ผลการคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปะจำปี 2564 ออกมาแล้ว เกษตรกรคนเด่นได้รับรางวัลตามคาดหมาย ฮือฮาปีนี้เกษตรกรเลี้ยงควายมาแรงแข่งโควิด-19 เพราะเป็นอาชีพยอดฮิต และแล้วตัวแทนเกษตรกรเลี้ยงควาย “พรหมพิริยะ สอนศิริ” จากปราจีนบุรี แซงหน้าเกษตรกรเลี้ยงปศุสัตว์อื่นๆ จนคว้ารางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติไปครอง
ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายให้ส่วนราชการในสังกัดดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น สาขาอาชีพ/ประเภทที่กำหนดเป็นเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ผลงานดีเด่นให้สาธารณชนทั่วไปได้รู้จัก ยึดถือเป็นแบบอย่างในแนวทางการปฏิบัติงานด้านการเกษตร โดยในปี 2564 นี้ มีเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่น ที่ได้รับการคัดเลือก ประกอบด้วย เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 16 สาขาอาชีพ สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 12 กลุ่ม สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ จำนวน 6 สหกรณ์ และปราชญ์เกษตรแห่งแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา ดังต่อไปนี้
เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 16 สาขาอาชีพ ได้แก่ 1) อาชีพทำนา ได้แก่ นายศักดิ์ดา เขตกลาง จ.ร้อยเอ็ด 2) อาชีพทำสวน ได้แก่ นายยงยุทธ ศรีจินดา จ.สมุทรสาคร 3) อาชีพทำไร่ ได้แก่ นายสุทธิ ที่หมาย จ.ระยอง 4) อาชีพไร่นาสวนผสม ได้แก่ นายวีระชัย ก้องพนาไพรสณฑ์ จ.ตาก 5) อาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้แก่ นางจงรักษ์ พลายงาม จ.ศรีสะเกษ 6) อาชีพเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ นายพรหมพิริยะ สอนศิริ จ.ปราจีนบุรี 7) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้แก่ นางเพียงใจ ต้นสกุลประเสริฐ จ.อ่างทอง 8) อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อย ได้แก่ นายจรูญ ทรัพย์ศิริ จ.สมุทรสาคร 9) อาชีพเพาะเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ ได้แก่ นายกำพล สร้อยแสง จ.ราชบุรี 10) อาชีพปลูกสวนป่า ได้แก่ นายปริญญา ดรุณศรี จ.สมุทรสงคราม 11) สาขาบัญชีฟาร์ม ได้แก่ นางสำรวย บางสร้อย จ.ร้อยเอ็ด 12) สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ นายวิเชียร บุญรอด จ.ราชบุรี 13) สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช ได้แก่ นายอำนาจ จันทรส จ.จันทบุรี 14) ที่ปรึกษายุวชนเกษตรกร ได้แก่ นายเผ่า พันธุภา จ.กาฬสินธุ์ 15) สมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร ได้แก่ เด็กชายณัฐพล ชมวิระ จ.กาฬสินธุ์ และ 16) สาขาเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ นายสุธรรม จันทร์อ่อน จ.นครปฐม
สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จำนวน 12 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเกษตรกรทำนา ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนากุดประทาย จ.อุบลราชธานี 2) กลุ่มเกษตรกรทำสวน ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมดงบัง จ.ชัยภูมิ 3) กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์เกาะแกด จ.อุบลราชธานี 4) กลุ่มเกษตรกรทำประมงหรือกลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ สมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร จ. นครศรีธรรมราช 5) กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนร้านคนจับปลา จ.สตูล จ.สตูล 6) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนายาวสามัคคี จ.ฉะเชิงเทรา 7) กลุ่มยุวเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนท่าข้ามพิทยาคม จ.ชลบุรี 8) กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลานตาบัว จ.กำแพงเพชร 9) สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน ได้แก่ กลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานพลังดอนตะโก จ.นครศรีธรรมราช 10) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภทข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลศรีดอนมูล จ.เชียงราย 11) ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ประเภท ข้าวอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์ข้าวชุมชนข้าวอินทรีย์ ตำบลหนองห้าง จ.กาฬสินธุ์ และ 12) วิสาหกิจชุมชน ได้แก่ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านป่าศรี จ.ปัตตานี
สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จำนวน 6 สหกรณ์ ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตร ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรไชยา จำกัด จ.สุราษฎร์ธานี 2) สหกรณ์โคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์กพัฒนานิคม จำกัด จ.ลพบุรี 3) สหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขพัทลุง จำกัด จ.พัทลุง 4) สหกรณ์ร้านค้า ได้แก่ ร้านสหกรณ์พนักงานโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จำกัด จ.สมุทรสาคร 5) สหกรณ์บริการ ได้แก่ สหกรณ์บริการไออาร์พีซี จำกัด จ.ระยอง และ 6) สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรวมน้ำใจท่ายาง จำกัด จ.เพชรบุรี
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปี 2564 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1) สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ นายนายสุชล สุขเกษม 2) สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ได้แก่ นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล และ 3) สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ได้แก่ นายสิทธิพงษ์ อรุณรักษ์
สำหรับในปี 2564 นี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้น ไม่สามารถดำเนินการจัดได้ตามปกติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ผู้แทนสถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ผู้แทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ประจำปีพุทธศักราช 2563 – 2564 จำนวน 76 คน เข้ารับโล่รางวัลพระราชทานเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะกำหนดวันและเวลาที่เหมาะสมอีกครั้ง
อนึ่ง เมื่อพิจารณาตามรายชื่อผู้ที่ได้รับคัดเลือกก็จะพบว่าแต่ละรายชื่อล้วนมีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ผ่านการคัดเลือกมาตามขั้นตอนของหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ แต่รายชื่อหนึ่งที่ขอหยิบยกมากล่าวถึง คือ นายพรหมพิริยะ สอนศิริ เกษตรกรผู้เลี้ยงควาย “สอนศิริฟาร์มควายไทย” ฟาร์มควายไทยขนาดใหญ่กว่า 300 ตัว ตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี เกษตรกรคนนี้มีประวัติน่าสนใจ มุ่งมั่นเลี้ยงควายหลังจากลาออกจากงานประจำ และเดินหน้าคัดสรรควายลักษณะดีเข้าประจำคอก โดยที่คอกของเขาเลี้ยงระบบฟาร์มปิด หรือระบบโรงเรือน มีวิธีการจัดการที่ครบวงจร
ความน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตจากการเลี้ยงควาย เช่น น้ำนมควายพาสเจอร์ไรส์ และนำไปแปรรูปเป็นโยเกิร์ต พุดดิ้ง ฯลฯ อีกทั้งความมุ่งมั่นที่จะให้เกิดขึ้นหลังโควิด 19 คือการทำฟาร์มควายไทยเป็นฟาร์มเพื่อการท่องเที่ยวอีกด้วย
“รู้สึก ยินดี และดีใจอย่างที่สุด..จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ในการเลี้ยงสัตว์ต่อไป ซึ่งจะปรากฏขึ้นอีกมากมาย และเป็นแนวทางที่สามารถประกอบอาชีพหลักได้อย่างยั่งยืนและอนุรักษ์สัตว์พันธุ์พื้นเมืองไว้ให้คู่ประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน” นายพรหมพิริยะ สอนศิริ กล่าวกับ “เกษตรก้าวไกล” เมื่อ 30 เมษายน 2564 และอาชีพเลี้ยงควายไทยถือเป็นอาชีพหนึ่งที่มาแรงในยุคโควิด-19 เพราะว่ามีผู้คนที่ทำงานประจำในเมืองจำนวนมากที่เดินทางกลับบ้านเกิดมาทำการเกษตรแบบผสมผสานและการเลี้ยงควายไทยถือเป็นอาชีพยอดฮิตก็ว่าได้ ท่านที่สนใจเรื่องราวของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ สามารถ คลิกชมเพิ่มเติมที่เคยสัมภาษณ์ได้ที่ https://youtu.be/mr0fkMEWNuk