เครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) มอบให้ ม.เกษตรศาสตร์ ส่งต่อหน่วยงานและเกษตรกร เพื่อใช้ประโยชน์ทันที
เครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) มอบให้ ม.เกษตรศาสตร์ ส่งต่อหน่วยงานและเกษตรกร เพื่อใช้ประโยชน์ทันที

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปีมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  ได้มีพิธีรับ-มอบเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) จำนวน 31 เครื่อง โดย มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ส่งมอบให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อมอบให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยให้ ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผู้เป็นนักวิจัย เป็นผู้นำผลงานนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ภายหลังจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รับมอบเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) แล้ว จึงได้มอบให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 14 เครื่อง เพื่อมอบให้แก่ เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 14 กลุ่ม และมอบให้หน่วยงาน ศูนย์เรียนรู้ ต่าง ๆ ที่มิได้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 13 เครื่อง

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กล่าวว่า เครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) เป็น “นวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง และสร้างโอกาสให้กับเกษตรกรไม่ต้องลงทุนมาก” โดยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ได้สนับสนุนให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาอุปกรณ์ในระบบเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2557 – 31 สิงหาคม 2559 เป็นจำนวนเงิน 10,092,771.19 บาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา ที่ได้รับความเสียหายอย่างมากจาก อุทกภัยที่เกิดขึ้น ผลผลิตเสียหายเป็นจำนวนมหาศาล อันเนื่องจากเกิดเหตุน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2554 จึงทำให้เกิดนวัตกรรมเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ที่ทำให้ต้นกล้า เจริญเติบโตได้ดี มีความแข็งแรง ต้านศัตรูพืชได้ดี โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้าซึ่งเป็นสารเคมีอันตราย ลดการใช้ปุ๋ยลง ลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้จากการเพิ่มของผลผลิต และเป็นเหตุที่มาของการเกิด “โครงการทำนาแบบประณีต มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย” ตามลำดับ

เครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) มอบให้ ม.เกษตรศาสตร์ ส่งต่อหน่วยงานและเกษตรกร เพื่อใช้ประโยชน์ทันทีและในโอกาสที่โครงการวิจัยดังกล่าวได้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จึงได้มอบนวัตกรรมเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) จากโครงการวิจัย จำนวน 31 เครื่อง ให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้รับมอบจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อมอบให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยให้ ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ผู้เป็นนักวิจัย เป็นผู้นำผลงานนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยมีนางสายสม วงศาสุลักษณ์ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมพิธี

ภายหลังจากที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ยอดสุดใจ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีองค์รวมและปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. จึงได้มอบเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ให้กับหน่วยงาน และเกษตรกร เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทันที จำนวน 27 เครื่อง ดังนี้

  1. มอบให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 14 เครื่อง เพื่อมอบให้แก่เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดต่าง ๆ จำนวน 14 โดย นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้รับมอบ
  2. มอบให้กับ หน่วยงาน ศูนย์เรียนรู้ ต่าง ๆ ที่มิได้สังกัด สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 13 เครื่อง

ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ที่ให้การสนับสนุนเงินทุนในการพัฒนางานวิจัยจนเกิดเป็นนวัตกรรมเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) เครื่องแรกของโลก ด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเทของทั้งสองหน่วยงานผ่านปัญหาและอุปสรรคมามากมาย และในวันนี้ มหาวิทยาลัยก็ได้มอบนวัตกรรมดังกล่าวส่งต่อให้กับกลุ่มเกษตรกรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ไม่เพียงแต่นาข้าวเท่านั้น ยังสามารถนำไปปรับใช้หย่อนกล้าพืชอื่น ๆได้อีก  ขอฝากไปถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันพัฒนาและขยายผลนวัตกรรม ไปสู่นาแปลงใหญ่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ  สมาร์ทฟาร์มเมอร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็จะเดินหน้าทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเกษตรของไทย เพื่อเกษตรกรไทย เพื่อคนไทย ถ้าคนไทยมีความยั่งยืน ประเทศไทยก็จะยั่งยืน และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จะยั่งยืนและภาคภูมิใจไปด้วย

เครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) มอบให้ ม.เกษตรศาสตร์ ส่งต่อหน่วยงานและเกษตรกร เพื่อใช้ประโยชน์ทันทีด้าน ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีองค์รวมและปัญญาประดิษฐ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. นักวิจัยผู้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) กล่าวว่าเครื่องปลูกข้าวแบบหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) สำหรับการทำนาแบบประณีต เป็นเครื่องหย่อนกล้าข้าว นาโยน หรือนาปาเป้า เครื่องแรกของโลก จุดเด่นคือ ต้นกล้าข้าวได้รับผลกระทบน้อยมากในบริเวณราก รากไม่ถูกทำให้ฉีกขาดหรือเสียหายหรือมีบาดแผล ต้นกล้าข้าวจึงเติบโตไวกว่าการปลูกด้วยเครื่องปักดำถึง 10 วัน และมีความแข็งแรงทนทานต่อโรคได้ดี สามารถลดแรงงานคนลงได้จากการทำนาโยนปกติที่จำเป็นต้องใช้แรงงานคน 10 คน เหลือเพียง 2-3 คน ตัวอุปกรณ์หย่อนกล้าข้าวมีกลไกที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยระยะระหว่างกอ 20-25 เซนติเมตร(ปรับได้) ตลอดแนว

เครื่องหย่อนกล้าแบบประณีตเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) มอบให้ ม.เกษตรศาสตร์ ส่งต่อหน่วยงานและเกษตรกร เพื่อใช้ประโยชน์ทันทีซึ่งใช้ทำงานจริงมาแล้วในโครงการทำนาแบบประณีต (SRI: The System of Rice Intensification) ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ที่จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ขอนแก่น  ร้อยเอ็ด  อุทัยธานี นครปฐม สุโขทัย แพร่ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และพิษณุโลก โดยอัตราการทำงานได้ 10-15 ไร่ต่อวัน ความเร็วการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขนาดถาดเพาะกล้า 26 x 51 เซนติเมตร หนึ่งถาดเพาะกล้ามีจำนวนหลุม 10 x 20 หลุม ซึ่งสามารถหย่อนกล้าได้ถึง 10 แถวตลอดแนว ตัวเครื่องออกแบบให้ปรับเปลี่ยนระยะห่างของการปลูกได้ทั้งแนวแกน X และ แกน Y ตามสภาพดินของแต่ละพื้นที่หรือตามลักษณะความสูงและการแตกกอของพันธุ์ข้าว และเนื่องจากอุปกรณ์หย่อนกล้าข้าวอยู่สูงจากพื้นดิน ทำให้ไม่มีโอกาสสัมผัสพื้นดินจึงลดความเสี่ยงจากความเสียหายได้ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ทนทาน และง่ายต่อการซ่อมบำรุงรักษาอย่างมาก ตัวรถมีแผ่นสกี สำหรับแก้ปัญหา นาหล่มจัดได้ มีระบบต้นกำลังขับเคลื่อนด้วยรถไถนาแบบเดินตามที่ชาวนาคุ้นเคยและซ่อมบำรุงได้เอง

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated