเปิดการบ่มเพาะโครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น หรือ AgTech4OTOP ซึ่งได้ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการพัฒนาชุมชน และกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ จัดทำขึ้นเพื่อสร้างโอกาสและช่องทางตลาดสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพออกสู่ตลาด บนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรไทย (AgTech Startup) ในสาขาที่มีการพัฒนารูปแบบในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสินค้าการเกษตรไปสู่ผู้บริโภคให้สามารถขยายผลและกระจายได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เช่น ระบบเจ้าของร่วมผลิต ระบบการประมูลสินค้าเกษตร หรือ E-biding ระบบตลาดออนไลน์ หรือ Marketplace และ ระบบการขายออนไลน์ส่งมอบให้ผู้บริโภคและธุรกิจเกษตร (B2B /B2C) โดยจะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มการเชื่อมโยงนวัตกรรมการเกษตรสู่เกษตร 4.0 พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขยายผลรูปแบบการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรจากฟาร์มสู่ผู้บริโภคของสตาร์ทอัพไทย สู่การใช้งานของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นNIA ดึงเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จับมือกับสตาร์ทอัพเกษตร

“โครงการนี้ สร้างให้เกิด แพลตฟอร์มกลาง ที่เกิดการเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องของทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระบบ สตาร์ทอัพด้านการเกษตร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มภาคเอกชนเชื่อมโยงสู่ตลาด และกลุ่มหน่วยงานสนับสนุน เช่น ด้านขนส่ง ด้านบรรจุภัณฑ์ ด้านการจ่ายเงิน เป็นการพัฒนาตลาดรูปแบบใหม่ ที่มีความพร้อมของการเทคโนโลยี ที่มีโครงสร้างเครือข่ายต่างๆ ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงตลาดของผู้บริโภครายเดี่ยว หรือระดับธุรกิจได้มากขึ้น รวมไปถึง ยุคโควิด ที่ใช้ชีวิตแบบ New Normal ที่จะต้องการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส มากขึ้น” ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติม

ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง
ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง

ด้าน ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้กล่าวเสริมว่า สนช.โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center, ABC center) ได้ดำเนินโครงการ AgTech4OTOP เริ่มจากการเปิดรับสมัครและคัดเลือก OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และสตาร์ทอัพด้านการเกษตรเข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ โดยมีกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 50 ราย เช่น ส้มโอนครชัยศรี จ.นครปฐม สับปะรดไร่ม่วง จ.เลย สับปะรดนางแล ภูแล จ. เชียงราย ทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ มะปี๊ด จ.จันทบุรี และสตาร์ทอัพด้านการเกษตรจำนวน 10 ราย เช่น ฟาร์มโต๊ะ มีแซ่ด ครอปเปอร์แซด อารีฟาร์ม โดยได้ผ่านการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มสตาร์ทอัพมั่งเน้นด้านการเติบโตและการขยายตลาดได้อย่างรวดเร็วตามวิถีของสตาร์ทอัพ กลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ได้ทำความเข้าใจระบบตลาดใหม่ๆ และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่ตลาด รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากนวัตกรรมการเกษตรด้านต่างๆNIA ดึงเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จับมือกับสตาร์ทอัพเกษตร

หลังจากนี้ สตาร์ทอัพและกลุ่ม OTOP จะจับคู่รวมทีมกัน ในอัตราส่วน 1:5 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้ขึ้นบนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพ ภายใต้มีเมนเทอร์ระดับมืออาชีพ ที่เข้าใจการตลาดสมัยใหม่ พร้อมเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ร่วมสนับสนุนและให้คำแนะนำตลอดโครงการ ซึ่งมุ่งเน้นให้ทุกทีมได้ทดลองทำตลาดจริงๆ โดยตั้งเป้าหมายการเติบโต 10 เท่า ซึ่งไม่ได้มองว่า โครงการนี้สร้างให้เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจของสตาร์ทอัพ และธุรกิจชุมชนให้มีความต่อเนื่องกันเป็น พันธมิตรทางธุรกิจกันต่อไปNIA ดึงเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จับมือกับสตาร์ทอัพเกษตร

“จากรายงานของ AgFunder ในปี 2019 พบว่า สตาร์ทอัพในตลาดธุรกิจเกษตรได้รับความนิยม 9 ใน 20 อันดับแรก ได้รับการระดมทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพในเอเซียด้านการตลาดออนไลน์และอีคอมเมิร์ซสินค้าเกษตร มีอยู่หลายรายที่เป็นระดับยูนิคอร์น เช่น เหม่ยช่ายขายผักสดในจีน บิ๊กบาสเก็ตในอินเดีย สำหรับเมืองไทยและภูมิภาคอาเซียนก็นับได้ว่า มีขนาดตลาดใหญ่ระดับหนึ่งที่พร้อมจะเติบโต โดยหวังว่าโครงการ AgTech4OTOP จะเป็นโอกาสครั้งสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้พัฒนาทักษะได้ลงมือปฏิบัติจริง ที่สำคัญมีพันธมิตรทางธุรกิจร่วมด้วยนั้น ก็หวังเล็กๆ ถึงการเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นสัญชาติไทยที่ทุกคนรอคอย จะเป็นสตาร์ทอัพด้านเกษตรในกลุ่มนี้ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ขอให้มีแนวทางที่จะนำมาใช้กับเกษตรกร พลิกโฉมเศรษฐกิจชุมชนสู่การเติบโตไปพร้อมกับสตาร์ทอัพด้านการเกษตรของไทยได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ดร.กริชผกา กล่าวสรุปNIA ดึงเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จับมือกับสตาร์ทอัพเกษตร

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร : ABC center สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-017-5555 ต่อ 543 เว็บไซต์  https://agtech4otop.nia.or.th/  และ facebook.com/AgTech4OTOPNIA ดึงเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จับมือกับสตาร์ทอัพเกษตร

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated