เกษตรกรและผู้ประกอบการ อาหารแห่งอนาคต “จิ้งหรีด” เมืองขอนแก่น ปลื้ม หลังต่างชาติรุมซื้อโปรตีนจิ้งหรีดสกัดละลายน้ำ เดือนละ 2 ตัน ชี้เหตุได้ TED Fund ช่วยเปิดโอกาสธุรกิจ หนุนงบทำวิจัยจนสำเร็จ พร้อมยกระดับฟาร์มเกษตรกรได้มาตรฐาน GAP ได้คุณภาพตามตลาดต้องการ เดินหน้าต่อยอดอัดเม็ดส่งขายอีกทาง
เมื่อเร็ว ๆนี้ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) พร้อมด้วย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการของผู้ประกอบการที่ได้ทุนสนับสนุนจาก TED Fund ภายใต้โครงการจัดสรรสนับสนุนผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม Public Batch 2 ธุรกิจประเภท Modern Agriculture/Functional Food ของ สพ.ญ.ลัลน์ลลิต สุคนธรัตนสุข กรรมการผู้จัดการบริษัท ลัลน์ลลิต อะกริ ฟู๊ดส์ จำกัด ที่ได้ได้รับการสนุนงบประมาณเพื่อดำเนิน โครงการโปรตีนทางเลือกใหม่จิ้งหรีด โดยการพัฒนาระบบการผลิตโปรตีนเข้มข้นผงจากจิ้งหรีดด้วย เทคโนโลยีการสกัดด้วยน้ำร้อนภายใต้ความดันและการทำแห้งแบบโฟมแมท
สพ.ญ.ลัลน์ลลิต สุคนธรัตนสุข กรรมการผู้จัดการบริษัท ลัลน์ลลิต อะกริ ฟู๊ดส์ จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่บริษัท ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก TED Fund จำนวน 2 ล้านบาท ถือว่า เป็นการช่วยสร้างชีวิต และสร้างโอกาสในการประกอบธุรกิจ ให้มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ เพราะเงินทุนดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าการสร้างมาตรฐานสินค้า เพื่อให้สามารถขอใบรับรองมาตราฐานทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ และเพื่อพัฒนาต่อยอดสิ้นค้าเดิม โดยมีงานวิจัยรองรับ เพิ่มคุณสมบัติให้ผงจิ้งหรีดมากขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการที่มาขึ้น สร้าง Unfair Advantage ให้แก่ผลิตภัณฑ์
“ บริษัท ลัลน์ลลิต อะกริ ฟู๊ดส์ จำกัด ตั้งอยู่ที่ 281/1 หมู่ 5 ตำบลแดงใหญ่ อำเภอเมืองขอนแก่น เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการแปรรูปแมลง โดยเฉพาะจิ้งหรีด พร้อมทั้งยังทำฟาร์มเลี้ยงในชื่อ NL CRICKET FARMS ซึ่งปัจจุบันได้มีการสร้างเครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เช่นที่ บ้านแสนตอ อำเภอน้ำพอง เพื่อเป็นแหล่งเลี้ยงจิ้งหรีดส่งให้กับบริษัท เนื่องด้วยในปัจจุบัน โปรตีนจากจิ้งหรีด เป็นที่สนใจในตลาดต่างประเทศอย่างมาก ซึ่งจิ้งหรีดนั้นเป็นหนึ่งในอาหารจากแมลงที่เรียกว่า เป็นอาหารแห่งอนาคต และตลาดต่างประเทศมีความต้องการมาก โดยเฉพาะจิ้งหรีดจากประเทศไทย ซึ่งขอนแก่นเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคอีสานที่มีการเลี้ยงจิ้งหรีดกันมาก ”
“ บริษัทจึงวางเป้าหมายในการส่งออก แต่การจะส่งสินค้าจำพวกอาหารต้องมีมาตรฐานมารองรับตามกฏหมายที่ประเทศต่าง ๆกำหนด ดังนั้นการที่ TED Fund ได้เข้ามาช่วยจึงทำให้สามารถยกระดับมาตรฐานการเลี้ยง และทำให้เกิดเป็นฟาร์มต้นแบบของการเลี้ยงจิ้งหรีดตามมาตรฐาน GAP หรือ Good Agricultural Practice ที่ช่วยทำให้ได้จิ้งหรีดที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และขณะนี้บริษัทได้เข้าไปช่วยส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงตามมาตรฐาน GAP จนประสบความสำเร็จ ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานราชการต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้ผลผลิตจิ้งหรีดของฟาร์มเครือข่ายมีคุณภาพได้มาตรฐาน”
สพ.ญ.ลัลน์ลลิต กล่าวต่อไปว่า สำหรับการส่งผลออก จากโครงการฯของ TED Fund ทำให้การพัฒนาระบบการผลิตโปรตีนเข้มข้นผงจากจิ้งหรีดด้วยเทคโนโลยีการสกัดด้วยน้ำร้อนภายใต้ความดันและการทำแห้งแบบโฟมแมท หรือเรียกง่ายๆว่า โปรตีนจิ้งหรีดสกัดละลายน้ำ ประสบความสำเร็จแล้วเรียบร้อย และถือว่าเป็นบริษัทแห่งแรกที่ผลิตได้ ซึ่งมีคุณลักษณะตรงตามที่ตลาดต่างประเทศต้องการ เช่น มีกลิ่นน้อย ละลายน้ำได้ สามารถนำไปผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ และที่สำคัญให้คุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าผลโปรตีนธรรมดาทั่วไปที
“ ขณะนี้มีบริษัทต่างประเทศให้ความสนใจและได้เข้าทำสัญญาซื้อขายเป็นที่เรียบร้อย โดยคาดว่าจะสามารถส่งออกได้เร็วๆนี้ ภายใต้แบรนด์ ProteGo ผงโปรตีนจากจิ้งหรีด ที่ปริมาณมากกว่า 2 ตันต่อเดือน โดยประเทศที่จะส่งไปจำหน่าย เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป และประเทศจีน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังได้มีการต่อยอดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจิ้งหรีดอัดเม็ดรสทุเรียน และ ช็อกโกแลตมิลค์ ซึ่งจะมีการวางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดต่าง ๆ เร็ว ๆนี้
ด้านนายไพบูลย์ คำมูลมาตร อยู่บ้านเลขที่ 110 บ้านแสนตอ หมู่ 8 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเกษตรกรเครือข่าย ได้กล่าวว่า จากที่บริษัทสามารถขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น ได้ส่งประโยชน์ต่อเนื่องมายังเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายทั้ง 5 ราย นอกจากจะมีตลาดรองรับที่แน่นอน และในราคาที่เป็นธรรมตลอดปีแล้ว ยังสามารถพัฒนาระบบการเลี้ยงจนได้มาตรฐาน GAP ซึ่งส่งผลดีในระยะยาว เพราะการเลี้ยงที่จิ้งหรีดที่ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานนั้นจะทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพอย่างยั่งยืน
“ สำหรับสายพันธุ์จิ้งหรีดที่ทางบริษัทต้องการเพื่อการส่งออกนั้น จะเป็นจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย หรือที่เรียกว่า แมงสะดิ้ง โดยใช้ระยะเวลาการเลี้ยงต่อรอบประมาณ 45 วันก็จับขายได้ โดยในปีหนึ่งจะสามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ประมาณ 6 รอบ”
นายไพบูลย์ กล่าวต่อไปอีกว่า ขณะนี้เลี้ยงอยู่มีทั้งหมดประ 8 บ่อ เป็นบ่อขนาด 3 x 5 เมตร โดยบ่อหนึ่งจะได้จิ้งหรีดส่งขายประมาณ 150 – 150 กิโลกรัมต่อ 1 รอบการเลี้ยง สำหรับราคาส่งจำหน่ายให้บริษัทเป็นราคาประกันที่กิโลกรัมละ 100 บาท นั่นคือ จิ้งหรีด 1 บ่อจะสร้างรายได้ถึง 15,000 – 16,000 บาทต่อรอบการเลี้ยง 45 วัน ในขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงอยู่ที่ประมาณครึ่งหนึ่ง”
“ จากที่ทางบริษัทได้รับการสนับสนุน TED Fund จนสามารถผลิตผงโปรตีนส่งไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศได้นั้น ถือว่าเป็นผลดีต่อเกษตรกรอย่างพวกผมมาก เพราะทำให้มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ได้ราคาจำหน่ายที่เป็นธรรม ต่างจากอดีตที่ต้องเจอปัญหาพ่อค้าคนกลางกดราคาในช่วงที่มีผลผลิตออกมามาก เช่น ในช่วงฤดูร้อน ดังนั้นหากบริษัทยิ่งส่งออกได้มาก ความต้องการจิ้งหรีดมีมากขึ้น ก็เท่ากับว่าการส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงจิ้งหรีดได้มากขึ้น มีรายได้มากขึ้นด้วย” นายไพบูลย์ กล่าวในที่สุด