เกษตรไทยก้าวไกลอีกขั้น หลัง TED Fund หนุนงบวิจัยให้ผู้ประกอบการพัฒนาระบบการวิเคราะห์การเจริญเติบโตของพืชด้วยประมวลผลภาพดิจิทัลร่วมกับโดรนเพื่อการเกษตร เพียงดูภาพรู้ปริมาณผลผลิต ช่วยเกษตรกรวางแผนตลาดถูกทาง ชี้มีความแม่นยำสูงแถมประหยัด

เมื่อเร็ว ๆนี้ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม  (TED Fund) พร้อมด้วย ดร.ชาญวิทย์    ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ  ได้ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการของผู้ประกอบการที่ได้ทุนสนับสนุนจาก TED Fund   ภายใต้โครงการจัดสรรสนับสนุน ผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ รุ่นที่ 1 โครงการพัฒนาระบบการวิเคราห์การเจริญเติบโตของพืชด้วยประมวลผลภาพดิจิทัล ร่วมกับอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร (โดรน) ธุรกิจประเภท Modern Agriculture ของนายมนตรี ธนะสิงห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลลา เอวิเอชั่น จำกัด

นายมนตรี ธนะสิงห์  ( ซ้าย) ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล  ( กลาง ) และ ดร.ชาญวิทย์    ตรีเดช (ขวา)
นายมนตรี ธนะสิงห์ ( ซ้าย) ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ( กลาง ) และ ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช (ขวา)

ดร.ชาญวิทย์    ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม  หรือ TED Fund เปิดเผยว่า โครงการฯ ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้อากาศยานไร้คนขับร่วมกับระบบประมวลผลภาพดิจิทัลในการเพาะปลูกเปรียบเทียบกับการเพาะปลูกแบบปกติ เพื่อนำไปใช้ในงานด้านการเกษตร เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรไทย ลดการใช้แรงงานในการผลิต และ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของประเทศไทยสู่การแข่งขันในตลาดโลก

“ ทาง TED Fund   ได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการจำนวน 2 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปช้ในการพัฒนาระบบการควบคุมประมวลผลภาพดิจิทัลทุกรูปแบบร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้อากาศยานไร้คนขับร่วมกับระบบประมวลผลภาพดิจิทัลในการเพาะปลูกเปรียบเทียบกับการเพาะปลูกแบบปกติ ซึ่งขณะนี้โครงการฯได้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย และเกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด”

ผู้จัดการ TED Fund กล่าวต่อไปว่า  สำหรับผลสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ ความสามารถในการควบคุมตำแหน่งความสูงที่ถูกต้องแม่นยำและมีความเสถียรภาพของอากาศยาน สามารถพ่นสารน้ำ สารชีวภาพ การให้ปุ๋ย และพ่นสารกำจัดแมลง  ที่สำคัญ  ยังได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในระยะเวลาอันสั้นและมีความแม่นยำสูง ประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าเดิม ช่วยให้พืชผลเพิ่มประสิทธิภาพให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถเก็บข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่น ๆ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ดิน น้ำ พืชพรรณ จะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อการวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนและหลังเหตุการณ์

ทั้งนี้ สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครทุนได้ที่ www.tedfund.mhesi.go.th หรือเพจ Facebook : TED Fund หรือสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 – 333 -3700  ต่อ 4072 – 4074

ใช้ระบบประมวลผลภาพดิจิทัลร่วมกับโดรนเพื่อการเกษตร จะได้ผลผลิตที่ 2,428 กิโลกรัม
ใช้ระบบประมวลผลภาพดิจิทัลร่วมกับโดรนเพื่อการเกษตร จะได้ผลผลิตที่ 2,428 กิโลกรัม

ด้านนายมนตรี ธนะสิงห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลลา เอวิเอชั่น จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ได้รับทราบว่า ทาง TED Fund มีโครงการให้การสนับสนุนด้านทุนแก่ผู้ประกอบการ จึงเกิดความสนใจและยื่นเสนอโครงการดังกล่าว ด้วยเล็งเห็นว่าเกษตรกรประสบปัญหาการใส่ปุ๋ยให้แก่พืช ซึ่งมีทั้งที่ให้แบบมากเกินไป และน้อยเกินไป จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่สมบูรณ์ในบางพื้นที่ ทำให้เกิดความเสียหาย เกษตรกรต้องขาดทุน รวมถึงกรณีที่เกษตรกรผลิตพืชเกษตรเพื่อการส่งออก แต่ไม่สามารถประมาณการยอดการผลิตได้จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการผิดสัญญาซื้อขาย อาจนำไปถึงการต้องเสียเงินค่าปรับในกรณีคำนวณปริมาณผลผลิตผิดพลาด

“ ด้วยปัญหาต่าง ๆ ที่เกษตรกรต้องประสบ จึงทำให้บริษัทมีความประสงค์ที่จะพัฒนาระบบการประมวลผลภาพดิจิทัลร่วมกับอากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตรที่มีความแม่นยำสูงในการตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของพืชจากกล้อง ช่วยให้พืชผลเพิ่มประสิทธิภาพให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ สามารถบริหารจัดการการสำรวจได้ง่าย และยังได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในระยะเวลาอันสั้นและมีความแม่นยำสูง ประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าเดิม ช่วยให้พืชผลเพิ่มประสิทธิภาพให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถเก็บข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่นๆ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ดิน น้ำ พืชพรรณ จะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อการวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนและหลังเหตุการณ์”

2

นายมนตรีกล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้ ยังมีความแม่นยำสูงในการประมาณการยอดผลผลิตของพืชต่อครั้งได้อย่างมีประสิทธิ เพื่อทราบผลผลิตที่แน่ชัดและบริหารจัดการในการขายได้อย่างถูกต้อง ประหยัดเวลาและลดความเสี่ยงในการขายทอดตลาด ซึ่งการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยแรงงานคนนั้นสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นอย่างมาก และบางครั้งก็ได้ข้อมูลไม่ครบเนื่องจากพื้นที่บางแห่งไม่สามารถเข้าถึงได้ ด้วยการเดินสำรวจ มีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าเดิม

“ เกษตรกรจะทราบได้จากข้อมูลที่แสดงในรูปแบบของแถบสีต่าง ๆที่เรียกว่า NIR Images โดยในส่วนที่เป็นสีแดงแสดงว่า ต้นพืชที่ปลูกนั้นมีความสมบูรณ์ ทำให้คาดว่าจะสามารถเก็บผลผลิตได้ตามปริมาณ แต่หากเป็นสีเหลือง แสดงว่า ต้นพืชส่วนนั้นมีปัญหา ขาดความอุดสมบูร์ ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ตามปริมาณที่ควรเป็น ตรงนี้จะช่วยให้เกษตรกรสามารถคำนวณปริมาณผลผลิตของตนเองได้ว่า เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว จะได้ผลผลิตในปริมาณเท่าไร  ”

ทั้งนี้นายมนตรีได้เปรียบเทียบให้เห็นประสิทธิภาพในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิระหว่าง แรงงานเกษตรกรกับระบบประมวลผลภาพดิจิทัลร่วมกับโดรนเพื่อการเกษตร โดยยกตัวอย่าง ปริมาณผลผลิตข้าวหอมมะลิ ถ้าใช้แรงงานเกษตรกร จะได้ผลผลิตที่ประมาณ 2,172 กิโลกรัม แต่เมื่อใช้ระบบประมวลผลภาพดิจิทัลร่วมกับโดรนเพื่อการเกษตร จะได้ผลผลิตที่ 2,428 กิโลกรัม ระยะเวลาในการตรวจการณ์ แรงงานเกษตรกรใช้เวลา 43 นาที 12 วินาที แต่ภายใต้ระบบดังกล่าวจะใช้เวลาเพียง 7 นาที 28 วินาที และเวลาในการจัดการความผิดปกติของพืช แรงงานเกษตรกรใช้เวลา 46 นาที แต่ภายใต้ระบบดังกล่าวจะใช้เวลาเพียง 10 นาที เป็นต้น

101458

นายมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ TED Fund ทางบริษัทได้มีการนำไปต่อยอดในการให้บริการแก่เกษตรกรลูกค้า ทั้งในรูปแบบของการให้บริการ และการจำหน่ายพร้อมกับโดรนเพื่อการเกษตร ซึ่งขณะนี้สามารถพัฒนาให้สามารถใช้อุปกรณ์ในการผลิตจากวัตถุดิบในประเทศไทยได้แล้วถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ราคาจำหน่ายโดรนเพื่อการเกษตร มีราคาต่ำลง เหลือเพียง 200,000 กว่าบาท จากเดิมที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคากว่า 350,000 บาท จึงทำให้ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก จนขณะนี้มียอดจองโดรนเพื่อการเกษตรที่บริษัทผลิตสูงถึง 200 กว่าเครื่อง

“ ความสำเร็จในวันนี้ ที่บริษัทสามารถสร้างระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรได้นั้น เพราะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก   TED Fund  และขณะนี้มีเป้าหมายที่จะยอดต่อการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยหลือเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างประสบความสำเร็จ มีความเป็นอยู่ที่มั่นคงและยั่งยืน” นายมนตรีกล่าวในที่สุด

101481

SIMA_webbanner_468x90_TH_animated