พิธีลงนามสัญญาซื้อขายยาง

กยท.-นอร์ทอีสรับเบอร์ จับมือลงนามสัญญาซื้อขายยาง 104,763.35 ตัน จากโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรฯ และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ ผู้ว่าฯมั่นใจไม่ส่งผลกระทบต่อตลาด แถมต้องซื้อยางใหม่จากสถาบันเกษตรกรฯ อีก 1 แสน คาด 31 พ.ค.ขนยางออกหมดสต๊อก

วันนี้ (28เม.ย.64) ได้มีพิธีลงนามสัญญาซื้อขายยางตามโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ระหว่างการยางแห่งประเทศไทย ( กยท.) โดย นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กับ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด ( มหาชน) โดยนายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการ และมี นายประพันธ์ บุณยเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสถลสถานพิทักษ์ ชั้น 6 อาคาร 1 การยางแห่งประเทศไทย บางขุนนนท์

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โดยการลงนามในครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากที่ กยท. ได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจให้เข้าร่วมประมูลยางแผ่นรมควันอัดก้อน และยางอื่นๆ จำนวน 104,763.35 ตัน ของโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ซึ่งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เห็นชอบให้ กยท. ดำเนินการระบายสต๊อกยางในโครงการดังกล่าวให้หมดไปโดยเร็ว โดยให้คำนึงถึงระยะเวลา และราคาจำหน่ายที่เหมาะสม โดยบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ได้เป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งกำหนดให้บริษัทที่ชนะการประมูลจะต้องซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางอีก 1 เท่าของปริมาณยางที่ประมูลได้ ถือเป็นการช่วยเพิ่มยอดสั่งซื้อยางอีกกว่า 1 แสนตันภายใน 1 ปี นับจากวันที่ลงนามในสัญญา ทั้งนี้ กำหนดรับมอบและขนย้ายยางในสต๊อกที่ประมูล โดยเริ่มในวันที่ 29 เมษายน และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 นี้ ก่อนที่ผลผลิตใหม่จะออกสู่ตลาด

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย

“จากการที่ กยท. ได้มีการวางแผนบริหารจัดการเป็นอย่างดี ทั้งการระบายสต๊อกยางในช่วงปิดกรีด ก่อนที่เกษตรกรเปิดกรีดและมีผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณยางในตลาดยังมีน้อย อีกทั้งยางในสต๊อกเป็นยางเสื่อมสภาพ จึงไม่เป็นปัจจัยกดดันในด้านราคายาง และจากที่ติดตามสถานการณ์ยางพาราในตลาดโลกพบว่า การประมูลในครั้งนี้ไม่ได้กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลทางด้านราคา โดยราคาการซื้อขายในตลาดโลกยังอยู่ในกรอบแคบๆเป็นปกติ ดังนั้นการซื้อขายครั้งนี้เกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับประโยชน์ และที่สำคัญยังเป็นการช่วยลดภาระและค่าใช้จ่ายของภาครัฐอีกด้วย” นายณกรณ์ กล่าว

ด้าน นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การประมูลยางแผ่นรมควันอัดก้อน จำนวน 104,763.35 ตัน ในครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางแท่ง ซึ่งบริษัทได้กำหนดปริมาณการผลิตของปี 2564 ไว้ที่จำนวน 400,000 ตัน ดังนั้น ในการนำยางที่ประมูลได้ซึ่งเป็นยางเก่าไปใช้ประโยชน์ จึงจำเป็นต้องนำไปผ่านขบวนการฟื้นฟูสภาพเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์และมีคุณภาพดีเหมือนเดิม

“ขณะเดียวกันจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด – 19 ส่งผลให้ความต้องการใช้ถุงมือยางเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 30 – 40 เท่าจากปริมาณการใช้ในช่วงปกติทำให้น้ำยางสดซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือยางมีความต้องการใช้มากขึ้นตามไปด้วย เท่ากับเป็นการดึงยางออกจากระบบ ส่งผลทำให้ราคายางค่อนข้างมีเสถียรภาพที่ดี อีกทั้งประเทศจีนก็มีการฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมยานยนต์จะกลับมาฟื้นฟูได้รวดเร็วเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นผลดีในด้านราคา ยิ่งประเทศไทยมีการวางแนวทางการบริหารจัดการยางในภาพรวมที

108736

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated