ทีมนักวิจัยร่วม ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.บูรพา ค้นพบหอยทากจิ๋วปากแตร ชนิดใหม่ของโลก และมีขนาดเล็กที่สุดในโลก 0.64 มิลลิเมตร ที่จังหวัดสระแก้ว
ทีมนักวิจัยร่วม ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.บูรพา ค้นพบหอยทากจิ๋วปากแตร ชนิดใหม่ของโลก และมีขนาดเล็กที่สุดในโลก 0.64 มิลลิเมตร ที่จังหวัดสระแก้ว

รายงานข่าว จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร.กรอร วงษ์กำแหง ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยถึงข่าวดีของการค้นพบหอยทากจิ๋วปากแตรชนิดใหม่ของโลก ว่า ทีมผู้วิจัยเกี่ยวกับความหลากชนิดของหอยทากจิ๋วบริเวณเขาหินปูน ประกอบด้วย ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ ดร.กรอร วงษ์กำแหง ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนางสาวศิริลันธน์ เชื้อนิตย์ นิสิตภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ค้นพบหอยจิ๋วปากแตรชนิด Angustopila pallgergelyi จากถ้ำ เพชรโพธิ์ทอง จังหวัดสระแก้ว โดยมีขนาด 0.64 มิลลิเมตร โดยหอยชนิดนี้ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับ Dr. Barna Páll-Gergely นักสังขวิทยาชาวฮังการี

ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา
ผศ.พงษ์รัตน์ ดำรงโรจน์วัฒนา
ดร.กรอร วงษ์กำแหง
ดร.กรอร วงษ์กำแหง
นางสาวศิริลันธน์ เชื้อนิตย์
นางสาวศิริลันธน์ เชื้อนิตย์

การค้นพบครั้งนี้นอกจากจะเป็นรายงานหอยชนิดใหม่ของโลกแล้ว ยังเป็นรายงานหอยที่เล็กที่สุดในโลกอีกด้วย โดยได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร RAFFLES BULLETIN OF ZOOLOGY ฉบับที่ 69 เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา หอยจิ๋วชนิดนี้ พบอาศัยอยู่เฉพาะภายในถ้ำที่เป็นเขาหินปูน และมีเขตการกระจายแคบ หอยกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก จึงมีความสามารถในการแพร่กระจายจำกัด โดยหอยจิ๋วบางชนิดอาจพบเพียงเขาหินปูนเพียงลูกเดียว ไม่สามารถกระจายไปในบริเวณอื่นได้ ปัจจุบันเขาหินปูนก็เป็นอีกระบบนิเวศที่มีการรบกวนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการระเบิดภูเขา การปรับภูมิทัศน์ การติดไฟในถ้ำเพื่อการท่องเที่ยว กิจกรรมดังกล่าวเป็นการรบกวนระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่หลงสำรวจกลุ่มนี้ และอาจทำให้หอยจิ๋วบางชนิดสูญพันธุ์ไปอย่างถาวรหอยจิ๋วค้นพบหอยทากจิ๋วปากแตรชนิดใหม่ของโลก

(ข่าวโดย ผกามาศ ธนพัฒนพงศ์ / นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/ 29 มีนาคม 2564)

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated