กรมประมง…ติดตามความก้าวหน้า โครงการ “สร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน” หลังเดินเครื่องปล่อย “กุ้งก้ามกราม” เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร
กรมประมง…ติดตามความก้าวหน้า โครงการ “สร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน” หลังเดินเครื่องปล่อย “กุ้งก้ามกราม” เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร

“อธิบดีกรมประมง”…ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน หลังเร่งปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 ณ แหล่งน้ำหนองโชคกราด ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์
ในวันที่ 30 ตุลาคม 2563

นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งดำเนินการฟื้นฟู เยียวยา เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 ทั้งในด้านเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ซึ่งในส่วนของภาคการประมงนั้น ขณะนี้กรมประมงฯ ได้เร่งขับเคลื่อนโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน โดยทำการปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกรามลงสู่แหล่งน้ำจำนวน 1,436 แหล่ง ในพื้นที่ 129 อำเภอ 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ตราด นครพนม พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุโขทัย อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และบุรีรัมย์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรโดยรอบแหล่งน้ำชุมชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากกุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของตลาด และมีศักยภาพในการเจริญเติบโตให้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว โดยผลการดำเนินการล่าสุด สามารถปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 287,200,000 ตัว ได้ครบทั้ง 1,436 แหล่งน้ำ และอยู่ในระหว่างการติดตามประเมินผลการดำเนินการในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในบางพื้นที่พี่น้องเกษตรกรสามารถจับกุ้งก้ามกรามขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้แล้วกรมประมง…ติดตามความก้าวหน้า โครงการ “สร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน” หลังเดินเครื่องปล่อย “กุ้งก้ามกราม” เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรสำหรับแหล่งน้ำหนองโชคกราด ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่กรมประมงได้ดำเนินโครงการฯ โดยชุมชนได้ร่วมกันเตรียมความพร้อมให้กับแหล่งน้ำ ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2563 เช่น การลดจำนวนปลาขนาดใหญ่และปลากินเนื้อ การสร้างที่หลบซ่อนให้กับกุ้งก้ามกราม รวมทั้งการสร้างอาหารธรรมชาติในแหล่งน้ำ การกำหนดกติกาการจับสัตว์น้ำของชุมชน ตลอดจนชุมชนยังได้ร่วมในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อติดตามผลการดำเนินโครงการฯ อาทิ การสุ่มติดตามประเมินผลผลิตกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำ เป็นต้น  ซึ่งหลังจากได้ทำการปล่อยกุ้งก้ามกรามขนาด 5-7 เซนติเมตร ลงสู่แหล่งน้ำหนองโชคกราด จำนวนทั้งสิ้น 200,000 ตัว เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ ปรากฎว่าพี่น้องเกษตรกรโดยรอบพื้นที่แหล่งน้ำสามารถจับผลผลิตขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง

กรมประมง…ติดตามความก้าวหน้า โครงการ “สร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน” หลังเดินเครื่องปล่อย “กุ้งก้ามกราม” เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร

อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนของตัวเอง และเพื่อให้ผลผลิตกุ้งก้ามกรามได้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กรมประมงจึงเน้นสร้างกระบวนการรับรู้ และสร้างความเข้าใจ โดยมีการส่งเสริมองค์ความรู้แก่ชุมชน มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการอย่างต่อเนื่อง เช่น ข้อควรปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพยากร การเฝ้าระวังทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้เมื่อถึงขนาดที่เหมาะสม  มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชน ทั้ง 1,436 แห่ง จัดตั้งกลไกความร่วมมือ จัดทำแผนปฏิบัติงานและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพการทำงานในโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องเกษตรกรได้เป็นอย่างมาก และสามารถสร้างความร่วมมือในการดูแล รักษา พร้อมตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรสัตว์น้ำ อันจะก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated